พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีเช่าซื้อ: ศาลพิจารณาจากมูลคดีและความเสียหาย มิใช่ผลประโยชน์โจทก์
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในครั้งแรก โจทย์ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาอีกฉบับหนึ่ง และศาลชั้นต้นได้ยกคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้นทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวฉบับที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสาม การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉินย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำขอตามมาตรา 254 ใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาอย่างวิธีธรรมดาซึ่งเป็นฉบับที่สองได้อีก แม้ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องฉบับที่สองนั้น โจทก์จะได้ยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินพร้อมกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเข้ามาอีก และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีผลเป็นการยกคำขอในเหตุฉุกเฉินและทำให้คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวที่ยื่นมาพร้อมกันนั้นตกไปด้วยเท่านั้น จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเช่นดียวกันนั้นอีก ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาซึ่งเป็นฉบับที่สองที่โจทก์ยื่นไว้ก่อนได้ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องคืนของกลางโดยไม่สุจริต แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ได้ ผู้ร้องก็ยังต้องการรถยนต์ ทำให้สิทธิในการเรียกร้องคืนเป็นโมฆะ
ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก เมื่อผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ผู้ร้องก็ปฏิเสธ แสดงเจตนาว่าผู้ร้องต้องการรถยนต์บรรทุกของกลาง ซึ่งมีราคามากกว่าที่ตนควรจะได้ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระเป็นเบี้ยปรับได้
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้เช่าซื้อส่งใช้มาแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่งหาได้มีบทบัญญัติให้เรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ยังค้างได้อีก ดังนั้น โจทก์จะเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อที่ยังค้างอยู่อีกไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วคู่สัญญาไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์คงเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น การที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้นั้น จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งมีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5138/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อที่มุ่งหวังผลประโยชน์จากการรับชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าการปฏิบัติตามสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อครบกำหนดแล้ว ผู้ร้องยังคงให้ผู้เช่าซื้อครอบครองใช้รถที่เช่าซื้อตลอดมาเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ โดยมิได้บอกเลิกสัญญา แต่ยังรับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ตลอดมา ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องยินยอมให้ผู้เช่าซื้อครอบครองใช้รถเพื่อให้ผู้ร้องยังคงได้รับชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างนั่นเอง ต่อเมื่อผู้ร้องทราบว่ารถที่เช่าซื้อถูกริบในคดีนี้จึงบอกเลิกสัญญาแก่ผู้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ร้องสามารถใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่ขาดประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อได้ แต่กลับมาใช้สิทธิในการเรียกร้องทรัพย์ที่ถูกริบในคดีในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์แทน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมุ่งประโยชน์จากการได้รับชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เช่าซื้อมากกว่าถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ให้เช่าซื้อ การร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องในคดีนี้จึงมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสียหายหลังส่งคืนทรัพย์สินไม่ขาดอายุความ 6 เดือน แต่มีอายุความ 10 ปี
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ยอมรับเงินแล้วมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์
ตามคำพิพากษาคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนจำเลย ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เมื่อโจทก์นำเงินไปวางศาลเพื่อเป็นการชำระราคาแทนพร้อมค่าเสียหายตามคำพิพากษา จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่รับเงินที่โจทก์วางเพื่อชำระราคาแทนได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ โดยกลับรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ เมื่อจำเลยยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ ประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมและคดีนี้จึงแตกต่างกันมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ ประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมและคดีนี้จึงแตกต่างกันมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ให้เช่าซื้อและการยินยอมให้ใช้รถแม้ผิดสัญญา ถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกริบไม่ว่าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดฝ่ายเดียวและยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาครบถ้วน เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น อีกทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามรถที่เช่าซื้อคืนแต่ประการใด ทั้งที่จำเลยก็มีภูมิลำเนาที่เดียวกับผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าไม่ได้ติดตามจำเลยเพราะไม่ทราบว่าจำเลยไปไหน เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ร้องยังคงให้จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางต่อไป โดยไม่ได้ติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืน จนกระทั่งจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีคำสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมาร้องขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกือบ 5 ปี นับแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินจากการเช่าซื้อ สิทธิยันจำเลยร่วมได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับโจทก์ ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนจากจำเลยร่วม หากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จสิ้น จำเลยร่วมยอมให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที และจำเลยร่วมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด โจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยร่วมครบถ้วนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2536 คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โดยผลแห่งข้อกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมตกเป็นของโจทก์ และเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1229 วรรคหนึ่ง ผลแห่งนิติกรรมดังกล่าวนี้แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็หามีผลทำให้นิติกรรม ตกเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ดังเช่นนิติกรรมซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือให้อสังหาริมทรัพย์ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง มาตรา 519 และมาตรา 525 บัญญัติไว้เป็นพิเศษไม่ เพียงแต่ทำให้ไม่บริบูรณ์ถึงขั้นเป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างคู่กรณีย่อมมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ทำให้โจทก์มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงใช้ยันจำเลยร่วมได้
ส่วนการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสียภายในสิบปีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือไม่ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังเช่นการบังคับคดีภายในสิบปี อันเป็นเหตุให้คดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ก็เป็นเพียงทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมหามีสิทธิใดในที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันโจทก์ได้ไม่ เมื่อได้ความว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 ซึ่งพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในคดีที่โจทก์ร้องขัดทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ได้นำครูและนักเรียนเข้าปรับปรุงถางหญ้าในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตลอดมาเพื่อสร้างอาคารเรียนในลักษณะแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา)
คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้น เพราะคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น ต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ส่วนในปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น แม้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่บนที่ดินพิพาท จนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 คดีโจทก์ในส่วนนี้เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่)
ส่วนการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสียภายในสิบปีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือไม่ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังเช่นการบังคับคดีภายในสิบปี อันเป็นเหตุให้คดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ก็เป็นเพียงทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมหามีสิทธิใดในที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันโจทก์ได้ไม่ เมื่อได้ความว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 ซึ่งพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในคดีที่โจทก์ร้องขัดทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ได้นำครูและนักเรียนเข้าปรับปรุงถางหญ้าในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตลอดมาเพื่อสร้างอาคารเรียนในลักษณะแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา)
คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้น เพราะคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น ต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ส่วนในปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น แม้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่บนที่ดินพิพาท จนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 คดีโจทก์ในส่วนนี้เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ สิทธิเหนือที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และอายุความคดี
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกเป็นของ ส. ผู้ซื้อฝากนับแต่โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาขายฝาก การที่ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยชอบ แต่การที่จำเลยร่วมฟ้องขับไล่โจทก์และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยชำระเงินค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์และเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งแม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียน ก็ไม่มีผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ เพียงแต่ทำให้ไม่บริบูรณ์ถึงขั้นเป็นทรัพยสิทธิ แต่ระหว่างคู่กรณีย่อมมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ทำให้โจทก์มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองใช้ยันจำเลยร่วมได้ และมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ด้วย เมื่อโจทก์ได้เข้าทำการปรับปรุงบริเวณที่ดินพิพาทตลอดมา เพื่อจะสร้างอาคารโรงเรียนขึ้นใหม่ในลักษณะแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของ การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม
คดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ต่างกับคดีนี้ที่โจทก์ตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินพิพาทแม้จำเลยร่วมมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินอยู่ แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ได้ใช้สิทธิดังกล่าวเข้าทำการปรับปรุงที่ดินโดยถางหญ้ากับทำความสะอาดภายในบริเวณที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารโรงเรียนขึ้นใหม่เป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปสร้างโรงเรือนลักษณะเป็นเพิงชั้นเดียวฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ต่างกับคดีนี้ที่โจทก์ตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินพิพาทแม้จำเลยร่วมมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินอยู่ แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ได้ใช้สิทธิดังกล่าวเข้าทำการปรับปรุงที่ดินโดยถางหญ้ากับทำความสะอาดภายในบริเวณที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารโรงเรียนขึ้นใหม่เป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปสร้างโรงเรือนลักษณะเป็นเพิงชั้นเดียวฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์ในคดีเช่าซื้อ การยึดรถถือเป็นการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาโจทก์จึงยึดรถคืนและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสองมีไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้น คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพียงใด ส่วนในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การถึง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืน เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ติดต่อกันเกินกว่า 2 งวด ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความรับกันแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อเท็จจริงใหม่ว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์ยึดรถที่ให้เช่าซื้อคืนถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออย่างหนึ่ง โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญา เป็นหนังสือแต่อย่างใด
การที่โจทก์ยึดรถที่ให้เช่าซื้อคืนถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออย่างหนึ่ง โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญา เป็นหนังสือแต่อย่างใด