พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา และเงินเดือนระหว่างทุนนำมาคำนวณค่าปรับได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ และได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้น หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลา และกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เพราะคำว่า หนีราชการ เป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ จึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่ 1 ออกเอง อันไม่เป็นการผิดสัญญาหาได้ไม่
เงินเดือนที่จำเลยที่ 1 ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้น อยู่ในความหมายของคำว่า เงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษา ตามข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญา จึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา โดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อน จากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้คนละจำนวน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.
เงินเดือนที่จำเลยที่ 1 ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้น อยู่ในความหมายของคำว่า เงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษา ตามข้อสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญา จึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้
การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ 2 ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา โดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อน จากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในหนี้คนละจำนวน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา, การคำนวณค่าปรับจากเงินเดือน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองจำเลยไม่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างในบริษัทจำกัด: กรรมการผู้จัดการรับเงินเดือนมีสิทธิคุ้มครองแรงงาน แม้มาจากการเลือกตั้ง
การที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการบริษัทจำเลยนั้น แม้โจทก์จะได้รับตำแหน่งด้วยการเลือกจากผู้ถือหุ้น และต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์คือผู้บริหารงานของบริษัทซึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือนหรือที่เรียกว่าค่าตอบแทนรายเดือนและโจทก์ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ในสวัสดิการของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานอื่นอีกด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทเพื่อรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรายเดือน อันนับได้ว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมค่าจ้างทุกประเภท ทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพ
ค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 39 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายถึงค่าจ้างทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำด้วย นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบของนายจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานในวันหยุดคำนวณจากค่าจ้างทุกประเภท รวมเงินเดือนและค่าครองชีพ นายจ้างจ่ายเพิ่มเฉพาะเบี้ยเลี้ยงไม่ได้
ค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 39แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายถึงค่าจ้างทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำด้วย นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบของนายจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง: เงินเดือนหลังลดขั้นวินัย
ข้อบังคับของนายจ้างว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดการคำนวณเงินสงเคราะห์ โดยถือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ เมื่อลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยลดขั้นอัตราเงินเดือน แล้วถูกสั่งให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสงเคราะห์ก็ต้องถือตามเงินเดือนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับภายหลังลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินสงเคราะห์: เงินเดือนหลังลดขั้นวินัย
ข้อบังคับของนายจ้างว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานได้กำหนดการคำนวณเงินสงเคราะห์โดยถือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ เมื่อลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้วถูกสั่งให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถ เงินเดือนเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่นำมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสงเคราะห์ก็ต้องถือตามเงินเดือนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับภายหลังลดขั้นอัตราเงินเดือนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง หากรวมกับเงินเดือนแล้วไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำ เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างและเมื่อรวมกับค่าจ้างบางอัตราที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยแล้ว มิได้ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้พนักงานของจำเลยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 1 กันยายน 2523
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง หากรวมกับเงินเดือนแล้วไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำ เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างและเมื่อรวมกับค่าจ้างบางอัตราที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานของจำเลยแล้ว มิได้ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้พนักงานของจำเลยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 1 กันยายน2523
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285-3289/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือน และสิทธิการได้รับเงินเดือนและนับอายุงานของลูกจ้าง
เมื่อข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่มีการร้องทุกข์เพราะออกงานถ้าผู้ร้องทุกข์ได้รับการพิจารณากลับเข้าทำงานตามเดิม ผู้ได้กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกออกจากงานโจทก์ซึ่งเดิมถูกไล่ออกจากงานแต่ภายหลังคณะกรรมการจำเลยมีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษจากไล่ออกเป็นให้กลับเข้าทำงานแต่ให้ตัดเงินเดือน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออก และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้นับอายุการทำงานในระหว่างถูกไล่ออก เพราะโจทก์มิได้ทำงานและมิได้มีฐานะเป็นลูกจ้างในระหว่างนั้นประกอบกับคณะกรรมการจำเลยซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการรถไฟตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ได้มีมติว่าสำหรับการนับเวลาทำการก็ให้ตัดเวลาที่ถูกไล่ออกจากงานไป การที่จำเลยออกคำสั่งตัดเงินเดือนโจทก์โดยไม่จ่ายเงินเดือนและให้ตัดเวลาการทำงานในระหว่างที่ไล่ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ประการใด