พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องรับผิดหากไม่ได้เป็นผู้ขับหรือครอบครองรถขณะเกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 4 ง-5838 กรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวด้วย ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทจนชนท้ายรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ และโจทก์จัดการซ่อมรถคันที่โจทก์รับประกันภัยแล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิในค่าเสียหายดังกล่าวดังนี้ แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุไว้ด้วย แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าในขณะที่เกิดเหตุจำเลยเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปด้วย จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันเกิดเหตุตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลาง: เจ้าของรถมีสิทธิฟ้องเมื่อไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่บรรทุกแร่ผิดกฎหมายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาไว้ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ต่อมาอธิบดีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ ค.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น ดังนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดทั้งได้ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ของกลางแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 14 เบญจ วรรคสี่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองยึดรถยนต์ของกลางซึ่งเป็นของโจทก์ไว้นั้นก็เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อติดตามเอาคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของสหกรณ์และเจ้าของรถต่อการกระทำละเมิดของตัวแทน
จำเลยที่ 3 เป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างสามล้อและส่งเสริมการประกอบอาชีพผู้ขับ-รถยนต์รับจ้างสามล้อมีพฤติการณ์ในลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับส่งคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผย ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้นจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427,821 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกินเหตุ ได้เข้าร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 เองก็ได้รับประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับจ้าง เช่นนี้แสดงว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ดำเนินกิจการเดินรถยนต์รับจ้างสามล้อตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เช่นกัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในสัญญาเดินรถ และความรับผิดร่วมของเจ้าของรถ
จำเลยที่ 3 เป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างสามล้อและส่งเสริมประกอบอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้างสามล้อมีพฤติการณ์ในลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตาม ป.พ.พ.มาตรา 427,821 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุ ได้เข้าร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 เองก็ได้รับประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับจ้าง เช่นนี้แสดงว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ดำเนินกิจการเดินรถยนต์รับจ้างสามล้อตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เช่นกัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถและผู้ใช้รถในฐานะตัวแทนจากการประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80-3469 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้นำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับบริษัทจำเลยที่ 4 โดยรถคันดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ 4 ติดที่ข้างรถเห็นได้ชัดเจน และจำเลยที่ 4 รับว่ารถยนต์คันนี้ใช้บรรทุกสินค้าของจำเลยที่ 4 นำไปส่งให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการของจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลประโยชน์จากการนี้โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถแท็กซี่ต่อการกระทำละเมิดของคนขับที่ได้รับอนุญาตให้เช่ารถและวิ่งรับส่งผู้โดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็น เจ้าของรถแท็กซี่คันเกิดเหตุ ได้นำรถแท็กซี่ไปเข้าเป็นสมาชิกในสหกรณ์แท็กซี่ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1 นำออกไปวิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวแทนและเจ้าของรถ กรณีรถแท็กซี่ทำละเมิด
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า รถแท็กซี่คันที่เกิดเหตุเป็นรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3878กรุงเทพมหานครของอ. น้องชายจำเลยที่ 2 ไม่ใช่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นการฟ้องผิดตัวนั้น ปรากฏว่า ในข้อนี้จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร เท่านั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า รถแท็กซี่คันเกิดเหตุไม่ใช่คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถแท็กซี่ ได้นำรถแท็กซี่ หมายเลขทะเบียน 1ท-3787 กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 2 ไปเข้าเป็นสมาชิกในสหกรณ์แท็กซี่ก่อน แล้วให้จำเลยที่ 1 นำออกไปวิ่งรับส่งคนโดยสารเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้างของบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกจะต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากคำฟ้อง จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์บรรทุกดังกล่าวให้แก่ ช. บุตรจำเลยไปครอบครองใช้สอย จ. ลูกจ้าง ช. ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยประมาทชนกระบือแล้วเลยไปชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่โจทก์ขับสวนมา การละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้างบุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการละเมิดของลูกจ้าง: เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์จะต้องรับผิดร่วมกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย จึงไม่เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นอกเหนือไปจากคำฟ้องแต่ประการใด แต่เมื่อการละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ช. บุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ และจำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้เช่า หากไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ไม่ได้ความว่ากรรมการของผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ หรือมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางของผู้ร้องไป ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยจะเอารถยนต์บรรทุกของกลางไปกระทำผิดเมื่อใดแม้จำเลยจะผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และผู้ร้องไม่บอกเลิกสัญญาก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลย.