คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3817/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์จากเช็ค: การครอบครองเช็คแทนเจ้าของและการเบียดบังเงิน
ผู้เสียหายมอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คระบุชื่อให้จำเลยนำไปเข้าบัญชีของผู้เสียหาย แต่จำเลยกลับนำไปให้ผู้สั่งจ่ายออกเช็คฉบับใหม่เป็นเช็คผู้ถือ แล้วจำเลยนำเช็คฉบับใหม่ไปขึ้นเงินจากธนาคารและหลบหนีไป การที่จำเลยรับเช็คฉบับใหม่มาแล้วนำไปขึ้นเงินจากธนาคารนั้น เป็นการครอบครองเช็คแทนผู้เสียหาย เพราะผู้สั่งจ่ายเจตนาจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหาย ไม่ได้จ่ายให้จำเลย เมื่อจำเลยนำเช็คนั้นไปขึ้นเงินมาครอบครองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตน จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความขัดแย้งเรื่องเงินและคำดูถูก ศาลฎีกายืนโทษ
ผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุกันเนื่องจากผู้ตายแบ่งเงินจากการขายรถจักรยานยนต์ที่ลักมาให้จำเลยน้อยและพูดจาดูถูกจำเลยเสมอ วันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ไปด้วยกันเนื่องจากจำเลยลวงผู้ตายว่ามีผู้สนใจจะซื้อรถจักรยานยนต์ เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยใช้อาวุธปืนที่พาติดตัวไปยิงผู้ตายในลักษณะจ่อยิงด้านหลัง แล้วลากศพไปทิ้งไว้ในป่า และนำรถจักรยานยนต์ไปซ่อนไว้ ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยทะเลาะกับผู้ตาย เช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้วางแผนตระเตรียมการที่จะฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินและตราไปรษณียากรของพนักงานรัฐ โจทก์ต้องพิสูจน์การจำหน่ายและยักยอกเงินที่ได้จริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: การหยิบเงินที่เข้าใจว่าเป็นของตนเอง
จำเลยเป็นสามีของ ส. บุตรของผู้เสียหายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยและ ส. ทำนาขายข้าวได้เงิน 7,500 บาท ส.นำเงินดังกล่าวใส่ไว้ในกระเป๋าถือฝากเก็บไว้ในหีบของผู้เสียหายเช่นนี้ การที่จำเลยไขกุญแจเปิดหีบของผู้เสียหายแล้วเอาเงินดังกล่าวไปโดยเข้าใจว่าเป็นเงินของจำเลย จำเลยมีสิทธิเอาไปได้จึงเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: เงินที่เข้าใจผิดว่าเป็นของตนเอง ไม่ถือว่ามีความผิด
จำเลยเป็นสามีของ ส. บุตรของผู้เสียหายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยและ ส. ทำนาขายข้าวได้เงิน 7,500บาท ส. นำเงินดังกล่าวใส่ไว้ในกระเป๋าถือฝากเก็บไว้ในหีบของผู้เสียหาย เช่นนี้ การที่จำเลยไขกุญแจเปิดหีบของผู้เสียหายแล้วเอาเงินดังกล่าวไปโดยเข้าใจว่าเป็นเงินของจำเลย จำเลยมีสิทธิเอาไปได้ จึงเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: เงินที่จำเลยเข้าใจว่าเป็นของตนเอง
จำเลยเป็นสามีของ ส. บุตรของผู้เสียหายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยและ ส. ทำนาขายข้าวได้เงิน7,500บาท ส.นำเงินดังกล่าวใส่ไว้ในกระเป๋าถือฝากเก็บไว้ในหีบของผู้เสียหายเช่นนี้ การที่จำเลยไขกุญแจเปิดหีบของผู้เสียหายแล้วเอาเงินดังกล่าวไปโดยเข้าใจว่าเป็นเงินของจำเลย จำเลยมีสิทธิเอาไปได้จึงเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโดยตรง แต่ธนาคารจ่ายเงินตามระเบียบ ไม่ใช่ผลจากการหลอกลวง และการหาผู้ฝากไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินและธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินแก่จำเลย แม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคารออมสินได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลย การหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคารออมสินเท่านั้นจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง จำเลยเป็นพนักงานธนาคารออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวดังนั้น แม้จำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินที่รับแทนโจทก์: การบรรยายฟ้องต้องระบุจำนวนครั้งและจำนวนเงินที่ชัดเจน
โจทก์มอบหมายให้จำเลยซึ่ง เป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอำนาจรับเงินจากจำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยในคดีดังกล่าว เงินที่จำเลยรับไว้จึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ยักยอกโดย บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้ จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๕ ประกอบด้วย มาตรา ๒๒๕.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินที่รับแทนโจทก์: การบรรยายฟ้องต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดแต่ละครั้ง
โจทก์มอบหมายให้จำเลยซึ่ง เป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอำนาจรับเงินจากจำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยในคดีดังกล่าว เงินที่จำเลยรับไว้จึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ยักยอกโดย บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันเวลาที่ระบุไว้ จำเลยรับเงินจาก ธ. ซึ่ง ชำระหนี้แก่โจทก์หลายครั้งรวมเป็นเงิน 180,000 บาท และจำเลยเบียดบังยักยอกเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าจำเลยรับเงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใด ดังนี้ แม้จะพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมศาลก็จะเรียงกระทงลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการนอกเหนือไปจากฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากเงินค่าชดเชยจากการทำงาน: การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน.
of 13