พบผลลัพธ์ทั้งหมด 431 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการหลอกลวงขายสินค้าเสื่อมคุณภาพ และข้อยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต แต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง แต่ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา 271
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ.ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 มาตรา18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ.ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525มาตรา 15
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ.ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 มาตรา18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ.ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนทรัพย์สิน และเจตนาทุจริตเพื่อขอใบอนุญาต
ห. เป็นเจ้าของที่ดินสองแปลง แปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี เว้นแต่ตกทอดทางมรดกตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกให้จำเลย 20 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. ภริยาของ ห. แปลงที่สองยกให้แก่จำเลย 4 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของ ห. ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของ ห. ในส่วนของที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยจึงมีสิทธิขอรับโอนที่ดินแปลงนี้ในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ ห. ยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยนั้น ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กฎหมายมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย เมื่อมูลเหตุที่ ห. ทำพินัยกรรมสืบเนื่องมาจาก ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ และ 4 ไร่ ตามลำดับ โดยให้จำเลยปรับปรุงพื้นที่และสร้างอาคารเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนได้ แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินแปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ เพราะตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีกำหนดไม่น้อยกว่า 10 ปี ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงแนะนำให้ทำสัญญาเช่ากัน หากเกรงว่าจะเกิดปัญหาก็ให้ทำพินัยกรรมไว้ ประกอบกับขณะนั้น ห. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น จำเลยเองก็ทราบว่า ห. เป็นโรคดังกล่าว ฉะนั้น การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง โดย ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอน และที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกัน เพื่อให้ มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห. ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตอกบัตรแทนกันและความร้ายแรงทางวินัย: การกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเจตนาทุจริต ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนร้ายแรง
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย แม้มีประกาศของจำเลยกำหนดให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดว่า ห้ามมิให้พนักงานทุกคนของจำเลยตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานแทนกันโดยเด็ดขาดก็ตาม แต่การที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาเลิกงานแทน ว. ก็ดีหรือที่โจทก์ให้ ว.ตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานแทนโจทก์ก็ดี เมื่อฟังไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไรเป็นพิเศษยิ่งกว่าการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หรือทำให้โจทก์ พ.หรือว.ได้รับผลประโยชน์อื่นใดเพิ่มเติมกว่าปกติจากจำเลยนอกเหนือจากค่าจ้างที่บุคคลทั้งสามจะพึงได้รับตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือโจทก์มีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นอย่างใด ดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากไม่มีความเสียหายร้ายแรง หรือเจตนาทุจริต ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งหัวหน้า พนักงานรักษาความปลอดภัย แม้มีประกาศของจำเลยกำหนด ให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดว่า ห้ามมิให้พนักงานทุกคนของจำเลยตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงาน แทนกันโดยเด็ดขาดก็ตาม แต่การที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลา เลิกงานแทน ว.ก็ดีหรือที่โจทก์ให้ว.ตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานแทนโจทก์ก็ดี เมื่อฟังไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย อย่างไรเป็นพิเศษยิ่งกว่าการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หรือทำให้โจทก์ พ.หรือว. ได้รับผลประโยชน์อื่นใดเพิ่มเติมกว่าปกติจากจำเลยนอกเหนือจากค่าจ้างที่บุคคลทั้งสามจะพึงได้รับตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือโจทก์มีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นอย่างใดดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างนำทรัพย์สินนายจ้างไปจำนำแล้วนำเงินไปใช้ส่วนตัว มีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าที่จำเลยนำไปจำนำเป็นของโจทก์ร่วม และขณะนำไปจำนำจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำเลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าของโจทก์ร่วมไปจำนำแล้วนำเงินที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถ้าจำเลยไม่ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดผู้รับจำนำมีสิทธินำไปขายทอดตลาดได้ และทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตโดยแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต การหักกลบลบหนี้ และการสิ้นผลผูกพันของเช็ค
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะฐานความผิดในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งมาด้วยดังนั้น การจะหักกลบลบหนี้กันได้หรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในทางแพ่งจำเลยจึงนำเอาเงินที่จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์มา หักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีนี้มิได้ กรณีความผิดจะเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ (1) ผู้กระทำความผิดใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงหรือแก่ธนาคารภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวว่า ธนาคารไม่ใช้เงิน และ (2) หนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็ค เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อการผ่อนชำระหนี้ของจำเลยในคดีนี้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามเช็คฉบับใดคดีจึงยังไม่เลิกกัน จำเลยบอกเช็คจำนวน 6 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าปูนซิเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายจำเลยจึงต้องมีความผิดตามเช็คทั้งหกฉบับ ต้องลงโทษทุกกระทงความผิดรวม 6 กระทง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียง 5 กระทง ยังไม่ถูกต้องแม้โจทก์จะไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเฉพาะการปรับบทและการลงโทษเสียให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดเจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์: การกระทำที่ปราศจากอาวุธและเจตนาลักทรัพย์
จำเลยว่าจ้างผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งจำเลยโดยจำเลยไม่ได้พกมีดปลายแหลมไป เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยบอกให้หยุดรถ ผู้เสียหายหยุดรถเพราะรู้สึกว่ามีมีดปลายแหลมจี้ที่ด้านหลัง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นมีดปลายแหลมนั้นคืออะไร และสามารถใช้เป็นอาวุธได้หรือไม่ จึงต้องสันนิษฐาน ในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยว่าสิ่งของนั้นไม่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ การที่ผู้เสียหายตกใจกลัวจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายกลัวไปเอง และคำพูดที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ โจทก์ก็ไม่ได้ นำสืบให้เห็นว่าเป็นคำพูดลักษณะใดอันจะแสดงว่าเป็นการขู่เข็ญ ว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขืนใจให้ผู้เสียหายหยุดรถ นอกจากนั้น ผู้เสียหายทราบว่าในขณะนั้นจำเลยจะไปเยี่ยมภริยาจำเลยที่โรงพยาบาล การที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปจอดที่ลานจอดรถของโรงพยาบาลในลักษณะเปิดเผย จนกระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจตามยึดคืนได้ในวันรุ่งขึ้น ประกอบกับจำเลยไม่ได้หลบหนีไปที่ใดทั้งที่รู้ว่าผู้เสียหาย และ เพื่อนผู้เสียหายทราบที่อยู่ของจำเลย จึงเป็นการแสดงว่าเมื่อผู้เสียหายกระโดดหนีจากรถจักรยานยนต์แล้วจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ไปยังจุดมุ่งหมายแล้วจอดรถทิ้งไว้โดยไม่ประสงค์จะเอารถจักรยานยนต์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับตนหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันหนี้ซื้อขายหุ้น: การจ่ายเช็คล่วงหน้าเพื่อซื้อหุ้นโดยโจทก์ออกเงินทดรอง ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
การที่จำเลยสั่งโจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และได้ออกเช็คเพื่อการชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องออกเงินทดรองจ่ายให้ก่อน เมื่อทวงถามจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็ชอบที่จะนำหลักทรัพย์คือหุ้นที่เป็นของจำเลยออกขายแล้วนำมาหักกลบลบหนี้ได้ แสดงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ทั้งที่ยังไม่รู้ถึงจำนวนหนี้แน่นอน จะรู้เมื่อหักหุ้นที่โจทก์นำออกขายและนำมาหักกลบลบหนี้เหลือเป็นจำนวนหนี้สุทธิ ดังนั้น การจ่ายเช็คของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534