พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9671/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: โจทก์มีสิทธิฟ้องการทางพิเศษฯ แม้ผู้ว่าฯ เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
ประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษ จำเลยที่ 1 มีอำนาจซื้อจัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตดุสิตฯพ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโค่ลและสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา 4 บัญญัติให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางการพิเศษการเวนคืนที่ดินพิพาทจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทของโจทก์ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่จัดการวัสดุราชการ: ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืม เก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้น และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่าย การเก็บรักษาวัสดุแบบพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการ แม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชี ดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชี เมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอ ไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหาย แต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการ ไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่น การละเลยของจำเลยที่ 1และที่ 2 จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 ประจำห้องคลังวัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดห้องคลังวัสดุ และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืม จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: เจ้าหน้าที่, รัฐมนตรี, และการคำนวณค่าทดแทนเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น
ในขณะที่ทางราชการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวาแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531อีกต่อไป การที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน เป็นการกำหนดโดยตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการกำหนดในนามส่วนตัว ดังนั้นเมื่อขณะฟ้องคดีจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 3 เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืนและการคิดดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่แจ้งล่าช้า
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินของกลาง หากทรัพย์สินสูญหายแม้จะไม่มีความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โดยตรง
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรีส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรีส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1ดังนั้นแม้จำเลยที่2ที่3และที่4จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหายจำเลยที่1ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อเจ้าหน้าที่สิ้นสภาพการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร - ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ.
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่...พ.ศ.2530 ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 สิ้นสุดลงไปด้วย และราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่...พ.ศ.2530 ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 สิ้นสุดลงไปด้วย และราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเวนคืนที่ดินเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาและสถานะเจ้าหน้าที่
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่1กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานครตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่พ.ศ.2530ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่953/2534สิ้นสุดลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้วจึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5777/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เวนคืนเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกา และเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อขณะทำสัญญาดังกล่าวพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯซึ่งกำหนดให้จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนได้สิ้นผลบังคับแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวย่อมสิ้นผลไปด้วยสัญญาซื้อขายนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และความรับผิดของเจ้าหน้าที่/หน่วยงาน
ที่ดินโฉนดเลขที่38163เป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของที่ดินโฉนดเลขที่3151ของโจทก์ซึ่งต่อมาโจทก์ได้ขายไปเมื่อปี2528หลังจากที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนแล้วที่ดินโฉนดเลขที่38163ที่เหลือจากการเวนคืนอยู่นั้นย่อมจะมีราคาสูงขึ้นดังนั้นจำเลยที่2จึงมีสิทธินำราคาสูงขึ้นของที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินซึ่งจำเลยที่2จะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสอง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นับแต่วันที่27กุมภาพันธ์2534เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จยังไม่ถูกต้องโจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ซึ่งในมาตรา3กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2511กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาในฐานะดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แล้วแต่กรณีและที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานั้นก็เพราะการเวนคืนดังกล่าวอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่3ด้วยดังนั้นเมื่อมีการอ้างว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แล้วแต่กรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกและแจ้งความเท็จ: จำเลยเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยมิชอบ ยื่นคำขอครอบครองเท็จ ทำให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นที่เป็นของผู้เสียหายแต่อ้างว่าซื้อมาจากธ. ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเป็นการกล่าวอ้างลอยๆไม่มีพยานสนับสนุนและมิได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างจริงจังอันเป็นการผิดปกติวิสัยและที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยจึงเข้ายึดถือครอบครองทำนากุ้งนั้นก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ถึง247ไร่เศษมีราคาประเมินถึง14ล้านบาทถ้าเป็นราคาซื้อขายทั่วๆไปจะตกราคาไร่ละ2ล้านที่ดินพิพาทจึงมีราคาซื้อขายเกือบ500ล้านบาทอันมิใช่เล็กน้อยมีถนนสุขุมวิทเข้าสู่ที่ดินพิพาทมีรั้วลวดหนามล้อม3ด้านด้านติดทะเลมีเขื่อนคอนกรีตภายในมีสำนักงานและอาคารเก็บรักษาทรัพย์เจ้าของทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศให้สถานเอกอัครราชทูตของตนดูแลโดยสถานะของเจ้าของและสภาพของทรัพย์ดังกล่าวเพียงพอที่จะฟังได้ว่าผู้เสียหายยังครอบครองอยู่ไม่ได้ทิ้งร้างดังจำเลยอ้างพ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินและทรัพย์สินของผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินแต่จำเลยไม่ยอมกลับพาพวกใช้อาวุธปืนขู่เข็ญให้พ. ออกไปจากที่ดินต่อมาอ. นายอำเภอซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายให้จำเลยออกจำเลยไม่ยอมกลับอ้างสิทธิครอบครองเหตุดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาบังอาจของจำเลยได้เมื่อจำเลยกระทำไปโดยเจตนาก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา362และ364 การที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายยังครอบครองมิได้ทิ้งร้างแต่จำเลยยังขืนไปยื่นคำขอต่อทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367ผู้เสียหายคัดค้านไม่ยอมให้เข้าไปในที่ดินจึงไม่สามารถรังวัดตรวจสอบได้จำเลยได้ให้ถ้อยคำยืนยันตามคำขอซึ่งเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้บันทึกข้อความไว้ในบันทึกถ้อยคำ(ท.ด.16)อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีสาระสำคัญว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์มานานขอให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิได้มาโดยการครอบครองอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการที่จำเลยจะได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267