พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้น เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้องศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้นเมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คือต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม นำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกัน
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จะนำวิธีการขอทุเลาการบังคับดังเช่นการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษามาใช้บังคับหาได้ไม่ แม้จำเลยจะยื่นคำขอทุเลาการบังคับไว้จำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันมาวางศาลภายในกำหนดสิบวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาทั้งหมด ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์ทั้งสองนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่ไม่ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง ถือเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะ บางส่วนเป็นกรณีที่ต้องอยู่ในบทบังคับของการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้ อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง และโจทก์ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามกรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาทั้งหมด ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์ทั้งสองนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งโดยชอบแล้วแต่ไม่ไปนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ศาลอุทธรณ์ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คำสั่งศาล: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งตัดพยานเมื่ออุทธรณ์คำพิพากษาโดยไม่ได้ระบุอุทธรณ์คำสั่งโดยตรง
การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไรบ้างนั้น จะดูเพียงหัวเรื่องที่หน้าอุทธรณ์ว่าอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยได้แยกเป็นข้อ ก. ปัญหาข้อเท็จจริง ข้อข.ปัญหาข้อกฎหมาย ในปัญหาข้อกฎหมายนั้นได้บรรยายว่า ตามที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยไม่ชอบด้วยเหตุผล และเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะพยานที่ศาลชั้นต้นสั่งตัดนั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคดี และได้กล่าวถึงข้อที่พยานเหล่านั้นจะมาเบิกความเกี่ยวกับประเด็นในคดีอย่างไร ดังนี้ เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งตัดพยานจำเลยแล้ว และเป็นการอุทธรณ์ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย จำเลยจึงคงเสียค่าขึ้นศาลแต่เพียงในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจ รับพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการอุทธรณ์คำสั่งในคดีภาษีอากร: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นสาระสำคัญ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดีทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุนเงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)(14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯจ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไรก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับเจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่ โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยผิดหลงหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้นย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
ประเด็นข้อสำคัญของคดีทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุนเงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)(14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกันต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯจ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไรก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับเจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่ โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยผิดหลงหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้นย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกาต้องยื่นภายในกำหนด และการส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์นั้น ชอบที่ศาลชั้นต้นจะส่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นส่งไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษาไปนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อันเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์นั้นเสีย
ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้น โจทก์จะต้องฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 224 การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2519 และในแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" ทั้งยังปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในวันนั้นเอง ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันนั้นโจทก์เพิ่งมายื่นฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์จึงต้องห้าม ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์
ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้น โจทก์จะต้องฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 224 การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2519 และในแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" ทั้งยังปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในวันนั้นเอง ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันนั้นโจทก์เพิ่งมายื่นฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์จึงต้องห้าม ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดี: เหตุจำเป็น, ความยุติธรรม, และขอบเขตการอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์ ศาลไม่อนุญาต โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี โดยอ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลยกคำร้อง โจทก์แถลงคัดค้านคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาใหม่โดยอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้ เป็นคนละกรณีกับที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งซึ่งโจทก์ขอเมื่อพ้นเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานแล้วมาร้องขอเลื่อนวันสืบพยานโจทก์ แต่เป็นการขอเลื่อนครั้งแรกเพราะทนายติดว่าความศาลอื่น ยังไม่พอถือเป็นประวิงความศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่โดยอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้