พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่ในการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือ ลด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่เจรจาตามกฎหมายแรงงาน การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือลดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน และสิทธิของนายจ้างในการยุบหอพักหลังเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับโจทก์โดยมีข้อตกลงให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนของจำเลยทั้งสามขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ดังนี้ โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานย่อมมีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นสัญญา ระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยทั้งสามเป็นสมาชิกของโจทก์หรือไม่
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องหอพักของพนักงานระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า โจทก์ตกลงรับหลักการให้ยุบที่พักอาศัยของบริษัทจำเลยทั้งสามได้โดยทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาในรายละเอียดร่วมกันและต้องทำความตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 และให้ลูกจ้างที่พักอาศัยทุกคนย้ายออกไปภายใน 2 เดือนหลังจากตกลงกันได้ เช่นนี้ ความสำคัญของข้อตกลงนี้จึงมีว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์ให้มีที่พักอาศัยของลูกจ้างต่อไปอีก ส่วนข้อความว่าจะต้องมีการตกลงกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2529 นั้นเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งยังแสดงเจตนาของคู่สัญญานั้นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร ลูกจ้างจะต้องออกไปจากหอพักอย่างช้าที่สุดคือสิ้นปี พ.ศ. 2529 เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยไม่อาจเจรจาทำความตกลงกันได้ภายในเวลาที่กำหนด และเวลาก็ได้ล่วงพ้นปี พ.ศ. 2529 ไปแล้วจำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิประกาศให้ลูกจ้างออกจากหอพักได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองมีสิทธิห้าม การเข้าไปเพื่อเจรจาไม่ถือเป็นความผิด
ผู้เสียหายในความผิดฐานบุกรุกไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จ.อยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยย่อมมีส่วนครอบครองบ้านดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิห้ามจำเลยเข้าไปหรืออยู่ในบ้านนั้นได้จำเลยกับผู้เสียหายมีเรื่องผิดใจกันผู้ใหญ่บ้านเรียกจำเลยเข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหายเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยการที่จำเลยเข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหายจึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรเมื่อการเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงกันไม่ได้และเกิดโต้เถียงกันผู้เสียหายให้จำเลยออกไปจำเลยยังไม่ยอมออกแต่กลับจะทำร้ายผู้เสียหายเช่นนี้การที่จำเลยยังอยู่ที่บริเวณใต้ถุนบ้านของผู้เสียหายภายหลังที่ผู้เสียหายให้จำเลยออกไปเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกับการที่จำเลยโต้เถียงและจะทำร้ายผู้เสียหายเมื่อมีผู้อื่นมากันและรั้งจำเลยให้ออกไปจำเลยก็ยอมออกไปการกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา364,365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: การช่วยเหลือเจรจาและแจ้งข้อมูลการนัดหมาย
เมื่อผู้ล่อซื้อไปพบจำเลยที่ 1 ครั้งแรกและเจรจาซื้อขายเฮโรอีนกัน จำเลยที่ 2 ได้ช่วยเจรจาซื้อขายด้วย ช่วยแนะนำวิธีบรรจุเฮโรอีน และเมื่อผู้ล่อซื้อไปติดต่อในครั้งต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ก็ช่วยแจ้งให้ทราบว่า จำเลยที่ 1 ไม่อยู่กำลังไปจัดหาเฮโรอีนมาให้และแจ้งเวลานัดหมายให้มาพบจำเลยที่ 1 ใหม่ได้เมื่อใด การกระทำของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเฮโรอีน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องทางแรงงาน ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุผลว่าไม่เป็นธรรมหรือไม่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า.'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจรจาต่อรองโบนัส: บันทึกความเห็นของผู้แทนยังไม่ผูกพันจำเลย ต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจน
ข้อความซึ่งบันทึกไว้ในบันทึกผลของการเจรจาข้อเรียกร้อง ล้วนแต่เป็น ความเห็นของผู้แทนของโจทก์จำเลย ไม่มีข้อความ ตอนใดที่แสดงว่าผู้แทนจำเลยตกลงหรือให้สัญญาจะจ่าย เงินโบนัสให้แก่พนักงานปีละ 2 เท่าของเงินเดือน แม้ ผู้แทนจำเลยจะเห็นด้วยกับผู้แทนโจทก์ในการจ่ายเงินโบนัส ดังกล่าว ก็เพียงเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นซึ่งจะต้องเสนอ จำเลยต่อไป ไม่ใช่ข้อสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งจะใช้บังคับกันทันที โดยเฉพาะข้อความตอนท้ายของบันทึกระบุว่า'ส่วน ขั้นตอนดำเนินการในเรื่องนี้ธนาคารฯจะได้ดำเนินการต่อไป'แสดงว่าความเห็นของทั้งสองฝ่ายยังไม่ผูกพันคู่กรณี เพราะ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ความเห็นมีผลใช้บังคับ ถือไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องนั้นสามารถตกลงกันได้ แล้ว บันทึกดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการห้ามโยกย้ายลูกจ้างช่วงเจรจา: การเลื่อนตำแหน่งตามระเบียบ ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ที่ห้ามมิให้นายจ้างโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจานั้นหมายถึงการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานตามปกติ มิได้หมายถึงกรณีการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอซื้อขายหุ้นต้องมีเจตนาชัดเจน หากตกลงกันไม่ได้ในราคา ถือเป็นเพียงการเจรจา ไม่เกิดสัญญาผูกพัน
โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเดียวกันซึ่งมีข้อบังคับระบุว่า ผู้ถือหุ้นคนใดมีความประสงค์จะโอนหุ้น ต้องโอนให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเดียวกันก่อน การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าประสงค์จะขายหุ้น โดยมิได้กำหนดราคาค่าหุ้น หากแต่ให้มาติดต่อกับน. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยก่อน จึงเป็นเพียงการเชื้อเชิญมิใช่คำเสนอ และหนังสือโต้ตอบระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องราคาค่าหุ้น อันเป็นข้อสำคัญแห่งสัญญาซึ่งยังไม่ตกลงกัน ก็มิใช่เป็นคำเสนอและคำสนองอันทำให้สัญญาซื้อขายหุ้นเกิดขึ้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยโอนหุ้นแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ1 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ1 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์จากการเจรจาชดใช้หนี้เดิม สัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียว
โจทก์เป็นหนี้อาจำเลย โจทก์จ่ายเงินให้อาจำเลยไป20,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญาว่าจะผ่อนคืนให้โจทก์เดือนละ 300 บาทจำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ก็เพื่อให้โจทก์ยอมชำระหนี้แก่อาจำเลย โดยจำเลยไม่ได้รับเงินหรือมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์