คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้ามรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามี และอายุความการบังคับตามสิทธิเรียกร้องหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
สามีมีอำนาจจัดการและจำหน่ายที่ดินอันเป็นสินบริคณห์ส่วนของภริยาได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโดยพระบรมราชโองการมีผลผูกพัน แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนาม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระบรมราชโองการเป็นพินัยกรรมได้ แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนามเอง สิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนามเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องกระทำหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สัญญาทำก่อนถือเป็นสัญญาระหว่างบุคคลมีชีวิต
การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะกระทำได้ต่อเมื่อหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย หากเจ้ามรดกยังไม่ตายก็ย่อมตะไม่มีมรดกตกทอดเพื่อให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกสละได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 1615 บัญญัติให้การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2501 ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2504 ผู้ร้องและเจ้ามรดกได้ทำสัญญากันมีใช้ความว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องในทรัพย์สินของเจ้ามรดก นอกจากนา 10 ไร่ และยุ้งข้าวครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องยอมสละสิทธิหมดทุกอย่างเท่าที่มีสิทธิจะพึงได้ ต่อมาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ดังนี้สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะได้ทำไว้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ไม่มีผลกระทบกระเทือนพินัยกรรมของเจ้ามรดกที่ทำไว้ข้างต้น และเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เหมาะสม ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงชอบที่จะต้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องทำหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สัญญาทำก่อนจึงไม่ใช่การสละมรดก
การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะกระทำได้ต่อเมื่อหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย หากเจ้ามรดกยังไม่ตาย ก็ย่อมจะไม่มีมรดกตกทอดเพื่อให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกสละได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 1615 บัญญัติให้การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2501 ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2504 ผู้ร้องและเจ้ามรดกได้ทำสัญญากันมีใจความว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องในทรัพย์สินของเจ้ามรดก นอกจากนา 10 ไร่ และยุ้งข้าวครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องยอมสละสิทธิหมดทุกอย่างเท่าที่มีสิทธิจะพึงได้ ต่อมาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ดังนี้สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะได้ทำไว้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ไม่มีผลกระทบกระเทือนพินัยกรรมของเจ้ามรดกที่ทำไว้ข้างต้น และเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เหมาะสม ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงชอบที่จะตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมและคำนิยาม 'หลาน' ในบริบทของมรดกเมื่อเจ้ามรดกไม่มีบุตร
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ. ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง 2. สวน 1 แปลง 3. เรือน1 หลัง 4. วัว 2 ตัว ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป" เช่นนี้ เมื่อ ผ. เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่า หลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)(อ้างฎีกาที่ 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนและการขาดอายุความในคดีมรดก: ครอบครองแทนมีผลเฉพาะช่วงมีชีวิตเจ้ามรดก
ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาท อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นมารดาทำกินในที่ดินพิพาทการครอบครองของจำเลยเหนือที่พิพาทอาจ ถือว่าเป็นการครอบครองแทน ฉ. ได้เฉพาะแต่ในระหว่าง ฉ. มีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่กรรมแล้ว จะถือว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทซึ่งกลายเป็นมรดกแทนโจทก์ซึ่งเป็นสามี ฉ. ต่อไปหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับมรดกเกิน 1 ปี นับแต่ ฉ. ถึงแก่กรรมฟ้องโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่ออ้างสิทธิตามพินัยกรรมต่างฉบับของเจ้ามรดกต่างคนกัน ศาลฎีกาเห็นว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้มาตามพินัยกรรมของนางสาว ก. เป็นของโจทก์ทั้งหมด ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องมรดกตามพินัยกรรมของนางสาว ก. โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้จัดการจำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วนำเงินแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งตามพินัยกรรมของนาง ร. การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยครั้งหลัง จึงเป็นการฟ้องเรียกที่ดินโดยอ้างสิทธิตามพินัยกรรมของนาง ร. ซึ่งเป็นพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง มีข้อความแตกต่างกัน เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่างคนกัน จึงมิใช่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่ออ้างสิทธิตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่างกัน แม้คดีก่อนอ้างพินัยกรรมแล้วขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้มาตามพินัยกรรมของนางสาว ก.เป็นของโจทก์ทั้งหมด ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องมรดกตามพินัยกรรมของนางสาว ก. โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้จัดการจำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วนำเงินแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งตามพินัยกรรมของนาง ร. การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยครั้งหลัง จึงเป็นการฟ้องเรียกที่ดินโดยอ้างสิทธิตามพินัยกรรมของนาง ร. ซึ่งเป็นพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง มีข้อความแตกต่างกัน เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่างคนกัน จึงมิใช่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่ออ้างสิทธิตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่างคนกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้มาตามพินัยกรรมของนางสาว ก.เป็นของโจทก์ทั้งหมด. ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์. เพราะคดีโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องมรดกตามพินัยกรรมของนางสาว ก.. โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้จัดการจำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วนำเงินแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งตามพินัยกรรมของนาง ร.. การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยครั้งหลัง. จึงเป็นการฟ้องเรียกที่ดินโดยอ้างสิทธิตามพินัยกรรมของนาง ร. ซึ่งเป็นพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง มีข้อความแตกต่างกัน. เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกต่างคนกัน. จึงมิใช่อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน. ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2511).
of 8