คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุทางรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การขับรถเร็วเกินกว่าวิสัยและการป้องกันได้
จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อเฉี่ยวชนท้ายรถคันหนึ่งแล้วก็ไม่สามารถหยุดได้ทันท่วงทีก่อนที่จะแล่นไปไปชนท้ายรถโจทก์ ซึ่งอยู่ห่างจุดที่รถเฉี่ยวชนประมาณ 25 เมตร กรณีเป็นเรื่องที่อาจป้องกันได้ถ้าจำเลยไม่ขับรถเร็วจนเกินไป ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิดตามส่วน และผลของคำพิพากษาคดีอาญา
ในคดีส่วนแพ่ง ปัญหาที่ว่าคนขับรถของฝ่ายใดประมาทนั้นคู่ความตกลงกันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา หากศาลสูงพิจารณาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 คนขับรถของจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิด จำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดว่าทั้งสองฝ่ายมีความผิดและลงโทษจำคุก แม้คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าเคยขับรถทั้งสองฝ่ายมีความผิด ก็ยังแสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดด้วยอยู่นั่นเอง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่คู่ความตกลงกันแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 บัญญัติไว้ว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้อง คำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ต่างมีส่วนกระทำความผิดกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 และ มาตรา 223 ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงต่ำตามส่วน แห่งความยิ่งหย่อนของผู้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ แม้ในคดีส่วนอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 เท่ากัน ก็เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดทางอาญา จะถือเป็นหลักในการวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งว่าทั้งสองประมาทเท่ากันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953-1956/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผู้ขับขี่ไม่ต้องรับผิดหากความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่น
เมื่อสาเหตุที่รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปชนกับรถยนต์ของนาย ซ.โจทก์เป็นเหตุให้นาย ซ.นาย ส. นาย ค. และ นาย น. โจทก์ทั้งสี่สำนวนเสียหายนั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของผู้ขับรถยนต์คันอื่น ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้าง ก็ไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และการรับผิดร่วมของบริษัท
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ขับผิดทางจราจร จนเป็นเหตุให้ชนรถคันอื่นที่เขาอยู่ในเส้นทางแล้ว เช่นนี้ ฟังได้ว่า เหตุทั้งนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดตามส่วนจากพฤติการณ์ของคู่กรณี
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโดยประมาทเลินเล่อของโจทก์จำเลยด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้ว กฎหมายให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามส่วนโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนี้นั้น ให้เอาค่าเสียหายของทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมารวมกัน แล้วแย่งส่วนความรับผิดในค่าเสียหายตามส่วนที่ศาลเห็นว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนและหลัง พ.ร.บ.จราจร
ขับรถยนต์ชนคนบาดเจ็บแล้วไม่หยุดทำการช่วยเหลือและเป็นความผิดเกิดก่อนใช้ พ.ร.บ.จราจรก็ต้องมีผิดตาม ม.16-19 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ ร.ศ.128 ยกเลิกกฎหมาย พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2473 ไม่ได้ยกเลิก พ.ร.บ.รถยนต์ ร.ศ.128 ม.16-19 การที่จำเลยกระทำ-ผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ศาลรวมกะทงลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10313/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประมาทเลินเล่อร่วมกัน, การรับผิดของนายจ้าง, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์เป็นภริยาของ ส. แม้ ส. จะเป็นเจ้าของรถตู้คันเกิดเหตุและโดยสารมาในรถตู้คันเกิดเหตุที่มี ว. ลูกจ้างของ ส. เป็นผู้ขับรถตู้คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ส. มีส่วนประมาทเลินเล่อในเหตุการณ์รถชนที่เกิดขึ้น การที่ ส. ถึงแก่ความตายจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของ ว. และของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถบรรทุกและรถพ่วงคู่กรณี ว. และ จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการตายของ ส. ด้วยกัน และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ณ. ทายาทของ ส. ผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์เพียงฝ่ายเดียวโดยมิได้ฟ้อง ว. ลูกจ้าง ส. ให้ร่วมรับผิดด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กับ ว. ต้องรับผิดเท่ากัน และให้ลดค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ลงกึ่งหนึ่งจึงชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เด็กหญิง ณ. มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งคู่ความอาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในข้อดังกล่าวไว้ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13675/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้คำพิพากษาคดีอาญาตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายประมาท ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาความประมาทเลิศร้ายได้
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะบัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ในกรณีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังในคดีอาญาคงมีแต่เพียงว่า ทั้งผู้ตายและจำเลยที่ 1 ต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่ง ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11076/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความประมาทของคู่กรณีและการบังคับคดีค่าฤชาธรรมเนียม
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ย. ขับรถที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความเร็วสูงในขณะฝนตก โดยไม่ลดความเร็วลงทั้งที่บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางลงเขาและโค้ง ทำให้รถแหกโค้งเหวี่ยงมาในช่องเดินรถและเฉี่ยวชนรถที่จำเลยที่ 1 ขับ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของ ย. และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายจึงตกเป็นพับ โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องนั้น เป็นฎีกาที่เมื่อพิจารณาฎีกาทั้งฉบับของจำเลยทั้งสามแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 2,100 บาท โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอื่น เป็นการไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12725/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ข้อแตกต่างระหว่างมาตรา 420 และ 437, การอุทธรณ์นอกฟ้อง
ความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เป็นความรับผิดของตนเองที่เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ส่วนความรับผิดตามมาตรา 437 วรรคหนึ่ง เป็นความรับผิดของผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลในความเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เช่นนี้ ความรับผิดตามมาตรา 420 มิใช่เป็นความรับผิดอันเกิดจากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ส่วนความรับผิดตามมาตรา 437 วรรคหนึ่ง เป็นความรับผิดอันเกิดจากข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะนั้นได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ความรับผิดตามมาตราทั้งสองดังกล่าวจึงอาศัยหลักเกณฑ์ต่างกันไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายให้ ถ. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับควบคุมรถยนต์ลากจูง และรถกึ่งพ่วงของจำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าที่สนามบินภูเก็ต แล้ว ถ. ขับควบคุมรถด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับ ถ. มิได้พักผ่อนให้เพียงพอ เกิดอาการง่วงหรือหลับใน ทำให้ไม่สามารถควบคุมและห้ามล้อรถได้ เป็นเหตุให้รถพลิกคว่ำลงข้างถนน ทำให้เครื่องรีดแผ่นเหล็กหลังคาและอุปกรณ์เสียหาย แม้คำฟ้องของโจทก์จะอ้างว่า ถ. เป็นผู้ควบคุมรถลากจูงและรถกึ่งพ่วง แต่ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า ควบคุมด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวัง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักของข้อหาว่า ถ. กระทำละเมิดตามมาตรา 420 ให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามมาตรา 420 ประกอบมาตรา 425 หาได้บรรยายฟ้องหรือตั้งประเด็นว่า ถ. เป็นผู้ควบคุมรถลากจูงและรถกึ่งพ่วงในขณะเกิดเหตุเป็นเหตุให้รถดังกล่าวพลิกคว่ำลงข้างทางทำให้เครื่องรีดแผ่นเหล็กและอุปกรณ์ที่อยู่บนรถนั้นเสียหายจึงต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น อันเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ ถ. ต้องรับผิดตามมาตรา 437 วรรคหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้างอีกประการหนึ่งไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ถ. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถลากจูงและรถกึ่งพ่วงด้วยความประมาทเลินเล่อตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์กลับอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า ถ. เป็นผู้ควบคุมรถลากจูงและรถกึ่งพ่วงซึ่งเป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล จะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
of 5