พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ส่วนเงินโบนัสไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ลักษณะการจ่ายเงินค่าครองชีพซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างพื้นฐาน มีลักษณะเป็นการจ่ายประจำและแน่นอนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตาม เงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และไม่ใช่เงินประเภทเดียวกันกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งไม่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสม เงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสม เงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง เงินโบนัสไม่เป็นค่าจ้างในการคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ลักษณะการจ่ายเงินค่าครองชีพซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างพื้นฐานมีลักษณะเป็นการจ่ายประจำและแน่นอนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นก็ตามเงินค่าครองชีพก็เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และไม่ใช่เงินประเภทเดียวกันกับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งไม่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้น เงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนด้วย
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
ส่วนเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสนั้น คณะกรรมการบริษัทนายจ้างจะไม่อนุมัติให้จ่ายในปีใดก็ได้ ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสบทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แม้มีอำนาจพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงาน
นายจ้างค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มกรมแรงงานทวงถามแล้วก็ไม่ชำระ ดังนี้ ย่อมมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31 แล้ว แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10 จะกำหนดให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบ และหรือเงินเพิ่มเอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระเงินที่ค้างจ่ายได้ก็เป็นเรื่องให้อำนาจพิเศษแก่อธิบดีกรมแรงงาน มิใช่เพื่อตัดสิทธิกรมแรงงานที่จะเสนอคดีต่อศาล กรมแรงงานมีอำนาจฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มจากนายจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมแรงงานฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แม้มีอำนาจพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงานยึดทรัพย์สิน
นายจ้างค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มกรมแรงงานทวงถามแล้วก็ไม่ชำระ ดังนี้ ย่อมมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 แล้ว แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10 จะกำหนดให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบ และหรือเงินเพิ่มเอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระเงินที่ค้างจ่ายได้ ก็เป็นเรื่องให้อำนาจพิเศษแก่อธิบดีกรมแรงงาน มิใช่เพื่อตัดสิทธิกรมแรงงานที่จะเสนอคดีต่อศาล กรมแรงงานมีอำนาจฟ้องเรียกเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและเงินเพิ่มจากนายจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476-477/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ขององค์การสะพานปลาไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินสมทบตามข้อบังคับองค์การสะพานปลา ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518 ข้อ 11 เป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3727/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานธนานุเคราะห์เข้าข่ายบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ค่าชดเชยและเงินสมทบมีความแตกต่างกัน
กิจการสถานธนานุเคราะห์มิได้เป็นกิจการที่ให้เปล่าดังเช่นมูลนิธิหรือกิจการสาธารณกุศล แม้จะมีนโยบายสงเคราะห์และช่วยเหลือ ประชาชนทั่วไปผู้ประสบความทุกข์ยาก ก็มิได้เป็นกิจการที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ
เงินสมทบตามระเบียบสำนักงานธนานุเคราะห์ว่าด้วยเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2519 เป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย การที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวว่า เงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าชดเชย จึงไม่มีผลใช้บังคับ
เงินสมทบตามระเบียบสำนักงานธนานุเคราะห์ว่าด้วยเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2519 เป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย การที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวว่า เงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าชดเชย จึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินสมทบและค่าจ้างค้างชำระของลูกจ้าง แม้มีการทุจริต แต่จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงเงินดังกล่าว
กฎและข้อบังคับของจำเลยข้อ 9 ที่กำหนดว่าคณะผู้บริหารมีอำนาจที่จะตัดสินเกี่ยวกับข้อพิพาทหรือปัญหาซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างหรือผลของข้อบังคับนี้หรือในข้อที่เกี่ยวกับการบริหารบัญชีนี้หมายความว่า อำนาจตัดสินของคณะผู้บริหารตามกฎและข้อบังคับดังกล่าวต้องเป็นเรื่องอันเกิดจากโครงสร้าง ผลของข้อบังคับและการบริหารบัญชีเท่านั้น หามีอำนาจที่จะตัดสินให้งดจ่ายเงินสมทบแก่สมาชิกในกรณีสมาชิกทุจริตต่อหน้าที่เบียดบังยักยอกเงินของจำเลยไม่
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
บทบัญญัติเรื่องบุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชำระหนี้ไม่
สิทธิของจำเลยที่จะเรียกเงินที่โจทก์เบียดบังยักยอกไปคืนมิได้เกี่ยวกับเงินค่าจ้างค้างชำระ เงินสะสมและเงินสมทบที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงไม่
การที่กฎและข้อบังคับของจำเลย ข้อ 27 กำหนดว่าบริษัทย่อมทรงไว้ซึ่งบุริมสิทธิลำดับแรกและทั้งสิ้นในเงินจำนวนที่เป็นเครดิตของสมาชิกแต่ละคนในบัญชีนี้เพื่อนำมาชดใช้แก่บรรดาการสูญเสีย ราคา ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่บริษัทอาจได้รับไม่ว่าในเวลาใดเนื่องจากความผิดของสมาชิกนั้นหรือสำหรับหนี้สินใดๆ ที่สมาชิกนั้นต้องชำระให้แก่บริษัทนั้น หมายความว่าจำเลยมีสิทธิที่จะหักเงินสะสมและเงินสมทบในบัญชีของโจทก์ไว้ชำระหนี้แก่จำเลยได้หากหนี้นั้นมีจำนวนแน่นอนและไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำนวนเงินที่โจทก์ยักยอกไปมีจำนวนแน่นอนนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง เงินสมทบประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มแม้ศาลเคยตัดสินว่าไม่ใช่ค่าจ้าง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 49 บัญญัติให้นายจ้างซึ่งนำส่งเงินสมทบไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 47 ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่ เป็นการบัญญัติหน้าที่และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มไว้โดยชัดแจ้งและเคร่งครัด สามารถคำนวณเงินเพิ่มได้แน่นอน และไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่านายจ้างจะมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
โจทก์ (นายจ้าง) ไม่นำค่าเที่ยวซึ่งเป็นค่าจ้างของลูกจ้างรวมเข้าเป็นฐานคำนวณเงินสมทบ จึงนำส่งเงินสมทบให้แก่จำเลยไม่ครบจำนวน โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15310/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิเงินสมทบประกันสังคม/เงินทดแทน: ครอบคลุมหนี้ทั้งหมด ไม่จำกัดปี
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 บัญญัติให้ เงินสมทบที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม เงินทดแทนที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม มีบุริมสิทธิในระดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้บัญญัติให้เรียกได้ในวงเงินที่ค้างในปีปัจจุบันและปีก่อนหน้านั้นหนึ่งปี แม้ ป.พ.พ. มาตรา 256 จะบัญญัติให้ บุริมสิทธิค่าภาษีอากรใช้สำหรับของบรรดาค่าภาษีอากรที่ยังค้างอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติเอาไว้ในเฉพาะเรื่องบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรเท่านั้น