พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจำนอง: การตีความสัญญาประกันหนี้ที่ยังมิได้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาและหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็ค กับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่า ประกันเงินที่ เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรงหาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้อง เสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสีย ในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อ ท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: เจตนาคู่สัญญา, การต่ออายุ, และสิทธิในสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นหนังสือ เจตนาอันแท้จริง ของคู่สัญญาย่อมเห็นได้จากเอกสารหรือหนังสือนั้น ถ้าข้อความในสัญญาชัดแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการ ตีความการแสดงเจตนา และจะนำสืบพยานบุคคลว่าคู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าข้อความในสัญญาหาได้ไม่
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
หนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเช่าไว้แน่นอน 1 ปีย่อมไม่อาจตีความว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะ ต่ออายุสัญญาเช่ากันทุกๆ ปี ซึ่งบังคับโจทก์ให้เช่าได้ และข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า 'การต่ออายุสัญญาเช่าผู้เช่า ย่อมชำระค่าธรรมเนียมต่อสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเช่า 1 เดือน ต่อ 1 ปี' เพียงแต่กำหนด ว่าจำเลยจะยอมชำระค่าธรรมเนียมให้โจทก์ ในกรณีที่มีการ ต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่ ส่วนจะมีการต่ออายุสัญญา หรือทำสัญญาใหม่หรือไม่ อยู่ที่การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมิได้บังคับว่าโจทก์จะต้องยอมต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่ จำเลย
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินซึ่งเช่าจากโจทก์ แม้ จะปลูกสร้างโดยสุจริต ก็เป็นการปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิ โรงเรือนนั้นไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดิน และมิใช่เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า การที่โจทก์ไม่ยอมต่ออายุ สัญญาเช่าให้จำเลยและบอกเลิกสัญญาเช่า จะถือว่าเป็นการใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่โดยไม่สุจริตไม่ได้
จำเลยฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ดำเนินการชี้สองสถานและสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ มิได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียงสองร้อยบาท ตาม ตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2 ก. จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนสุทธิในการคำนวณโบนัส: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิตามประมวลรัษฎากร
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากยังไม่ตกลงเงื่อนไขตามเจตนาของคู่สัญญา การขายให้ผู้อื่นเป็นเหตุให้เรียกเงินมัดจำคืนได้
แม้การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดให้ทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่เมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำกันโดยวิธีทำเป็นหนังสือ ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นสัญญาฉบับแรกระบุไว้ว่า สัญญาดังกล่าวยังไม่ถือเป็นข้อยุติในการซื้อขายจนกว่าจะได้ทำสัญญามีเงื่อนไขตรงกับความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายดังนั้น เอกสารหมาย จ.1 จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาผูกพันเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายพิพาทต่อกัน การที่จำเลยนำที่ดินพิพาทส่วนใหญ่ไปขายให้แก่ผู้อื่นหลังจากนั้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาจะซื้อขาย กับโจทก์ต่อไปตามที่เคยตกลงไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยึดเงินมัดจำของโจทก์.ที่มอบให้จำเลยไว้ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน vs. สัญญาเช่าซื้อ ศาลวินิจฉัยเจตนาคู่สัญญาและแก้ไขคำพิพากษา
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน ชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขาย แม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิปลูกสร้างในที่ดินได้ ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้ว อันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันที โจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่า: ระยะเวลาเช่าต้องเริ่มนับจากวันทำสัญญาจริง ไม่ใช่วันบอกกล่าว
โจทก์จำเลยทำสัญญากันให้โจทก์ลงทุนสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยและยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย โดยโจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาเช่าและเรียกค่าช่วยก่อสร้างได้ จำเลยมีหน้าที่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าและจดทะเบียนการเช่าให้สิบปีซึ่งตามสัญญาระบุว่าจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ตาม ต้องมีกำหนด การเช่า 10 ปี นับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปเมื่อโจทก์สร้างตึกแถวเสร็จและหาผู้เช่ามาทำสัญญาเช่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมทำ โจทก์บอกกล่าวให้ไปทำก็ไม่ยอมทำจนโจทก์ต้องฟ้อง ดังนี้ ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาเช่ามีกำหนดสิบปีนับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไป จะนับระยะเวลาเช่าตั้งแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวครบกำหนดหาได้ไม่ เพราะผิดจากเจตนาของคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า: กำหนดเวลาเช่าต้องนับจากวันทำสัญญาจริง ไม่ใช่วันบอกกล่าว
โจทก์จำเลยทำสัญญากันให้โจทก์ลงทุนสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยและยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย โดยโจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาเช่าและเรียกค่าช่วยก่อสร้างได้ จำเลยมีหน้าที่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าและจดทะเบียนการเช่าให้สิบปี ซึ่งตามสัญญาระบุว่าจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ตามต้องมีกำหนดการเช่า 10 ปี นับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปเมื่อโจทก์สร้างตึกแถวเสร็จและหาผู้เช่ามาทำสัญญาเช่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมทำ โจทก์บอกกล่าวให้ไปทำก็ไม่ยอมทำจนโจทก์ต้องฟ้อง ดังนี้ ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาเช่ามีกำหนดสิบปีนับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปจะนับระยะเวลาเช่าตั้งแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวครบกำหนดหาได้ไม่ เพราะผิดจากเจตนาของคู่สัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง vs. การมอบอำนาจรับเงินแทน: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ
บันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างทำขึ้นเป็นหนังสือ แม้จะมีข้อความว่าผู้รับจ้างได้ตกลงยินยอมและมอบให้ธนาคาร... แต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินเกี่ยวกับค่าจ้างเหมาทั้งสิ้น และผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ธนาคาร... โดยธนาคารผู้รับมอบลงชื่อไว้ร่วมกับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในบันทึกเป็นหนังสือนี้ก็ตาม เมื่อเจตนาของคู่กรณีที่ประพฤติปฏิบัติต่อกันมาเห็นได้ว่า เป็นการชำระเงินโดยผ่านธนาคารเพื่อที่ธนาคารเอาไปหักกับหนี้สินที่ผู้รับจ้างมีอยู่ต่อธนาคารก่อน ส่วนที่เหลือยังเป็นของจำเลยอยู่เช่นนี้ ก็แปลไม่ได้ว่าบันทึกนี้เป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง คงเป็นเพียงหนังสือมอบให้รับเงินแทน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การตีความสัญญาตามเจตนาคู่สัญญาเพื่อการใช้ทางและสร้างสะพานเข้าที่ดิน
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญา ทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะขายฝาก: เจตนาคู่สัญญาและผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
น้องชายของจำเลยถูกโจทก์กล่าวหาว่าฉ้อโกงและถูกจับจำเลยได้ตกลงกับโจทก์เพื่อเลิกคดี แล้วไปหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนร่างสัญญาจะขายฝากเพื่อปลดหนี้น้องชายจำเลย โจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ มีข้อความว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินให้โจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วพนักงานสอบสวนเอาสัญญากู้กับสัญญาขายฝากที่น้องชายจำเลยทำให้โจทก์ไว้มาฉีกทิ้งแม้สัญญานี้จะไม่มีข้อกำหนดว่า จะไปทำหนังสือและจดทะเบียนเมื่อใด แต่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมต่างๆผู้รับซื้อฝากต้องออกเอง แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาทำสัญญาขายฝากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องมีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นสัญญาจะขายฝากซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ