พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพิเศษนอกสัญญาเช่าซื้อ, การเปลี่ยนแปลงสัญญา, อายุความค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากโจทก์จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าขณะทำสัญญาเช่าซื้อกันได้มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษด้วยว่า หากจำเลยไม่ได้ดำเนินกิจการบรรทุกน้ำมัน โจทก์รับรถคืนพร้อมกับริบเงินที่จำเลยชำระในงวดแรกโดยไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ เจตนาของคู่กรณีไม่ได้ถือสัญญาเช่าซื้อเป็นสำคัญ เช่นนี้เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
จำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกบางส่วนในวันทำสัญญา แล้วผิดสัญญาไม่ได้ชำระอีกเลย โจทก์บอกเลิกสัญญา จำเลยต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ยอมให้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโดยอาศัยค่าเช่าที่โจทก์อาจนำทรัพย์ที่เช่าซื้อไปให้เช่าเป็นเกณฑ์คำนวณมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ใช่ 5 ปี ตามมาตรา 165
จำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกบางส่วนในวันทำสัญญา แล้วผิดสัญญาไม่ได้ชำระอีกเลย โจทก์บอกเลิกสัญญา จำเลยต้องชดใช้ค่าที่โจทก์ยอมให้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อในระหว่างที่ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโดยอาศัยค่าเช่าที่โจทก์อาจนำทรัพย์ที่เช่าซื้อไปให้เช่าเป็นเกณฑ์คำนวณมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ใช่ 5 ปี ตามมาตรา 165
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และสิทธิในการโอนสิทธิเช่าโดยมีค่าธรรมเนียม
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่าหรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์ (ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนหรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่าดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และการโอนสิทธิการเช่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่า หรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์(ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน.หรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่า ดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเสนอและสนองที่นำไปสู่การซื้อขายเนื้อที่น้อยลง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ผลของการเสนอและสนองที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลง เนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว. ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่. ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่า จะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา 400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก 1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลย ทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลง เนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว. ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่. ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่า จะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา 400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก 1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลย ทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญาและการพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำกันในศาลมีใจความสำคัญว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยรับจะส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 3 เกวียน หากผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ก็ให้ที่พิพาทกลับเป็นของโจทก์ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ดังกล่าวนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติได้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจ จึงอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งข้าวเปลือกให้ไม่ครบ จำเลยต่อสู้ว่าได้ตกลงกับโจทก์ใหม่และปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่จำเลยต่อสู้จริง จำเลยก็มิใช่ฝ่ายผิดสัญญากรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จะพิพากษาให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงสัญญา ก่อให้เกิดความผูกพันตามจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก 150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้พิพากษาตามยอมแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสัญญาใหม่นอกศาล
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมใช้หนี้ให้โจทก์และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ภายหลังจำเลยจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมกันใหม่นอกศาลโดยโจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ซึ่งโจทก์ปฏิเสธ เพื่อเป็นเหตุมิให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 417/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาขัดกฎหมาย
สัญญาเช่าซื้อกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ผู้เช่าซื้อซึ่งทำสัญญาในนามตนเองจะนำสืบพยานบุคคลว่า ทำสัญญาในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัดมิได้ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลผูกพัน สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่
ถ้าฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยเช่าซื้อเครื่องยนต์ดิสเตอร์กับเครื่องสีข้าวเบอร์ 2 จากโจทก์โดยทำหนังสือสัญญาไว้.และต่อมาจำเลยเอาเครื่องยนต์กับเครื่องสีข้าวดังกล่าวมาเปลี่ยนเอาเครื่องยนต์รัสตันกับเครื่องสีข้าวครึ่งท่อนไปแทน. โดยจำเลยยอมให้โจทก์บันทึกการแลกเปลี่ยนนี้ไว้ในสัญญาเดิม. ดังนี้ สัญญาฉบับนี้ก็คือสัญญาเช่าซื้อเครื่องยนต์รัสตันและเครื่องสีข้าวครึ่งท่อนนั่นเอง. ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเครื่องยนต์รัสตันกับเครื่องสีข้าวครึ่งท่อนคืนตามสัญญาฉบับนี้ได้.