พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องคำนึงถึงราคาประเมินทางราชการและราคาตลาด หากไม่ปฏิบัติตาม เจ้าของทรัพย์มีสิทธิขอเพิกถอนได้
เดิมที่ดินของจำเลยตั้งอยู่ในเขตตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่มีผลให้ที่ดินของจำเลยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นตำบลในเมือง อำเภอเมือง ซึ่งทางราชการประเมินราคาที่ดินตำบลในเมืองเพื่อเรียกค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตารางวาละ 2,000 บาท และที่ดินของจำเลยตั้งอยู่ห่างจากสถานีขนส่งจังหวัดอันเป็นย่าน ชุมนุมชนเพียง 300 เมตร ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดินของจำเลยโดยถือเกณฑ์ราคาประเมินที่ดินของตำบลอรัญญิกในราคาตารางวาละ 100 บาท แล้วทำการขายทอดตลาดไป แม้ได้ราคาที่สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ก็ตาม แต่หากเปรียบเทียบกับราคาประเมินของทางราชการแล้วจะเห็นว่าราคายังต่ำอยู่มาก ระเบียบในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดมานั้นต้องคำนึงถึงราคาประเมินของทางราชการราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและราคาซื้อขายในท้องตลาดประกอบกันแต่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ในคดีนี้ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการตามระเบียบดังกล่าว ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816-818/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังคงมีผล แม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การซื้อโดยสุจริตไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นสุด
ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ ส่วนมาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์แล้วสร้างกำแพงปิดล้อมที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้รถยนต์วิ่งเข้าออกที่ดินของโจทก์ กรณีจึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกัน จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของทรัพย์ที่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย ไม่อาจเรียกคืนทรัพย์สินได้
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องให้จำเลยเช่า โรงงานและเช่าซื้อ อุปกรณ์แบ่งบรรจุก๊าซของกลางก็ตาม แต่ ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องได้ ขอ อนุญาตต่อ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบ่งบรรจุก๊าซไว้ และในระหว่างให้จำเลยเช่า โรงงานนั้น ผู้ร้องก็หาได้ แจ้งเลิกกิจการไม่ ทั้งขณะเมื่อเจ้าพนักงานเข้าจับกุมจำเลยซึ่ง ร่วมถ่ายเทก๊าซก็ได้ แสดงตัว เป็นผู้ควบคุมดูแล และได้แสดงใบอนุญาตบรรจุก๊าซของผู้ร้อง ดังนี้ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าผู้ร้องรู้เห็นยินยอมให้จำเลยประกอบกิจการแบ่งบรรจุก๊าซในนามผู้ร้องผู้ร้องจึงรู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทำผิดของจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนอุปกรณ์แบ่งบรรจุก๊าซของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดประกาศขายทอดตลาดไม่ชอบเมื่อไม่ปิดที่ภูมิลำเนาเจ้าของทรัพย์ ทำให้เจ้าของทรัพย์ไม่ทราบการขาย
เจ้าหน้าที่ศาลนำประกาศขายทอดตลาดไปส่งให้จำเลยที่ 3 ปรากฏว่าไม่พบ จำเลยที่ 3 จึงได้ปิดประกาศที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ที่ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมนุมชนใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ และปิดไว้ที่ป้ายประกาศศาล การปิดประกาศดังกล่าวมิใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรกการปิดประกาศขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงรับจำนำรับจำนำเกิน 10,000 บาท ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิเรียกเงินค่าไถ่คืนได้
คนร้ายชิงทรัพย์ของโจทก์แล้วเอาไปจำนำที่โรงรับจำนำจำเลยเป็นเงินชิ้นละเกินกว่า 10,000 บาท จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 โจทก์เจ้าของทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนจากจำเลยได้โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่และแม้โจทก์เสียค่าไถ่ไปแล้วโดยสำคัญผิด โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินคืนจากจำเลยได้ เพราะการที่จำเลยรับเงินจากโจทก์เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงรับจำนำรับจำนำเกิน 10,000 บาท ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของทรัพย์มีสิทธิเรียกเงินค่าไถ่คืนได้
คนร้ายชิงทรัพย์ของโจทก์แล้วเอาไปจำนำที่โรงรับจำนำจำเลยเป็นเงินชิ้นละเกินกว่า 10,000 บาท จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 โจทก์เจ้าของทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนจากจำเลยได้โดยไม่ต้องเสียค่าไถ่และแม้โจทก์เสียค่าไถ่ไปแล้วโดยสำคัญผิด โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินคืนจากจำเลยได้ เพราะการที่จำเลยรับเงินจากโจทก์เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิเหนือทรัพย์นั้น ผู้มีสัญญาซื้อขายแต่ยังไม่ได้สิทธิครอบครองไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ ที่ดินพิพาทเป็นของผู้อื่น ผู้ร้องมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ การโอนที่ดินพิพาทครั้งสุดท้ายเป็นการโอนระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอกโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลภายนอกรับโอนแทนผู้ร้องจึงเป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกถูกโต้แย้งสิทธิและจะต้องไปดำเนินการเอง ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในนามของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์ของกลาง: เจ้าของทรัพย์ต้องฟ้องคดีแพ่งเพื่อพิสูจน์สิทธิ
กรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้ายด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 หาได้ไม่เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์ของกลาง: เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงต้องฟ้องคดีแพ่งเพื่อขอคืน ไม่ใช่ร้องในคดีอาญา
กรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้าย ด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีลักทรัพย์โดยไม่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์: เพียงพอหรือไม่หากระบุได้จากเอกสารอื่น
การฟ้องคดีในความผิดฐานลักทรัพย์ โดยปกติจะต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เพื่อจำเลยจะต่อสู้คดีได้ แต่ถ้า ไม่อาจทราบตัวเจ้าทรัพย์ที่แน่นอนได้ก็ไม่ต้องระบุชื่อ เจ้าทรัพย์ เพียงแต่กล่าวไว้พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องในคดีความผิดฐานลักทรัพย์โดยมิได้ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็พอจะทราบได้ว่าผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของทรัพย์คือผู้ใด โดยปรากฏชื่อ เจ้าของทรัพย์อยู่ในคดีขอฝากขัง ซึ่งจำเลยน่าจะเข้าใจได้ดีว่าทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของผู้ใด ฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5).