พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดโดยไม่เปิดเผยภาระจำนอง ผู้ซื้อไม่ต้องตรวจสอบเอง ศาลเพิกถอนการขายได้
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3-7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก. โดยไม่ติดจำนองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก. ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดีเมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานศาลละเลยหน้าที่ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ทราบ
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่7 พฤศจิกายน 2539 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว โดยกำหนดขายในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน ต่อมาในวันที่ 12พฤศจิกายน 2539 ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนา คำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายแล้วเมื่อสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์อยู่ในอาคารเดียวกันกับศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีสำนักงานอยู่ ณ ที่ใด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องไปร้องขอต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(1) อีก การที่ผู้ร้องได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายในคดีนี้มีผลเท่ากับผู้ร้องได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานศาลผู้มีหน้าที่นำส่งไม่ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ทราบว่าศาลได้รับคำร้องดังกล่าวไว้แล้วและได้ดำเนิน การขายทอดตลาดไปตามกำหนดการขายทอดตลาดจึงไม่ชอบผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: ยอดหนี้ถูกต้องตามแจ้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุหนี้ในประกาศขายทอดตลาดได้
การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดไปจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารทหารไทยเมื่อปี 2530 เป็นเงิน 62,000,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทโดยวิธีติดจำนองโดยระบุหนี้จำนอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2537จำนวน 132,918,356.17 บาท ตามที่ธนาคารทหารไทยแจ้งยอดหนี้มานั้น เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หากยอดหนี้ดังกล่าวไม่ถูกต้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมสามารถตรวจสอบยอดหนี้กับธนาคารทหารไทย และร้องคัดค้านได้ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านแต่อย่างใดจึงน่าเชื่อว่ายอดหนี้ที่แจ้งมาเป็นหนี้และดอกเบี้ยที่คิดคำนวณถูกต้องและโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุยอดหนี้จำนองไว้ในประกาศขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาทโดยวิธีติดจำนองแจ้งแก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทราบก็เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกนั่นเอง จึงเป็นการกระทำที่ถูกต้องและสมควรแล้ว ไม่ต้องไต่สวนเกี่ยวกับยอดหนี้จำนองตามคำร้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ และห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาท เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการยกคำร้องงดบังคับคดี และดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาด
คำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ปัญหาว่า การยึดทรัพย์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดแต่เป็นประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องฉบับอื่นของจำเลยที่ 1ที่ศาลชั้นต้นได้สั่งยกคำร้องและจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วซึ่งจำเลยที่ 1 เพียงพอขึ้นเท้าความในคำร้องนี้เท่านั้น ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว การขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องใช้ดุลพินิจในการขายเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์ไม่ แม้หากราคาที่ประเมินในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดจะมีราคาสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ในขณะยึดทรัพย์มากก็ตามหากข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นจำเลยก็ย่อมหาผู้อื่นมาเข้าสู้ราคาได้หาใช่ว่าจะต้องขายในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้หรือถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมากจำเลยก็ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 296 วรรคสองได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สวมสิทธิเข้าดำเนินการบังคับคดีแทนโจทก์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีพฤติการณ์ ส่อให้เห็นว่าจะดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดรายนี้ โดยไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้อง มีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ทำการประเมินราคาใหม่หรือ ปรับราคาประเมินตามราคาปัจจุบันตามที่จำเลยที่ 1 ร้องขอ และรูปคดีไม่มีเหตุให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไว้ในระหว่าง การพิจารณา คดีไม่จำต้องไต่สวนและให้งดการขายทอดตลาดนั้นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องเป็นธรรมและคำนึงถึงราคาประเมินทรัพย์
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องอ้างเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามกฎหมายไม่ถูกต้อง มิใช่แค่ราคาขายต่ำ
ตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 วรรคสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริต สมคบกันกดราคาซื้ออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำเลยเสียหายเท่านั้น ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำสั่งของจำเลยเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการขายทอดตลาดและการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่ จำเป็นต้องมีเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไม่ชอบหรือไม่?
ตามคำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ขอให้งดการขายทอดตลาดไว้จนกว่าจะมีการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่ จำเลยอ้างเหตุแต่เพียงว่าเวลาผ่านไป 1 ปี ทำให้ทรัพย์สินที่ถูกยึดราคาสูงขึ้น มิได้อ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินไว้ไม่ชอบอย่างไร ที่จำเลยอ้างว่าเวลาผ่าน ไปทำให้ทรัพย์สินที่ถูกยึดมีราคาสูงขึ้น ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องตีราคาทรัพย์สินใหม่นั้นราคาทรัพย์สินที่ถูกยึดอาจมีการขึ้นลงได้ตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและราคาที่ขึ้นลงนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลจะนำมาประกอบการพิจารณาในตอนที่จะใช้ดุลพินิจให้ขายหรือไม่ให้ขายทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลมิได้ถูกจำกัดว่าจะต้องขายทรัพย์สินที่ถูกยึดในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตีราคาไว้ในขณะที่มีการยึดทรัพย์ดังกล่าว จึงยังไม่มีเหตุที่ต้องงดการขายทอดตลาดแล้วประเมินราคาทรัพย์สินให้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอสังหาริมทรัพย์ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยึดและปิดประกาศแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงได้แจ้งการยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อจำเลยที่ 3ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียังได้แจ้งการยึดให้นายอำเภอในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วด้วย จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดอสังหาริมทรัพย์ตามป.วิ.พ. มาตรา 304 วรรคหนึ่ง การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดยังที่ดินและปิดประกาศการยึดไว้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางทรัพย์ชำระหนี้หลังยึดทรัพย์: ถือว่าหนี้สิ้นสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำเลยที่1ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบให้โจทก์แล้วแต่พนักงานของโจทก์ไม่ยอมรับเมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อและเงินค่าเสียหายไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางแม้เป็นเวลาภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่2แล้วก็ตามก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับคดีต่อไปซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295(1)อันเป็นผลให้หมายบังคับคดีสิ้นผลไปจึงต้องยกเลิกหมายบังคับคดีตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง