คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำพยานหลักฐานตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2), 33 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินในการนำพยานหลักฐานมาแสดง ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2),33 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 33
โจทก์ผู้อุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่นำพยานซึ่งมีความหมายถึงพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามคำสั่ง ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2),33 แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะ ในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการซื้อขายฝาก: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐาน และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล ในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมิน และการปฏิเสธส่งเอกสารตามคำสั่งศาล
ผู้ลงชื่อในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินคือ ก. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้เตรียมแบบแจ้งการประเมิน ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมิน
กรมสรรพากรจำเลยแจ้งต่อศาลว่า เอกสารต่างๆ ที่โจทก์ส่งจำเลยตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมา ยังค้นหาไม่พบ หากพบแล้วจะรีบส่งให้โดยด่วน ดังนี้ จะถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยได้ยอมรับแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: การหักค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ดิน, อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน, และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก และได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯ ไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตาม มาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ.ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดก และต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ.เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป.ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข. และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯ เท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าตามประมวลรัชฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นสวนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไร วันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมือง ซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาท เป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้า หรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัชฎากร มาตรา 16 นั้น ไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่งข้าราชการ คือ อาจเป็นสรรพากรจังหวัดโท หรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรี คนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากร เป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาล หรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่
of 5