คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายโมฆียะจากความสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์ และการบอกล้างสัญญาพร้อมคืนเงินมัดจำ
ขณะทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายโจทก์ไม่รู้ว่ามีคำสั่งห้ามโอนที่พิพาทการแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาของโจทก์จึงเกิดจากการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆียะโจทก์มีสิทธิบอกล้างได้เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างโดยบอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็น โมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืน เงินมัดจำให้โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วเมื่อจำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียง60,000บาทย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่คืนเงินมัดจำ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยที่1พร้อมชำระหนี้และรับชำระหนี้แต่โจทก์มิได้ชำระหนี้และรับชำระหนี้ตามกำหนดโจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา204วรรคสองแม้สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อสัญญาให้จำเลยบอกเลิกสัญญาได้แต่จำเลยก็ให้โอกาสชำระหนี้และรับชำระหนี้ถึงสองครั้งโดยให้โจทก์เป็นผู้กำหนดวันนัดภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วครั้งแรกโจทก์อ้างเหตุขัดข้องเรื่องเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินและหมุดหลักเขตไม่แน่นอนครั้งหลังโจทก์รับทราบและพ้นเวลาที่จำเลยกำหนดแล้วโจทก์ยังเพิกเฉยกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมหลุดพ้นจากข้อผูกพันที่ให้โอกาสโจทก์ชำระหนี้และรับชำระหนี้และสิทธิในการเลิกสัญญาโดยข้อสัญญายังคงมีอยู่หาได้ระงับสิ้นไปไม่เมื่อจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์โดยชอบแล้วจำเลยย่อมสิ้นความผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและมีสิทธิไม่คืนเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้องย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเมื่อโจทก์ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะรับชำระหนี้หรือชำระหนี้ตอบแทนฝ่ายจำเลยทั้งสามได้ย่อมถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษี
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ อ.โดย อ.วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา 9,000,000 บาท แต่ อ.ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวตามสัญญา ดังนี้ แม้ อ.จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้ว หาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบ อันจะถือว่าเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่ เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจาก อ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา จึงเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ถือเป็นเงินได้อื่น ๆ ตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินมัดจำตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินที่ผู้จะขายได้บอกริบแล้วถือเป็นเงินได้จากการอื่นๆตามมาตรา40(8)แห่งประมวลรัษฎากรและเป็นเงินได้พึงประเมินที่ ผู้จะขายมีหน้าที่ ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา39แห่งประมวลรัษฎากรแม้ผู้จะซื้อจะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน ถือเป็นเงินได้อื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่อ. โดยอ. วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา9,000,000บาทแต่อ. ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวสัญญาดังนี้แม้อ. จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้วหาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบอันจะถือว่าเป็นเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากอ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญาจึงเป็นเงินได้จากการอื่นๆตามมาตรา40(8)แห่งประมวลรัษฎากรและเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสื่อสารโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที ทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท โดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม 2533 แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใด ๆ ที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญา ทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่ แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา หรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลัง หามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิม อันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: เจ้าหนี้ผิดนัดชำระเงินมัดจำ จำเลยมีสิทธิไม่ชำระหนี้
โจทก์ไม่ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่1ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดให้เงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินตามสัญญาเงินดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1เมื่อโจทก์ไม่เสนอโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา210จำเลยที่1มีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอชำระหนี้ตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนผิดนัดและการคืนเงินมัดจำ กรณีคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา และเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยก็เพราะกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ที่โจทก์ฎีกาว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายแต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้วโจทก์จึงขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและเบี้ยปรับแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้มาและโจทก์ฎีกาในข้อนี้อีก ก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ การริบเงินมัดจำไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์จองซื้อห้องชุดเป็นจำนวนมากถึง38ห้องมีราคาทั้งสิ้นถึง15,124,000บาทในลักษณะทำมาหาประโยชน์ทางธุรกิจโจทก์ย่อมจะต้องเสนอเงื่อนไขต่างๆเพื่อรักษาสิทธิของตนให้จำเลยเห็นชอบเสียก่อนโจทก์จึงจะลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปได้เมื่อมีรายละเอียดของข้อความแห่งสัญญาที่โจทก์ยังตกลงกับจำเลยไม่ได้หลายข้อดังกล่าวแล้วซึ่งโจทก์แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญและโจทก์จำเลยมีความประสงค์ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันต่อไปอีกแต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ตกลงกันให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกข้อและยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาจึงไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดตามความต้องการของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวที่จำเลยริบเงินมัดจำจองห้องชุดที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและขอบเขตความรับผิดในการคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้นจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย
of 17