คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกเฉย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกาและการทิ้งฟ้อง: ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ชำระค่าขึ้นศาลถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นคนละฉบับกัน เป็นคดีสาขาคนละคดี แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน และผู้ร้องทั้งสองยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาในฎีกาฉบับเดียวกัน ผู้ร้องทั้งสองก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นรายคดีไป เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้ผู้ร้องทั้งสองทราบแล้ว แต่ผู้ร้องทั้งสองไม่ชำระ กรณีถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันพิพากษา แม้ฝ่ายหนึ่งเพิกเฉย
แม้จะเป็นกรณีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งโจทก์ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกา: หน้าที่นำส่งสำเนาฎีกาและการเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฎีกา
จำเลยมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีนับแต่วันที่ถือว่าทราบคำสั่งถึงวันที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาศาลฎีกาเป็นเวลาถึง 24 วัน ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีและการประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยาน
ศาลอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปครั้งหนึ่ง โดยกำชับจำเลย ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมเพื่อให้สืบทั้งหมดในวันนัด หากพยานฝ่ายใดไม่มาศาลจะถือว่าฝ่ายนั้นไม่ติดใจสืบพยาน เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าจำเลยติดธุระจำเป็นที่กรุงเทพมหานครอันเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยทั้งไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอัน ไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของ ศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก พฤติการณ์ของจำเลย ดังกล่าวส่อแสดงว่า จำเลยเพิกเฉยไม่สนใจในการดำเนินคดีของตน เป็นการประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และงดสืบพยาน จำเลยเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทิ้งฟ้อง: เพิกเฉยคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้จำหน่ายคดีได้ แม้ใช้คำสั่งคลาดเคลื่อน
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์โดยให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มโดยให้คำนวณทุนทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายในกำหนด20 วัน ผู้ร้องทราบคำสั่งโดยชอบแล้วไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ และจำหน่ายคดีของผู้ร้อง คำสั่งดังกล่าวหาใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสุดท้าย เนื่องจากมิใช่คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1) ผู้ร้องต้องทำคำคัดค้านโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (2) เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลที่ต้องเสียเพิ่มมาชำระภายในเวลาที่ศาลกำหนด ถือว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา174 (2)
แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นใช้คำว่า "สั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์" รวมอยู่ในคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องด้วย แต่ก็ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความไว้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้ถ้อยคำคลาดเคลื่อน ซึ่งมีผลเป็นว่าให้จำหน่ายคดีด้วยเหตุที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการวางเงินประกันความเสียหาย ส่งผลให้ศาลจำหน่ายคดีได้
ชั้นร้องขัดทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลเพื่อประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด เมื่อถึงกำหนด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายเวลาการวางเงินประกันดังกล่าว และไม่นำเงินมาวางศาลตามคำสั่ง เช่นนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาการวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามคำขอยกคำร้อง และสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความโดยเห็นว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลที่สั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อประกันความเสียหายภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่งนั้น เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288(1) แล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องรอไว้สั่งเมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งที่สั่งยกคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาการวางเงินเสียก่อนเพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามไว้
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี แต่กลับอุทธรณ์ขอขยายระยะเวลาการวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ดังนั้นการที่จะสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาให้หรือไม่ย่อมไม่มีผลแต่อย่างใดเนื่องจากศาลสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลให้วางเงินประกันความเสียหาย และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดี
ชั้นร้องขัดทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลเพื่อประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด เมื่อถึงกำหนด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายเวลาการวางเงินประกันดังกล่าว และไม่นำเงินมาวางศาลตามคำสั่ง เช่นนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาการวางเงินเพื่อประกันความเสียหายตามคำขอยกคำร้อง และสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความโดยเห็นว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลที่สั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อประกันความเสียหายภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่งนั้น เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288(1) แล้ว ศาลชั้นต้นไม่จำต้องรอไว้สั่งเมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งที่สั่งยกคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาการวางเงินเสียก่อนเพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามไว้ ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี แต่กลับอุทธรณ์ขอขยายระยะเวลาการวางเงินเพื่อประกันความเสียหาย ดังนั้นการที่จะสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาให้หรือไม่ย่อมไม่มีผลแต่อย่างใดเนื่องจากศาลสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิเรียกคืนภาษีอากร: ศาลฎีกาวินิจฉัยการเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่รัฐและการมีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 18 มาตรา 19(1) กำหนดเวลาไว้เฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป โดยมิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใด หรือกรณีที่จะไม่ให้คืนจะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบในเวลาเท่าใด ในกรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณาตามการที่ควรจะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดา คือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ในเวลาอันควร โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากโจทก์ยื่นคำร้องของคืนถึง 6 ปีเศษและเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยก็ยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยบ่ายเบี่ยงไปทำเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ และการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล ทำให้คำสั่งศาลเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ว่าคดีโจทก์ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอุทธรณ์ ไม่อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์อย่างคนอนาถา ถ้าโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ให้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในกำหนด ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอ้างว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วจึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 มิใช่การอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือเป็นการเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) และคำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์แล้วสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์ไม่ได้นำส่งเองโดยเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการในการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานเดินหมายเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล เมื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยไม่ได้ โจทก์ก็มิได้แถลงต่อศาลภายในกำหนดจนเจ้าหน้าที่ทำรายงานเสนอศาลเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง ๒๔ วันแล้ว ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงให้ดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายในเวลาที่ศาลกำหนดโดยโจทก์ทราบคำสั่งโดยชอบแล้วเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
กำหนดเวลาที่ให้โจทก์แถลงเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน ๗ วัน นั้น ศาลให้นับตั้งแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้หาใช่นับตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ และเมื่อศาลกำหนดให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคอยติดตามทราบผลการส่งหมายจากเจ้าหน้าที่ศาลเอง เจ้าหน้าที่ศาลหามีหน้าที่ต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบก่อนไม่.(ที่มาส่งเสริม)
of 8