คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินตราต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ: ไม่ผิดหากยังไม่พ้นด่าน และสิทธิในการขออนุญาต
เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิด แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยไม่เอาผิดแก่จำเลยได้
จำเลยถูกจับฐานนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนถึงด่านพรมแดนคือยังมิทันนำเงินล่วงพ้นด่านเข้ามานั้นยังไม่มีความผิด แต่เงินตราต่างประเทศต้องยึดไว้ให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
อ้างฎีกาที่ 811/2483
ธนบัตรไทยของจำเลยที่ถูกจับรวมกับเงินตราต่างประเทศนั้นก็ยังเป็นธนบัตรไทยอยู่นั่นเอง
เงินตราต่างประเทศที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจะยึดไว้ให้โอกาสแก่จำเลยขออนุญาตนั้นยึดไว้ทั้งหมด ไม่ใช่ยึดไว้เฉพาะส่วนที่เกินพันบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อยกเว้นการนำเข้าเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
จำเลยนำเงินตราเข้ามาไนราชอานาจักร 16834 เปี้ยส เปนของพยานโจทส่วนที่เหลือเปนของจำเลย สาลก็ยังลงโทสจำเลยได้ ไม่ผิดต่อวิธีพิจารนาเงินตราต่างประเทสที่กดหมายอนุญาตไห้นำเข้ามาไนราชอานาจักรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้น ต้องเปนเงินที่นำเข้ามาพร้อมด้วยตนเพื่อไช้เองและเปนส่วนหนึ่งต่างหากจากจำนวนอื่น (อ้างดีกาที่ 264/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไทย: ข้อจำกัดและเงื่อนไขการอนุญาต
จำเลยนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักร 16834 เปี้ยสชั้นพิจารณาปรากฏว่าเงิน 11420 เปี้ยส เป็นของพยานโจทก์ ส่วนที่เหลือเป็นของจำเลยศาลก็ยังลงโทษจำเลยได้ไม่ผิดต่อวิธีพิจารณา เงินตราต่างประเทศที่กฎหมายอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้นต้องเป็นเงินที่นำเข้ามาพร้อมกับตนเพื่อใช้เองและเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากจำนวนอื่น(อ้างฎีกาที่ 264/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนมาตรฐานตามประกาศกระทรวงการคลัง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทสกับเงินไทยย่อมหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนอันเปนมาตราถานเดียวกัน หาไช่อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละท้องถิ่นที่นำเงินเข้ามาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: ใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินไทยย่อมหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนอันเป็นมาตรฐานเดียวกัน หาใช่อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละท้องถิ่นที่นำเงินเข้ามาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศโดยซุกซ่อน และเจตนาหลีกเลี่ยงการแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ข้อยกเว้น 1000 บาทใช้ไม่ได้
การซุกซ่อนธนบัตร์ต่างประเทศเข้ามาในในราชอาณาจักร์โดยมิได้แสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากร โดยมิได้มีเจตนาจะนำมาใช้เพื่อตนเองแม้ในจำนวนเงินสำหรับ 1000 บาทก็เป็นความผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตนำเงินตราต่างประเทศเข้าภายหลังการฟ้องร้อง ทำให้จำเลยไม่มีความผิด
ประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 7 กันยายน 2482 จำเลยถูกฟ้องและศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเงินตราต่างประเทศเข้าในราชอาณาจักร ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขออนุญาตนำเงินตราต่างประเทศนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตแล้วดังนี้ ถือว่าจำเลยไม่มีความผิดอยู่อีกเพราะได้รับอนุญาตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าไทย ความผิดเกิดขึ้นเมื่อผ่านด่านศุลกากร
จำเลยนำเงินตราต่างประเทศติดตัวมาประเทศไทยเกินกว่าจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดไว้แต่ปรากษว่าจำเลยยังมิทันนำเงินนั้นล่วงพ้นผ่านด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดตาม พรบ ว่าด้วยการนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกเงินตราต่างประเทศหลังกฎหมายยกเลิกข้อจำกัด ไม่เป็นความผิดมูลฐานฟอกเงิน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 5 ได้ยกเลิกข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) เป็นผลให้ผู้เดินทางไปต่างประเทศสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศไทยได้โดยเสรี ไม่ถือเป็นการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกประเทศ อันจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มาตรา 8 ทวิ ส่วนการซื้อเงินตราต่างประเทศและการไม่ขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ผู้ได้รับอนุญาต แล้วนำเงินตราต่างประเทศออกไปนอกประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ซึ่งมีความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 8 ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดว่า การส่งหรือนำของนั้นออกไปหรือเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันจะเป็นความผิดมูลฐานตามบทนิยามของ "ความผิดมูลฐาน" ในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงต้องคืนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายสินค้า การซื้อขายเพื่อกิจการกับบริโภคเอง และการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายที่ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ต้องเป็นการซื้อขายเพื่อบริโภคของลูกหนี้เองโดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือธุรกิจหลักของลูกหนี้ เมื่อจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้โจทก์ในประเทศไทย กิจการของจำเลยคือการซื้อและรับมอบสินค้ามาขายต่อให้แก่ลูกค้าการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อขายต่อ ย่อมเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเองอันเข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าสินค้าจากจำเลยจึงไม่ได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
ราคาสินค้าพิพาทกำหนดเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง โจทก์จึงฟ้องขอให้ชำระหนี้เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงได้ แต่จำเลยมีสิทธิจะส่งใช้หนี้ดังกล่าวเป็นเงินไทยก็ได้ โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196
of 5