พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการรับคำร้อง: ศาลแพ่งมีอำนาจรับคำร้องแม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจ หากได้เริ่มกระบวนการพิจารณาแล้ว
การที่ศาลแพ่งได้รับคำร้องของผู้ร้อง ส่งสำเนาให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามคัดค้าน และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จนกระทั่งมีการนัดไต่สวนพยานของผู้คัดค้านไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ให้อำนาจไว้แล้ว ศาลแพ่งชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ศาลใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครโจทก์ขอแก้ฟ้องโดยแก้ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง และยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต ดังนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 4 เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่ศาลแพ่งยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจของศาลแพ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) เมื่อศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามคำร้องขอของโจทก์ ก็แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจ ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แล้ว คำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลแพ่งของโจทก์ แม้ข้อความในคำร้องของโจทก์บางตอนเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) ศาลแพ่งก็มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อพนักงานสอบสวนนอกเขตอำนาจทำการสอบสวน และการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตฟ้อง
จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติอยู่ในเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่จำเลยกระทำความผิดและถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ทวิ วรรคสุดท้าย พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันจับกุมหรือผัดฟ้องตามมาตรา 24 ทวิ วรรค 1, 2 และ 3 ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงไม่มีกำหนดระยะเวลาตามที่มาตรา 24 ทวิ กำหนดไว้และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 24 จัตวาพนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฟ้องคดีอาญา: เขตอำนาจตามสถานที่จับกุมและสอบสวน
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูนจับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วยมอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1)
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูนจับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วยมอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่าจำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886-2888/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนความผิดเช็ค: ความผิดต่อเนื่องและการร้องทุกข์
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ที่บริษัทโจทก์ร่วมซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินที่จังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ร่วมมีสิทธิร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามได้เพราะเป็นความผิดต่อเนื่องกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา19 ต่อมาจำเลยถูกจับในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเพราะได้มีการร้องทุกข์ไว้ก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานในคดีตัวแทนที่ดิน และการฟ้องคดีผู้เยาว์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์โดย ถ. ผู้มีชื่อในโฉนดที่พิพาทลงชื่อในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ส่วนหนึ่งนั้น มิใช่เป็นการนำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่เป็นการนำสืบพยานในข้อพิพาท ระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทน จึงมิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ โจทก์นำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกของจำเลยและให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 7 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็มิใช่คดีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 8(3) แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 63 พ.ศ. 2515 ข้อ 1
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกของจำเลยและให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งนั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 7 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็มิใช่คดีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 8(3) แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 63 พ.ศ. 2515 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคดีนอกเขตอำนาจ – ศาลอาญาประทับฟ้องแล้วเพิกถอนคำสั่งไม่ได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงต่อศาลอาญา ศาลอาญาได้ไต่สวนมูลฟ้อง สั่งคดีมีมูลให้ประทับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ตามที่แก้ไขแล้วศาลอาญาจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมโดยเห็นว่า สั่งไปเพราะผิดหลงเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลอีกหาได้ไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการใช้ดุลพินิจรับคดีอาญาที่ความผิดเกิดนอกเขตอำนาจ แต่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) บัญญัติว่า "เมื่อจำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ ในท้องที่หนึ่งนอกเขตศาลดังกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้นอยู่เขตอำนาจก็ได้" นั้น มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลซึ่ง ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ อยู่ในเขตอำนาจจะต้องรับชำระคดีนั้น ๆ แต่เป็นบทบัญญัติให้ดุลพินิจแก่ศาลซึ่งท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ ฯลฯ ในเขตอำนาจจะรับชำระคดีนั้นหรือไม่ก็ได้ ความผิดที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลอาญา แต่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลอาญา เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ศาลจึงมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจรับหรือไม่รับคดีนั้นไว้พิจารณาก็ได้
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด" ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่ง ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
การที่ศาลอาญาสั่งในคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนให้โจทก์นำส่งหมายนัด" ยังถือไม่ได้ว่าศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีของโจทก์ไว้ ชำระแล้ว ด้วยเหตุนี้ที่ศาลอาญาสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่ง ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นการที่ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจที่มีอยู่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702-1703/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีเช็ค: การกระทำผิดต่อเนื่องหลายท้องที่
จำเลยออกเช็คของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดงซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่เขตพญาไท กรุงเทพ ให้แก่โจทก์ร่วมเมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์ร่วมนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางนา เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการให้ดำเนินคดีกับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้แม้ความผิดมิได้เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ เพราะธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินมิได้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนั้นก็ตาม แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็อ้างว่าจำเลยกระทำผิดในเขตอำเภอพระประแดง โดยออกเช็คในท้องที่นั้น ถ้าเป็นความจริงก็ถือได้ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่อำเภอพระประแดงต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงย่อมมีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการมีอำนาจฟ้อง และศาลจังหวัดสมุทรปราการย่อมมีอำนาจชำระคดีตามมาตรา 22 เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่4-5/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาของจำเลยและการฟ้องคดี ณ ศาลที่มีเขตอำนาจ
จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูนเป็นที่ทำงานสำคัญของจำเลย จึงถือได้ว่าที่ทำการบริษัทเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแม้จำเลยจะมีบ้านอยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งก็ตามการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดลำพูนและนำส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องตลอดจนหมายนัดสืบพยานให้จำเลยที่จังหวัดลำพูน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว