คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยวิธีการมอบฉันทะให้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก และการยอมรับการชำระหนี้รูปแบบอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 30,000 บาทจำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาทและดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทยจำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้จากการเบิกเกินบัญชีและเงินกู้
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยจากสาขาใดไปสาขาใดเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้สั่งให้โอนแต่จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เหตุใดจึงมีการโอนบัญชีและใครเป็นผู้สั่งโอนจึงเป็นการกล่าวลอย ๆ มิได้แสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม ดังนี้ ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าได้มีการโอนบัญชี ส่วนจะโอนเพราะเหตุใดและใครเป็นผู้สั่งให้โอนนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้ไม่ว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์สาขาใดโจทก์ก็ฟ้องจำเลยได้อยู่แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ตกลงเพิ่มวงเงินเบิกเกินบัญชีและต่ออายุสัญญากันอีกหลายครั้ง สัญญาครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ซึ่งในวันดังกล่าวปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์เกินวงเงินที่อาจเบิกได้ไปแล้วหลังจากนั้นในวันที่22 สิงหาคม 2529 และวันที่ 26 กันยายน 2529 จำเลยยังได้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แต่จำเลยมิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอีกเลย ดังนี้เมื่อสัญญาครบกำหนดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้นตามสัญญา โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยเป็นหนี้อยู่ต่อไป และยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แสดงว่าคู่สัญญายังคงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ลงวันที่16 มีนาคม 2530 กำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน จำเลยได้รับหนังสือในวันที่ 19 มีนาคม 2530 แล้วไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในยอดเงินซึ่งค้างชำระเมื่อวันที่ 26 กันยายน2529 จนถึงวันผิดนัดและดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาที่ยังไม่บริบูรณ์เป็นใช้บังคับได้เมื่อมีการชำระหนี้จริง
ก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลยที่ 1ต่อธนาคาร โจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไว้กับโจทก์จำนวน 80,000 บาท เพื่อเป็นประกัน ดังนั้น แม้ในขณะนั้นสัญญากู้เงินจะยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองแต่ก่อนฟ้องคดี ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปแล้วเท่ากับจำนวนเงินตามหนังสือสัญญากู้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1ได้รับเงินตามหนังสือสัญญากู้นับแต่ธนาคารได้หักเงินของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หนังสือสัญญากู้จึงเป็นหนังสือสัญญาที่บริบูรณ์มีมูลหนี้ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินให้เช่าเป็นค่าลงทุนห้ามหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5)
ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้เป็นทรัพย์สินที่เป็นทุนรอนของโจทก์ เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) และดอกเบี้ยของเงินกู้ดังกล่าวแม้จะไม่เป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรงแต่ก็เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินมาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนหาใช่ค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ดังนั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน ไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) แม้ที่ดินกับอาคารจะเป็นอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่สภาพและหลักเกณฑ์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสองประเภทนี้หาเหมือนกันไม่กล่าวคือ สภาพของอาคารย่อมสึกหรอและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลา และ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 มาตรา 4(1) ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของอาคารหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของอาคารได้เป็นปี ๆไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนสภาพของที่ดินนั้นไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ และพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาตรา 4(5)ไม่ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของที่ดินมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังนั้น จึงนำดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมาเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้ออาคารไม่ได้ ดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินจึงนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบรายละเอียดการรับเงินกู้ไม่เป็นการนอกฟ้อง และอายุความดอกเบี้ยเริ่มนับจากเวลาที่อาจฟ้องเรียกได้
ในคำฟ้องและสัญญากู้ระบุว่าจำเลยที่ 1 รับเงินจำนวน1,500,000 บาท ไปจากโจทก์ครบถ้วนในวันทำสัญญากู้ และประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วหรือไม่ดังนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 รับเงินไปจากโจทก์ก่อนวันทำสัญญากู้บ้าง ในวันทำสัญญากู้บ้าง และหลังวันทำสัญญากู้บ้างนั้น เป็นการนำสืบถึงที่มาหรือรายละเอียดในการที่จำเลยที่ 1รับเงินไปจากโจทก์ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น และไม่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร การฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งภายใน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166นั้น อายุความ 5 ปี ต้องนับตั้งแต่เวลาที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ไม่ใช่นับตั้งแต่วันที่ผู้กู้รับเงินกู้ไปจากผู้ให้กู้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการรับมอบเงินกู้ และการบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน จำเลยต้องแสดงเหตุผลชัดแจ้งตามกฎหมาย
จำเลยกล่าวในคำให้การว่า ไม่รับรองว่าจะมีการส่งมอบเงินกู้ครบถ้วนจำนวนตามสัญญาหรือไม่ เพราะไม่ปรากฏจำนวนเงินนั้นทางเอกสารใด นอกจากสัญญารูปแบบมาตรฐานที่โจทก์ทำไว้ก่อนมีการลงนาม จำเลยมิได้กล่าวปฏิเสธให้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ไปตามสัญญา ทั้งมิได้ให้เหตุผลว่าเหตุใด โจทก์จึงไม่ได้ส่งมอบเงินให้จำเลยที่ 1 เหตุแห่งคำให้การปฏิเสธของจำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้อกล่าวอ้างของตน การจะบอกเลิกสัญญากันได้นั้น ต้องอาศัยข้อสัญญาหรือกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้เลิกสัญญาได้ จะเลิกสัญญาเอาเองโดยไม่มีข้อสัญญายินยอมกันหรือไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เลิกสัญญานั้นไม่ได้ สัญญาค้ำประกันเงินกู้ ไม่ได้กำหนดเป็นข้อสัญญาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6ฝ่ายผู้ค้ำประกันมีสิทธิเลิกสัญญาได้ และโจทก์ปฏิเสธไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 บอกเลิกสัญญา ดังนี้สัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทจำเลยได้รับเงินกู้จริงหรือไม่ สัญญาไม่สมบูรณ์ใช้ฟ้องร้องไม่ได้ ศาลไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วต่อมาจำเลยได้แย่งชิงสัญญากู้ที่มีลายมือชื่อจำเลยเป็นผู้กู้ไปฉีกทิ้ง จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญากู้จริงแต่โจทก์ไม่มีเงินให้กู้จึงฉีกท่อนล่างที่มีชื่อจำเลยและพยานออก ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ตามฟ้องจริงแต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ ประเด็นข้อพิพาท จึงมีเพียงว่า จำเลยได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วหรือไม่เท่านั้นหามีประเด็นเรื่องไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือด้วยไม่ การที่จำเลยฎีกาว่าสัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องไม่มีลายมือชื่อจำเลยผู้กู้จึงเป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่นอกประเด็นและไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้โดยใช้เงินกู้จากธนาคาร และผลของการไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
บ.เป็นหนี้โจทก์ บ.ได้จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ บ.ต่อโจทก์ ขณะเดียวกัน บ.ก็เป็นหนี้ ล.บิดาภรรยาจำเลย แต่ไม่มีหลักประกันใด โจทก์ จำเลย บ.และ ล.ตกลงกันที่จะเอาเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ โดยให้โจทก์ยอมให้ บ.จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนแล้ว บ.ขายที่ดินดังกล่าวของ บ.ให้โจทก์ โจทก์ขายที่ดินนั้นให้จำเลย จำเลยนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองต่อธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หนี้แทน บ.ให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่งใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์กระทำการตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยไม่สามารถนำเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์จึงยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยไว้ได้ตามที่จำเลยตกลงให้โจทก์เก็บไว้เพื่อรอให้จำเลยนำเงินไปชำระหนี้เก่าของจำเลยที่มีต่อธนาคารก่อน เมื่อจำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ยอมส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนให้จำเลยได้
การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย บ. และ ล.ต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรจึงหาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์แล้วไม่ โจทก์ย่อมนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ที่ดินโดยใช้เงินกู้จากธนาคาร การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขาย
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินจะระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์ 70,000 บาทแล้ว แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย และบุคคลภายนอกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรได้ หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ให้กู้ แม้เงินกู้มาจากผู้อื่น: กรณีมารดาออกเงินกู้แทนบุตร
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมารดาโจทก์เป็นผู้ออกเงินกู้และมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่มารดาโจทก์มีเจตนาช่วยออกเงินกู้แทนโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันได้
of 11