คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้จำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความและผลกระทบต่อสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้นอายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ"ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว. โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ช. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว. ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ช.ตามจำนวนที่ว. จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับชำระหนี้แทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สิน: ผู้ซื้อที่จดทะเบียนโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิมและเจ้าหนี้จำนอง
ทนายความชั้นสองย่อมมีสิทธิเรียงคำฟ้องฎีกาให้คู่ความได้ ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลหรือได้รับการแต่งตั้งมาจากศาลชั้นต้น มิต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508มาตรา 36
เดิมนาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อจำเลยจำนอง โจทก์ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ สิทธิในนาพิพาทของจำเลยจึงเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน เมื่อมีการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่แจ้ง แต่ ย.ซึ่งดูแลแทนจำเลยกลับแจ้งเป็นของตน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำนอง ม. ต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขาย ม. ม.ขายให้ผู้ร้องโดยมีรายการจดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เป็นลำดับ สิทธิในนาพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคท้าย เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่อาจอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของในนาพิพาทเพื่อใช้ยันผู้ร้องได้แล้วสิทธิจำนองของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไปในตัว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทซึ่งเป็นของผู้ร้องได้ต่อไป เพราะผู้ร้องได้สิทธิในนาพิพาททางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่มีขึ้นใหม่ภายหลัง โดยไม่ใช่เป็นการรับโอนจากจำเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำนองนาพิพาทแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยึดนาพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สิน: บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน ย่อมมีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิมและเจ้าหนี้จำนอง
ทนายความชั้นสองย่อมมีสิทธิเรียงคำฟ้องฎีกาให้คู่ความได้ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลหรือได้รับการแต่งตั้งมาจากศาลชั้นต้น มิต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 36
เดิมนาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อจำเลยจำนอง โจทก์ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ สิทธิในนาพิพาทของจำเลยจึงเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียนเมื่อมีการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่แจ้งแต่ย.ซึ่งดูแลแทนจำเลยกลับแจ้งเป็นของตน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำนองม. ต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขาย ม. ม. ขายให้ผู้ร้องโดยมีรายการจดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เป็นลำดับ สิทธิในนาพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคท้ายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่อาจอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของในนาพิพาทเพื่อใช้ยันผู้ร้องได้แล้วสิทธิจำนองของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไปในตัว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทซึ่งเป็นของผู้ร้องได้ต่อไป เพราะผู้ร้องได้สิทธิในนาพิพาททางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่มีขึ้นใหม่ภายหลัง โดยไม่ใช่เป็นการรับโอนจากจำเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำนองนาพิพาทแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยึดนาพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้ซื้อโดยสุจริตย่อมมีลำดับก่อนเจ้าหนี้จำนองเดิม แม้สิทธิเจ้าของเดิมยังมิได้จดทะเบียน
ทนายความชั้นสองย่อมมีสิทธิเรียงคำฟ้องฎีกาให้คู่ความได้. ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลหรือได้รับการแต่งตั้งมาจากศาลชั้นต้น มิต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508มาตรา 36.
เดิมนาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อจำเลยจำนอง. โจทก์ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่. สิทธิในนาพิพาทของจำเลยจึงเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน. เมื่อมีการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย จำเลยก็.ไม่แจ้ง. แต่ ย.ซึ่งดูแลแทนจำเลยกลับแจ้งเป็นของตน แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำนองม.. ต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขายม.. ม.ขายให้ผู้ร้องโดยมีรายการจดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เป็นลำดับ. สิทธิในนาพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว. จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคท้าย. เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่อาจอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของในนาพิพาทเพื่อใช้ยันผู้ร้องได้แล้ว.สิทธิจำนองของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทก็ย่อมเป็นอันหมดสิ้นไปในตัว. โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่นาพิพาทซึ่งเป็นของผู้ร้องได้ต่อไป. เพราะผู้ร้องได้สิทธิในนาพิพาททางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่มีขึ้นใหม่ภายหลัง. โดยไม่ใช่เป็นการรับโอนจากจำเลย. กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคท้าย. เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับจำนองนาพิพาทแล้ว. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิยึดนาพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิบุริมสิทธิที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้จำนอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกันเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษและตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนอง: บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้นอกเหนือจากจำนองได้
หนี้ที่มีจำนองเป็นประกัน เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนอง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้สามัญและเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดี การบังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้สามัญที่นำยึดทรัพย์ที่จำนองมาขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลได้ร้องต่อศาลขอให้หักเงินที่ขายได้ใช้หนี้จำนองก่อนและขายทอดตลาดไปโดยปลอดจำนอง ดังนี้ เมื่อหักใช้หนี้จำนองแล้ว ถือว่าหนี้จำนองได้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ซื้อทอดตลาดทรัพย์นั้นไปย่อมได้กรรมสิทธิโดยปลอดจำนอง
เจ้าหนี้จำนองแม้จะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าหนี้สามัญที่ขอให้ยึดทรัพย์จำนองมาขายทอดตลาด ก็ขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของตนก่อนได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองเมื่อมีการบังคับจำนองโดยเจ้าหนี้สามัญ: สิทธิในการรับชำระหนี้ก่อน
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองจะเป็นการขายโดยวิธีปลอดจำนอง แต่การบังคับจำนองดังกล่าวไม่เป็นการทำให้หนี้ของจำเลยที่มีอยู่ต่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้และผู้รับจำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๔ (๕) เนื่องจากคดีนี้ผู้ร้องมิได้เป็นผู้ฟ้องบังคับจำนองแก่ผู้จำนองตามมาตรา ๗๒๘ หรือเป็นการฟ้องบังคับจำนองแก่ผู้รับโอนทรัพย์ที่จำนองตามมาตรา ๗๓๕ และมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง คดีนี้โจทก์เป็นเจ้าหนี้สามัญฟ้องคดีแล้วไปยึดทรัพย์ที่ติดจำนองและนำไปขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองเท่านั้น เช่นนี้ ในระหว่างผู้ร้องและจำเลย ผู้ร้องจึงยังมีสิทธิตามสัญญาจำนองในฐานะผู้รับจำนองและเจ้าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยทำกับรับเงินไปจากผู้ร้องและยังไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับผู้ร้องจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์และเจ้าหนี้สามัญรายอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6274/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บุริมสิทธิค่าส่วนกลางและการยกอายุความของเจ้าหนี้จำนอง
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับจำนองแก่ห้องชุดเลขที่ 60/630 ซึ่งเป็นทรัพย์สินจำนองตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดดังกล่าวค้างจ่ายแก่ผู้ร้อง ซึ่งตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือห้องชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของจำเลย และเมื่อปรากฏว่าผู้จัดการผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว บุริมสิทธิของผู้ร้องจึงอยู่ในลำดับก่อนจำนองตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 (1) และ (2) และเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า หนี้ของผู้ร้องที่นำมาขอรับชำระหนี้นั้นขาดอายุความแล้วเพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจากทรัพย์สินจำนองก่อนโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ในทรัพย์สินจำนองนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15161/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในคดีล้มละลาย การหักส่วนได้จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปตามลำดับความอาวุโสของสิทธิ
คำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางขอหักส่วนได้ของตนในฐานะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเพื่อใช้แทนราคาซื้อจากการขายทอดตลาดนั้น ผู้ซื้อทรัพย์อ้างว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในเรื่องนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง กรณีจึงเป็นการยื่นคำร้องคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าคำร้องนี้อาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว การที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องได้ต้องให้คู่ความที่เกี่ยวข้องมีโอกาสคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยอนุญาตให้ผู้ซื้อทรัพย์หักส่วนได้ใช้แทนโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองคัดค้านก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล้มละลายกลางไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายในการพิจารณาคดีดังกล่าวอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
จำเลยและผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยไว้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึดทั้งหมด เพราะสิทธิจำนองครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 716 ส่วนผู้ซื้อทรัพย์ในฐานะผู้จำนองก็มีภาระหนี้จำนองที่จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่ผู้ร้องและจะขอกันส่วนในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังไม่ได้ชำระหนี้จำนองเสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องในการบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองทั้งหมดดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยึด ส่วนหากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์รายนี้พอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องแล้วมีเงินเหลืออยู่อีกก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการจ่ายคืนส่วนของผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในภายหลังต่อไป อันเป็นคนละเรื่องคนละส่วนกับเรื่องนี้ ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน
of 6