พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินชดเชยและบำเหน็จของนายจ้างตามระเบียบ และกฎหมายแรงงาน: การพิจารณาว่าเงินบำเหน็จรวมเป็นค่าชดเชยแล้ว
ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน ฯลฯ ของโรงงานจำเลยกำหนดว่าเมื่อพนักงานประจำต้องออกจากงานจะได้รับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จทั้งสองอย่างและตอนต้นของระเบียบได้กล่าวถึงเหตุผลในการออกระเบียบนี้ว่า โดยที่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดงาน ค่าจ้าง เงินชดเชยเงินค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ และบำเหน็จพนักงานและคนงานในโรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแรงงานระเบียบนี้ประกาศใช้ภายหลังที่ได้มีพระราชบัญญัติแรงงานพ.ศ.2499 ต่อมาพระราชบัญญัติแรงงานฯ ได้ถูกยกเลิกไปและมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งกำหนดอัตราค่าชดเชยไว้เป็นผลดีแก่ฝ่ายลูกจ้างมากขึ้นกว่าตามพระราชบัญญัติแรงงานฯ ส่วนระเบียบการจ่ายเงินชดเชยของจำเลยมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างใด ดังนี้หากจำเลยจ่ายค่าชดเชยน้อยไปไม่ครบตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายให้ครบ ส่วนเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยนั้น ต้องการให้พนักงานที่ทำงานมาด้วยดีได้รับเงินตอบแทนความชอบอีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากเงินชดเชย และบำเหน็จนี้ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่าถ้ามากกว่าเงินชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงินชดเชย แต่ถ้าน้อยกว่าก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว แปลได้ว่า พนักงานประจำทุกคนมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานจนครบตามสิทธิของตนและยังมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกด้วยถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่มาก กว่าเงินชดเชย เมื่อรวมกับเงินชดเชยแล้วก็จะได้เท่ากับเงินบำเหน็จทั้งหมดนั่นเอง แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียว ดังนั้นเห็นได้ว่าเงินบำเหน็จที่พนักงานได้รับไปนั้น เป็นเงินชดเชยตามระเบียบของจำเลยหรือค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ทุกคนได้รับบำเหน็จไปแล้วมีจำนวนเงินเกินกว่าค่าชดเชยที่ขอมาตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทุกคนไปแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3004/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากการรับเงินชดเชยและโบนัส
แบบฟอร์มของเอกสารซึ่งลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและโบนัสมีรายการเกี่ยวกับเงินประเภทต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับ 10 ข้อ ข้อ 1 ถึงข้อ 7 ระบุประเภทของเงินต่างๆ ข้อ 8 ถึงข้อ 10 ว่างเว้นไว้ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินประเภทใด แสดงว่านอกจากเงิน 7 ประเภทแล้วยังมีเงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจจะได้รับตามสิทธิและตามกฎหมายซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่า ลูกจ้างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยและเงินโบนัสที่ได้รับไปแล้ว ย่อมหมายถึงว่าลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยค่าก่อสร้างตามมติ ครม. ต้องส่งมอบงานหลัง 24 มิ.ย. 2517 แม้ต่ออายุสัญญา ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับปรุงราคาค่าก่อสร้างสถานที่ราชการเฉพาะงานก่อสร้างที่ค้างอยู่ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน2517 เพื่อเป็นการชดเชยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างเนื่องจากเกิดวิกฤติกาลน้ำมันในปี พ.ศ.2517โดยให้คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศมีอำนาจวินิจฉัยข้อหารือจากส่วนราชการได้ตามที่เห็นสมควร และคณะกรรมการดังกล่าวได้ให้ความหมายงานส่วนที่ยังค้างอยู่ตามมติของคณะรัฐมนตรีว่าหมายถึงงวดงานที่ส่งมอบภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517และให้ถือเอาวันที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานจริง ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับชดเชยค่าก่อสร้างจะต้องมีงวดงานที่ส่งมอบจริงภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517
งานงวดที่โจทก์ขอเงินค่าชดเชยนี้ โจทก์มีหนังสือส่งมอบงานก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2517 แม้การส่งมอบงานงวดดังกล่าวคณะกรรมการยังไม่รับมอบเพราะงานยังไม่แล้วเสร็จและมาแล้วเสร็จภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน2517 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบงานภายหลังวันที่ 24มิถุนายน 2517 และการที่โจทก์ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุสัญญาก็ถือได้เพียงว่าโจทก์มิได้ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดเท่านั้น แต่การส่งงวดงานตามสัญญาก็ต้องถือตามเจตนาของโจทก์ที่ได้ส่งไว้แล้วก่อนวันที่ 24 มิถุนายน2517 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคู่สัญญากับโจทก์และเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในมติของคณะรัฐมนตรีแล้วเสนอเรื่องเพื่อขอรับงบประมาณเท่านั้น มิได้มีอำนาจอนุมัติดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะได้แจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติในหลักการที่โจทก์ขอรับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้
งานงวดที่โจทก์ขอเงินค่าชดเชยนี้ โจทก์มีหนังสือส่งมอบงานก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2517 แม้การส่งมอบงานงวดดังกล่าวคณะกรรมการยังไม่รับมอบเพราะงานยังไม่แล้วเสร็จและมาแล้วเสร็จภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน2517 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบงานภายหลังวันที่ 24มิถุนายน 2517 และการที่โจทก์ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุสัญญาก็ถือได้เพียงว่าโจทก์มิได้ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดเท่านั้น แต่การส่งงวดงานตามสัญญาก็ต้องถือตามเจตนาของโจทก์ที่ได้ส่งไว้แล้วก่อนวันที่ 24 มิถุนายน2517 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคู่สัญญากับโจทก์และเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในมติของคณะรัฐมนตรีแล้วเสนอเรื่องเพื่อขอรับงบประมาณเท่านั้น มิได้มีอำนาจอนุมัติดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะได้แจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติในหลักการที่โจทก์ขอรับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งโรงงานยาสูบเรื่องการจ่ายเงินชดเชยขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชย
คำสั่งโรงงานยาสูบเรื่องการจ่ายเงินชดเชยแก่พนักงานยาสูบกำหนดว่า พนักงานยาสูบที่พ้นจากหน้าที่การงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย เป็นคำสั่งที่มีวัตถุประสงค์จะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับ หรือผูกพันลูกจ้าง โรงงานยาสูบต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจสิทธิรับเงินชดเชย แม้เรียกตำแหน่งอื่น และอายุความการฟ้องเรียกเงินชดเชย
คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน หมายรวมถึงบุคคลบุคลลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นในงานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม โดยได้ได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงานมิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507่ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว จำเลยก็ต้องจ่าย เงินชดเชยค่าโจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง: อำนาจของกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดตามประกาศคณะปฏิวัติ และการบังคับใช้ตามกฎหมายแรงงาน
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น "ค่าจ้าง" ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติและบทนิยามค่าจ้าง
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสิทธิการรับเงินชดเชยของลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 คำว่า "ลูกจ้างประจำ" หมายถึงลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ ไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะกำหนดเป็นรายเดือนรายสัปดาห์รายวันรายชั่วโมงรายระยะเวลาอย่างอื่นหรือกำหนดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ โจทก์เป็นช่างเย็บ รับจ้างเย็บกางเกงสตรีอยู่ที่ร้านของจำเลยซึ่งเป็นร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้าโจทก์มีเครื่องมือในการเย็บผ้า จำเลยมีจักรเย็บผ้าและผ้าให้เย็บงานมีให้ทำเป็นประจำทุกวัน และโจทก์ได้ค่าจ้างเย็บเป็นรายตัว ซึ่งเป็นค่าจ้างที่กำหนดตามผลงานที่ทำได้ ทั้งจำเลยยังเลี้ยงอาหารโจทก์เป็นประจำอีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์มิได้อยู่กับจำเลยก็ไม่ทำให้เปลี่ยนจากลักษณะของการเป็นลูกจ้างประจำไปได้
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอมและกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอมและกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาปรานีประนอมยอมความ: สิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลง การสละสิทธิเดิมเมื่อรับเงินชดเชย
เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาปราณีประนอมยอมความโดยยอมเลิกคดีกันแล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง หรือที่จำเลยกล่าวในคำให้การก็ดี จะถือเอามาเป็นความจริงอย่างไร ในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาท้ายยอมนั้นไม่ได้ ศาลได้แต่จะพิเคราะห์ดูถึงเจตนาอันแท้จริงของโจทก์จำเลยตามข้อความเท่าที่ปรากฏอยู่ในสัญญายอมนั้นเท่านั้น