คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้มีประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้สามัญเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลพิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงความพลั้งเผลอ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันหลังแบ่งทรัพย์สิน - ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆแม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4)ดังนั้น เงินค่าขายทรัพย์ที่เหลือจากการหักชำระหนี้รายอื่นจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ การกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นจึงไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองรายนี้ตาม มาตรา 115.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4) ดังนั้นการที่ลูกหนี้จดทะเบียนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่จำนองเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้คัดค้านให้แก่ผู้อื่นไป และลูกหนี้นำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดไปชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้ การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบการกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น แม้จะกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนร้องขอให้ล้มละลาย ก็ไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิรับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ไม่ทำให้เจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ
ลูกหนี้กู้เงินจากผู้คัดค้านโดยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวม 2 โฉนด เป็นประกัน แต่สัญญาจำนองมีข้อความว่าลูกหนี้ตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้เงินกู้และหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของผู้จำนอง ทั้งมีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วย สัญญาจำนองจึงมีผลเป็นการประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกหนี้เป็นผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้วด้วยและถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้ดังกล่าวทั้งสองจำนวน เมื่อผู้คัดค้านนำเงินค่าขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งสองโฉนดมาหักหนี้เงินกู้แล้วคงเหลือเงินอีก 60,000 บาท ผู้คัดค้านย่อมนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้คัดค้านมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ จึงเพิกถอนการไถ่ถอนจำนองและการรับชำระหนี้ของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน: มาตรา 95 หรือ 96 และผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามกำหนด
ในการใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินใดอันเป็นหลักประกัน เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเพียงมาตราเดียว หากเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 แล้ว ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วก็ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อีกต่อไป
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 101 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่บุคคลอื่น ยังมิได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ผู้รับเงินผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลานั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าว
ฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน: สิทธิเหนือทรัพย์สิน VS. การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 หรือมาตรา 96 เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพียงมาตราเดียว หากเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 แล้ว ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 ผู้ร้องจดทะเบียนรับจำนองที่ดินจากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นหลักประกันในการที่ผู้ร้องรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน 12 ฉบับที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้อื่น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน 11 ฉบับ สำหรับที่ดินที่จำเลยไว้ อันเป็นการเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา96(3) แล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือที่ดินที่จำนองตามมาตรา 95 อีกต่อไป และเมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับที่ 12ภายในกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้นั้นอีกต่อไปพระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 101 ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันร่วมหรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่บุคคลอื่น มิได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ผู้รับเงิน ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลานั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันเลือกสิทธิได้ระหว่างใช้สิทธิจำนองหรือขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว และต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา
ในการใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินใดอันเป็นหลักประกันเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเพียงมาตราเดียวหากเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 แล้ว ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วก็ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อีกต่อไปพระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย มาตรา 101 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่บุคคลอื่น ยังมิได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ผู้รับเงินผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลานั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าว ฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเจ้าหนี้มีประกัน จำเป็นต้องบรรยายการสละหลักประกันเมื่อจำเลยล้มละลาย และการจำนำต้องมีการส่งมอบทรัพย์
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์ แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องล้มละลายต้องบรรยายองค์ประกอบเจ้าหนี้มีประกันครบถ้วน แม้จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลก็วินิจฉัยได้
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่าเมื่อจำเลยล้มละลายแล้ว โจทก์ยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ จำเลยกู้เงินโจทก์และทำหนังสือสัญญาจำนำจักรเย็บผ้าแก่โจทก์แต่มิได้มอบจักรเย็บผ้าให้โจทก์ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการจำนำตามป.พ.พ. มาตรา 747 โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน.
of 11