พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีผสมทุนทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินทุนทรัพย์และเจตนาการเช่าเริ่มต้นจากสัญญาจอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกันถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ4,000บาทหรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าห้องละ200บาทต่อเดือนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้นต้องพิจารณาว่าเกิน50,000บาทหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน28,320บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน51,600บาทจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน23,280บาทเท่านั้นดังนั้นคงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน สัญญาจองอาคารข้อ5ระบุว่าเมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปดังนี้เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วและนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จโจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันทีจำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันทีหากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ4ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใดเพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้เมื่อจำเลยให้ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า10ปีจนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20ปีการทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกันแต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้วจึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญอายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินและการเช่า: การกระทำของผู้เช่าบนที่ดินเช่าไม่เป็นการละเมิดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินส่วนอื่น
โจทก์เป็นผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าของจัดตั้งโรงเรียนและเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน แต่โรงเรียนและที่ดินที่ตั้งโรงเรียนเป็นของ ข. บิดาโจทก์ ต่อมา ข. แบ่งที่ดินออกเป็น 5 แปลง ยกให้ โจทก์ จำเลย บ. และ ป.คนละแปลง ส่วนที่เหลือเป็นของ ข. และ ข. ได้ให้จำเลยเช่าที่ดินส่วนของ ข.การที่จำเลยกั้นแนวรั้วในเขตที่ดินของจำเลยก็ดี การที่จำเลยขนสิ่งของไปไว้บนที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าจาก ข. ก็ดี เป็นสิทธิของจำเลยที่กระทำได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดิน ผู้มีสิทธิครอบครอง และผู้เช่า: การกระทำที่ไม่เป็นการละเมิด
ข.เป็นบิดาโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรียนและที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโดยโจทก์เป็นเพียงผู้มีสิทธิดำเนินกิจการโรงเรียนเท่านั้น แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็ตาม ก็เป็นการครอบครองแทน ข.เมื่อต่อมาภายหลังข.ได้แบ่งแยกที่ดินที่โรงเรียนตั้งอยู่ออกเป็น5 แปลง และยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกให้แก่บุตรทั้ง 4 คน รวมทั้งโจทก์และจำเลยคนละแปลง ส่วนที่เหลือเป็นของ ข. ซึ่งให้จำเลยเช่า จำเลยทำรั้วขึ้นในเขตพื้นที่ที่ดินของจำเลย ส่วนบริเวณที่จำเลยขนโต๊ะเก้าอี้และเครื่องเล่นเด็กสนามไปไว้เป็นบริเวณที่ดินของข.ซึ่งได้ให้จำเลยเช่าจำเลยย่อมมีสิทธิในที่ดินส่วนนี้ตามสัญญาเช่า เมื่อจำเลยไม่ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยและที่ดินส่วนที่จำเลยเช่าจากข. จำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำการใด ๆในที่ดินได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องดำเนินการทางศาลก่อนการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132-2135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียนตามกฎหมาย แม้จะมีการทำสัญญาและยื่นคำขอแล้ว
การอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์หรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่สำนวนถอนอุทธรณ์ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตได้ โจทก์ทั้งสี่ได้เช่าตึกแถวพิพาทจากพ. มีกำหนดครั้งละ10ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่พ. ให้โจทก์ทั้งสี่เช่าได้มีการก่อสร้างหรือต่อเติมตึกแถวพิพาทคงได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ทั้งสี่ให้เงินตอบแทนแก่พ. เพื่อขอทำสัญญาเช่าต่อจากสัญญาเดิมไปอีก10ปีโดยโจทก์แต่ละคนชำระเงินคนละ100,000บาทดังนั้นเงินที่โจทก์ทั้งสี่อ้างว่าให้แก่พ. จึงหาใช่เงินช่วยก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับพ. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ โจทก์ทั้งสี่กับพ. เพียงแต่ทำหนังสือสัญญาเช่ามีกำหนด10ปีโดยนำไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เนื่องจากส. ถึงแก่กรรมเสียก่อนการจดทะเบียนสิทธิการเช่ารายพิพาทนี้จึงยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ข้อตกลงเช่ากันใหม่อีก10ปีจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538โจทก์ทั้งสี่จะอ้างระยะเวลาเช่า10ปีมาใช้ยันแก่จำเลยหาได้เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นการเช่าธรรมดาอันมิใช่สัญญาต่างตอบแทนและสัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538โจทก์ทั้งสี่จะบังคับให้จำเลยในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของพ. จดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ทั้งสี่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการติดตั้งป้ายโฆษณาบนดาดฟ้าตึก ไม่ถือเป็นการละเมิดหากไม่มีเจตนาจงใจกลั่นแกล้ง
โจทก์เช่าดาดฟ้าตึกแถวติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ส่วนจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่อยู่ติดกันและได้ติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์ในตึกแถวที่เช่าได้จำเลยก็ย่อมติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของจำเลยได้เช่นกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาภายหลังโจทก์หรือไม่เพราะการติดตั้งป้ายโฆษณาทั้งของโจทก์และจำเลยต่างก็ติดตั้งบนดาดฟ้าของตึกแถวที่แต่ละฝ่ายเช่ามาทำประโยชน์ถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้ใช้ประโยชน์จากตึกแถวที่เช่าตามแดนแห่งสิทธิของสัญญาเช่าที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ตามกฎหมายเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยติดตั้งป้ายเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะปิดบังป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วยการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของเดิมกับผู้เช่า ไม่ผูกพันผู้ซื้อทรัพย์สิน
เดิมตึกแถวตามฟ้องเป็นของ ด. ด. ให้จำเลยเช่า ต่อมาด. โอนตึกแถวให้ อ. แล้ว อ. โอนขายให้โจทก์ แม้ ด. จะให้คำมั่นแก่จำเลยว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ด. จะให้จำเลยเช่าตึกแถวต่ออีก 3 ปีคำมั่นดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการให้เช่า/จำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาต และการมีวีดีโอเทปที่ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามกฎหมาย
จำเลยประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใดๆซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนดังบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530มาตรา6,34เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการที่จำเลยละเว้นไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนม้วนวีดีโอเทปหรือวัสดุโทรทัศน์จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดจึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง ความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530มาตรา10,36เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา6ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา6แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6278/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทรัพย์สินเช่าผิดวัตถุประสงค์และละเลยการดูแลรักษาทำให้เกิดเพลิงไหม้ ผู้เช่าต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ที่ดินและตึกแถวที่เกิดเพลิงไหม้เป็นของบิดาโจทก์ บิดาโจทก์ให้ ข. มีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต ข. ให้จำเลยเช่าเป็นเวลา7 ปี เมื่อบิดาโจทก์และ ข. ถึงแก่ความตายระหว่างสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดลง โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกที่ดินและตึกแถวดังกล่าว จึงรับโอนสิทธิหน้าที่ที่บิดาโจทก์ทั้งสองมีอยู่รวมถึงสิทธิที่ ข. ผู้มีสิทธิเก็บกินให้จำเลยเช่านี้ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาเช่าระบุวัตถุประสงค์การเช่าว่าเพื่อใช้ประกอบธุรกิจการค้า การที่จำเลยนำสินค้าของจำเลยซึ่งมีกล่องกระดาษบรรจุสินค้าและเศษกล่องกระดาษที่ใช้แล้วเก็บไว้ในตึกแถวพิพาทจำนวนมากเป็นการใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากการที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยไม่จัดให้มีเครื่องดับเพลิงและเวรยาม แม้ผลการสอบสวนไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลใดทำให้เกิดเพลิงไหม้ก็ตาม แต่เหตุเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ก็เพราะความผิดของจำเลยดังกล่าวมาแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 552 และมาตรา 562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่ากระทำผิดสัญญาและถูกริบทรัพย์
ผู้ร้องซื้อโต๊ะสนุกเกอร์ของกลางมาจาก ส. จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าโต๊ะสนุกเกอร์ของกลางจากผู้ร้อง สัญญาเช่าระบุห้ามนำไปใช้เล่นการพนันหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการพนัน ต่อมาผู้ร้องไปหาจำเลยที่ 1 จึงทราบว่าจำเลยทั้งสามถูกจับกุมข้อหาเล่นการพนันสนุกเกอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลมีคำสั่งริบโต๊ะสนุกเกอร์ของกลาง ดังนี้ โต๊ะสนุกเกอร์ของกลางเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้คืนโต๊ะสนุกเกอร์ของกลางแก่ผู้ร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้เช่าในการเข้ายึดคืนห้องเช่าเมื่อสัญญาครบกำหนดและผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา
หนังสือสัญญาเช่าห้องพักระหว่างบ.ผู้เช่ากับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าข้อ 3 ระบุว่า "ผู้เช่ายอมชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 30 ของเดือนทุก ๆ เดือน ถ้าไม่ชำระตามกำหนดนี้ ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ายึดเงินประกันของผู้เช่าได้และใส่กุญแจห้องผู้เช่าก็ได้ หรือผู้เช่ายินยอมอนุญาตให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องเช่าได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ" ข้อ 9 ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดล่วงละเมิดสัญญาแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด หรือกระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใด ยอมให้ผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเข้ายึดครอบครองสถานที่และสิ่งที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที" และข้อ 10 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าก็ดีหรือผู้เช่าผิดสัญญาเช่าก็ดี ผู้เช่ายอมให้ถือว่าผู้เช่ายอมออกจากที่เช่า" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาและจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าด้วยแล้ว บ.และผู้เสียหายซึ่งอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิ บ. ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในห้องพิพาทต่อไป เมื่อ บ. ไม่ยอมออกไปจากห้องพิพาทจำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าห้องพัก โดยเข้าไปในห้องพิพาทแล้วใช้คีมหนีบกุญแจลูกบิดประตู บานพับหน้าต่างถอดเอาสะพานไฟฟ้าและเครื่องรับโทรศัพท์ในห้องพิพาทออกไปจึงไม่มีมูลความผิดฐานบุกรุก