คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จำนองของเจ้าหนี้ต่างรายที่มีการจำนองสัญญาเดียวกัน แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน
โจทก์และผู้ร้องเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดี ผู้ร้องอยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกัน บุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินจำนองพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกอยู่ในบังคับข้อต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองเข้ามาในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการบังคับชำระหนี้
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการอันเป็นความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วยสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และการแจ้งเจ้าหนี้เมื่อสิทธิเดิมสิ้นสุด
แม้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลายของศาลชั้นต้นโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองไปยังบริษัท บ. ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้หมดไปในระหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ในขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 ซึ่งเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้ชั่วคราวแล้ว หากศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่สิทธิของโจทก์สิ้นไปในระหว่างพิจารณาก็จะต้องดำเนินการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้เจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เดิมได้เช่นเดียวกับเหตุตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 154 แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้นได้มีการยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท บ. เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการโอน โดยบริษัท บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวคืนแก่โจทก์แล้ว เช่นนี้โจทก์จึงยังคงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค่าชดเชยหลังฟื้นฟูกิจการ: ฟ้องใหม่เป็นคดีต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และได้เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้บริหารแผนแล้ว ต่อมาโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้าง โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชย จำเลยที่ 2 มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วยก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ และข้อต่อสู้หนี้ที่นำมาหักกลบลบไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในขณะเดียวกันโจทก์ก็เป็นลูกหนี้ของจำเลยตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหนี้ดังกล่าวต่างก็ถึงกำหนดชำระแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์นั้น ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันนั้นมาหักกลบลบกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบกันได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่ประการใด
หนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ที่นำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 344 หมายถึงหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบถึงความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด ซึ่งข้อความในเอกสารหมาย ล.7 หาได้มีข้อความตอนใดที่เป็นการปฏิเสธความรับผิด หรือโต้แย้งจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้มีข้อต่อสู้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ถูกผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์ก่อนฟื้นฟู
กฎหมายล้มละลายมีบทบัญญัติที่กำหนดสภาวะหยุดนิ่งหรือการพักชำระหนี้ (automatic stay) นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน และมีบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการขอรับชำระหนี้เพื่อให้ผู้ทำแผนทราบถึงจำนวนหนี้สินของลูกหนี้ที่จะต้องนำทรัพย์สินมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับแผนแล้วย่อมมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งไปเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลสั่งเห็นชอบแล้ว และสิทธิในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นี้ย่อมสิ้นไป สำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองในการห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายความรวมถึงการอายัดด้วย เพราะเมื่อมีการส่งทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง แม้คดีนี้จะเป็นการอายัดก่อนศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วยโดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ต้องผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์สินก่อนฟื้นฟู
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (7) ที่ใช้คำว่า "ยึด" ย่อมหมายถึงการอายัดด้วย การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงยื่นขอชำระหนี้ได้โดยชอบเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ทั้งนี้โดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป ผู้บริหารแผนชอบที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ผูกพันตามแผน, ห้ามยึดทรัพย์หลังศาลรับคำร้อง
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (7) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่กฎหมายได้กำหนดให้เกิดสภาวะหยุดนิ่งหรือพักการชำระหนี้ (automatic stay) ขึ้นนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามระบบที่กฎหมายกำหนดไว้ภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการ และให้เวลาแก่ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนสำรวจความบกพร่องของกิจการนำไปวางแผนปรับปรุงแก้ไขให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไปได้รวมทั้งลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน บทบัญญัติมาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นว่า มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทจะต้องเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เมื่อศาลสั่งเห็นชอบด้วยแผน สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในแผน สิทธิของเจ้าหนี้ในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ย่อมสิ้นไปสำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองในการห้ามมิให้ผู้คัดค้านยึดหรือขายทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว ก็เพื่อให้การชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามแผนนั้น แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายรวมถึงการอายัดด้วย เพราะการอายัดในการบังคับคดีเอง เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง ข้อเท็จจริงได้ความด้วยว่า มูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง vs. สิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: การยกข้อต่อสู้ได้แม้ไม่ได้จดทะเบียน
ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม หากผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แต่โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์มิใช่ผู้ที่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครอง แม้ผู้ร้องจะมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง vs. สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: การยกเว้นการยึดทรัพย์
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์มิใช่ผู้ที่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงมิใช่บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิยึดที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา
of 154