พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันภัยรถยนต์และประกันสังคมไม่ขัดแย้งกัน ผู้รับสิทธิไม่ต้องเสียสิทธิซ้ำซ้อน
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสีย เบี้ยประกันภัยและส่ง เงินสมทบเข้า กองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: เบิกซ้ำซ้อนได้ตามกฎหมายเฉพาะ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทและต้องเสียเบี้ยประกันภัยส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตรายเจ็บป่วยทุพพลภาพหรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีกจึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล แม้ไม่ได้แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือขอใบแทน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้ออกระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วย การออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๕๘ วรรคสอง ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๖ เป็นต้นไป โดยระบุเหตุผลในการออกระเบียบฉบับนี้ว่า เพื่อให้การออกหลักฐานรับรองสิทธิการไปขอรับบริการทางการแพทย์เกิดความสะดวก มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยระเบียบฉบับนี้ได้กล่าวถึงวิธีการกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยออกบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๗ กำหนดแบบที่จะต้องใช้ในการยื่นคำขอต่าง ๆและกำหนดวิธีปฏิบัติในการขอใบแทนบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๑ กำหนดอายุบัตรรับรองสิทธิไว้ในข้อ ๑๒ และกำหนดให้แสดงบัตรทุกครั้งที่ไปรับบริการทางการแพทย์ในข้อ ๑๓ แต่ไม่มีปรากฏตามมาตราใดใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓หรือในระเบียบฉบับนี้ว่า หากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ที่ได้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิมาแล้ว ทั้งได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลอันเป็นสถานพยาบาลที่กำหนดให้ใช้บริการ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ตามฟ้อง ลำพังเพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลเพราะบัตรรับรองสิทธิสูญหายไป โดยโจทก์ได้ไปแจ้งความไว้แล้ว และไม่ได้ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิเท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินที่โจทก์ถูกสถานพยาบาลเรียกเก็บไปแล้วไม่
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
จำเลยไม่ชำระเงินตามที่โจทก์ทวงถามต้องถือว่าจำเลยผิดนัดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องขอเงินดังกล่าวครั้งแรกวันใด ศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามจำเลยอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา ๒๐๔ และ ๒๒๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนระงับจ่ายเงินทดแทนชั่วคราวขัดต่อเจตนารมณ์กฎหมายเงินทดแทน
ตามที่พระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา32(5)ระบุว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา52นั้นหมายความว่ามีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้จ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าหรือไม่แต่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวหาได้ไม่เพราะการมีคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลเป็นการทุเลาปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537ที่บัญญัติเป็นใจความว่าการอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือของคณะกรรมการแล้วแต่กรณี แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยรวบรวมก็เป็นการกระทำเพื่อนำมาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเองและเมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของพนักงานเงินทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนยังต้องวินิจฉัยต่อไปแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานถ้าถือว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจที่จะมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา54ด้วยย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมย์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน: เริ่มทำงานแล้ว แม้ยังไม่ถึงที่หมาย ก็ถือว่าประสบอันตรายได้
ลูกจ้างออกเดินทางจากบ้านพักของลูกจ้างเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงอยู่ในตัวว่าลักษณะการทำงานของลูกจ้างในวันเกิดเหตุลูกจ้างไม่ต้องเข้าไปยังที่ทำงานของลูกจ้างและกระทำกิจอื่นแต่ลูกจ้างออกจากบ้านพักตรงไปบ้านลูกค้าเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายย่อมชี้ให้เห็นว่าลูกจ้างได้เริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายกรณีไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ลูกจ้างจะต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆถือว่าลูกจ้างได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วภริยาของลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ทุจริตจ่ายเงินทดแทนโดยมิชอบ และความผิดสนับสนุน
จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน แต่จำเลยที่ 3กับพวกก็คิดค่าทดแทนให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันทำเอกสารมีข้อความเป็นเท็จ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(4) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและจ่ายเงินทดแทนทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว ย่อมจะต้องเห็นความสำคัญของงานที่ทำที่มีผู้ประสงค์จะแสวงหาประโยชน์อยู่มาก และความสำคัญของเอกสารที่ตนลงชื่อ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีงานอื่นที่สำคัญและต้องทำอีกมากไม่มีเวลาออกไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนากระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และจำเลยอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5121/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเครียดจากการทำงานหนักเป็นเหตุให้หัวใจขาดเลือดถึงแก่ชีวิต ถือเป็นโรคจากการทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ผู้ตายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรแหล่งน้ำ 1 รับผิดชอบเป็นผู้จัดการโครงการวางท่อส่งน้ำ โดยทำงานร่วมกับบริษัทช.ผู้ตายต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน เช่น การบริหารงานบุคคลดูแลงบประมาณและติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งยังต้องเร่งรัดให้งานแล้วเสร็จในกำหนด ต้องทำงานหนักตลอดสัปดาห์และทำงานล่วงเวลาด้วย เมื่อความเครียด จะเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นและทำให้หัวใจหยุดเต้นทันทีได้การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะทำงานเป็นผลเนื่องจากสภาพของการที่ผู้ตายต้องตรากตรำทำงานหนักมากตลอดทั้งสัปดาห์ และทำงานล่วงเวลาด้วยเป็นสาเหตุแห่งความเครียด ทำให้ หัวใจขาดเลือดและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจาก การทำงานให้แก่นายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่อง กับการทำงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลว ศาลฎีกาตัดสินว่าการทำงานปกติและเพิ่มขึ้นไม่มีผลโดยตรงต่อการเสียชีวิต
อ.ทำงานเกี่ยวกับด้านบัญชี แม้ภายหลังนายจ้างจะมอบหมายงานให้ทำมากขึ้นโดยทำงานเฝ้าเหมือง ดูแลคนงาน เบิกจ่ายเงิน ดูแลพัสดุ ติดต่อกับหน่วยงานอื่น และคุมแร่ไปขาย ที่จังหวัดภูเก็ตด้วย งานที่ อ. ทำก็มิใช่งานที่ต้องใช้กำลังมากไม่อาจทำให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายได้ และอ.มิได้ทำงานตรากตรำวันเกิดเหตุอ. ไปทำงานตอนเช้าตามปกติ ตอนสายได้กลับมาบ้านและให้โจทก์ ซึ่งเป็นภริยาพาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะแต่ อ. เป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหาร และถึงแก่ความตายเพราะหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ถือเป็นการเจ็บป่วยจากการทำงาน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
เดิม อ.ลูกจ้างของบริษัทร. เป็นคนแข็งแรงไม่เคยป่วยเจ็บก่อนถึงแก่ความตาย 5-6 เดือน ตอนเช้า อ. ไปทำงานตามปกติตอนสาย อ.ได้กลับไปที่บ้านและบอกให้โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาอ.พาไปส่งโรงพยาบาลเนื่องจากปวดศีรษะ แล้วเป็นลมล้มฟุบลงที่โต๊ะอาหารโจทก์พาไปส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจแล้วแจ้งโจทก์ว่า อ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากหัวใจหยุดทำงานโดยเฉียบพลันก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล การตายของ อ. ยังถือไม่ได้ว่าถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการป่วยเจ็บเนื่องจากการทำงาน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดถึงทายาท
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดแก่ทายาท
ส.ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 ซึ่งขณะนั้น ส.ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส.ย่อมยุติลงในวันที่2 กรกฎาคม 2533 ทายาทของ ส.หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.อีกไม่ได้
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส.ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส.ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60 ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
ส.ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 ซึ่งขณะนั้น ส.ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส.ย่อมยุติลงในวันที่2 กรกฎาคม 2533 ทายาทของ ส.หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.อีกไม่ได้
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส.ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส.ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60 ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่