พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นและที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน ความรับผิดของกรรมการบริษัท และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ถึงที่4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่1เพื่อช่วยให้จำเลยที่1ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์แม้จำเลยทั้งสี่ต่างเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของตนและสัญญาโอนหุ้นและที่ดินเป็นคนละฉบับก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้นถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา59วรรคหนึ่ง แม้คดีจะอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งโดยศาลแพ่งไม่เคยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้แต่ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีนี้ทั้งรับคำให้การจำเลยและสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5) เมื่อจำเลยที่1ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากโจทก์และไม่ชำระภายในกำหนดถือว่าเป็นภาษีอากรค้างแม้จำเลยที่1จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินต่อศาลก็ตามการอุทธรณ์และการฟ้องก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดจึงตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ของโจทก์ตามจำนวนที่แจ้งการประเมินไปเมื่อจำเลยที่1ได้โอนหุ้นและที่ดินไปหลังจากได้รับแจ้งการประเมินแล้วโดยไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเหลือพอจะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำนิติกรรมโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบและการที่จำเลยทั้งสี่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันทั้งยังเป็นบริษัทในเครือเดียวกันย่อมจะต้องรู้ถึงการทำนิติกรรมอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบด้วย โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมมีอธิบดีเป็นผู้แทนและมีอำนาจฟ้องคดีแทนแม้นาย ส. และนาย พ. เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องก่อนฟ้องเกิน1ปีแต่บุคคลทั้งสองก็ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดีจึงยังไม่เริ่มนับอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินระหว่างการล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เหนือการโอนสินสมรสหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาระหว่างสมรสของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ จึงเป็นสินสมรส การที่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วย เมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่แก่ผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 นิติกรรมการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้จึงฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 หรือไม่เพราะศาลมิได้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองติดตามทรัพย์สิน แม้มีการเปลี่ยนตัวผู้จำนอง และการเพิกถอนการโอนไม่กระทบสิทธิผู้รับจำนองสุจริต
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 1และที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่ 3 เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 3 นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่ง แล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ในวันเดียวกัน มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนอง สิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้ว ทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่ 3 หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใด ฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองโดยสุจริต แม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116
การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้น ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริตและดอกเบี้ย
เดิมลูกหนี้กู้เงินผู้คัดค้านที่3แล้วจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันต่อมาลูกหนี้ขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่1และที่2โดยผู้คัดค้านที่1และที่2กู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระนำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่ผู้คัดค้านที่3เพื่อ ไถ่ถอนจำนองและ โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้แก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะ เพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็น บุคคลภายนอกอันได้มาโดย สุจริตและมี ค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา116 การ เพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาถือไม่ได้ว่ามีการ ผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ เพิกถอนการโอนอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อล้มละลาย แม้ผู้ซื้อสุจริต แต่รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ การคิดดอกเบี้ยเริ่มเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ติดจำนองอยู่แก่ผู้คัดค้านที่3ผู้คัดค้านที่1และที่2ซื้อทรัพย์พิพาทจากลูกหนี้โดยกู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านที่3นำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้ได้นำเงินไปไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองจากลูกหนี้มาเป็นผู้คัดค้านที่1และที่2ซึ่งแม้จะไม่เปลี่ยนตัวผู้จำนองสิทธิจำนองก็ย่อมติดไปกับตัวทรัพย์พิพาทอยู่แล้วทั้งจำนวนเงินจำนองที่เปลี่ยนไปก็ลดลงจากเดิมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเพิ่มขึ้นแก่ผู้คัดค้านที่3หรือทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้เสียหายแต่อย่างใดฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังคงถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเท่านั้นปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังการขอให้ล้มละลาย สิทธิผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดอกเบี้ยผิดนัด
ผู้คัดค้านที่3และที่4ซึ่งรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากผู้คัดค้านที่1จะอ้างว่าได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนต่อเมื่อได้รับโอนมาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา116เมื่อรับโอนมาภายหลังมีการขอให้จำเลยล้มละลายแล้วไม่ว่าผู้คัดค้านที่3และที่4จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของจำเลยย่อมเป็นผลให้ทรัพย์สินดังกล่าวเฉพาะส่วนของจำเลยกลับคืนเป็นของจำเลยทันทีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่1ที่3และที่4ต้องชดใช้ราคาแทนในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนหากทรัพย์สินนั้นไม่สามารถโอนกลับคืนมาได้และหากไม่ชำระราคาต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในราคาที่ต้องใช้แทนนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินค่าขายหากรับโอนไม่สุจริต และไม่ชอบที่จะเรียกค่าทนาย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่2เข้าว่าความด้วยตนเองโดยมิได้แต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนซึ่งไม่ต้องเสียค่าจ้างทนายความจึงไม่ชอบที่จะกำหนดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าทนายความแทนผู้ร้อง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114ผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวคืนแก่จำเลยที่2เมื่อผู้คัดค้านไม่อาจโอนคืนได้เพราะได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วในราคา1,900,000บาทผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2เต็มจำนวนเพราะผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตไม่ชอบที่จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการล้มละลาย กรณีผู้รับโอนไม่สุจริต และการชดใช้ราคาแทน
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114จำเลยผู้ล้มละลายและผู้คัดค้านกลับคืนสู่ฐานะเดิมผู้คัดค้านต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยแต่เนื่องจากผู้คัดค้านไม่อาจคืนที่ดินให้แก่จำเลยได้เพราะผู้คัดค้านได้ขายให้แก่บุคคลภายนอกผู้สุจริตไปแล้วผู้คัดค้านก็ต้องคืนเงินที่ขายได้ให้แก่จำเลยโดยเต็มจำนวนเพราะเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริตอันฝ่าฝืนต่อมาตรา114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จะนำเงินที่ผู้คัดค้านไถ่ถอนจำนองที่ดินก่อนขายให้แก่บุคคลภายนอกมาหักออกจากเงินที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ราคาแทนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าในคดีล้มละลาย และการชดใช้เงินแทนเมื่อไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
การสั่งเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 114 ถ้าปรากฏว่าไม่อาจบังคับให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ศาลก็กำหนดให้ชดใช้เงินแทนได้ การโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านได้กระทำในระหว่างที่สิทธิการเช่าตามสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด ยังมีประโยชน์และสามารถตีราคาได้เป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนไปย่อมเป็นการรับโอนทรัพย์สินจากจำเลย และ ย่อมได้รับประโยชน์ตลอดเวลาแห่งสิทธิการเช่าดังกล่าวซึ่ง คำนวณราคาเป็นเงินได้ การเพิกถอนการโอนในส่วนดังกล่าวนี้ จึงยังอาจบังคับได้โดยให้ผู้คัดค้านชดใช้เงินแทนตามราคาที่ คำนวณได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าหลังล้มละลาย ศาลสั่งชดใช้เงินแทนได้หากไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิม
การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนด้วยเหตุที่โดยสภาพแล้วมิอาจให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นผู้เช่าดังเดิมได้นั้น เป็นการสั่งเพิกถอนการโอนแล้วแต่เนื่องจากสภาพที่ไม่อาจบังคับให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ประจักษ์แน่ชัดแล้วจึงกำหนดสภาพการบังคับเป็นให้ชดใช้เงินแทนตามผลแห่งสภาพความจริงที่ปรากฏเป็นประจักษ์นั้นได้ในรูปคำสั่งเดียว การโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยและผู้คัดค้านได้กระทำในระหว่างที่สิทธิการเช่าตามสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดยังมีประโยชน์และสามารถตีราคาได้เป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนไป ย่อมเป็นการรับโอนทรัพย์สินจากจำเลย และย่อมได้รับประโยชน์ตลอดเวลาแห่งสิทธิการเช่าดังกล่าว ซึ่งคำนวณราคาเป็นเงินได้ การเพิกถอนการโอนในส่วนดังกล่าวนี้ จึงอาจบังคับได้โดยให้ผู้คัดค้านชดใช้เงินแทนตามราคาที่คำนวณได้