พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: ผลของคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดและการพิจารณาพฤติการณ์จำเลย
คดีอาญาเรื่องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2542 ให้จำคุกจำเลย 1 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 11 สิงหาคม 2543 ในระหว่างยื่นฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งและส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 ในขณะนั้นยังไม่แน่นอนว่าศาลอุทธรณ์จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยหรือไม่และหากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา และรับฎีกาจำเลยไว้พิจารณาแล้วคดีก็อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังไม่ถึงที่สุด เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ในระหว่างที่คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ซึ่งจะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่ากำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้นผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการ ลงโทษไว้ จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษเมื่อจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา มาตรา 92 ต้องมี 'วันพ้นโทษ' จากการรับโทษจำคุกจริง ไม่นับรวมระยะรอการลงโทษ
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ต้องกำหนดโทษจำคุกก่อน หากลงโทษปรับสถานเดียวแล้วไม่อาจเพิ่มโทษได้
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมผลิตยาเสพติดและการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ
พ.ศ. 2539 มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ ทำให้ไม่ได้รับการล้างมลทิน และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้
การที่จำเลยกระทำผิดอาญาคดีนี้ขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ กฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 93ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ มาตรา 58 และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้น ย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยได้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7684/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง หากยังไม่เคยได้รับโทษจริง แม้จะเคยรอการลงโทษ ก็ไม่สามารถเพิ่มโทษได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกจำเลย 6 เดือนและปรับ5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาท้ายฎีกาจำเลยเมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกจึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปีกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจึงเพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกอาศัยการกระทำผิดซ้ำใน 5 ปี ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง ไม่ใช่โทษที่รอการลงโทษ
ในคดีก่อนที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นในคดีนั้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปี มากระทำความผิดคดีนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายอาญามิได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.ยาเสพติด การพิจารณาความสมดุลของโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและศาลได้นำคำให้การรับสารภาพดังกล่าวมาใช้ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามป.อ.มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตาม ป.อ.มาตรา 54
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามป.อ.มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตาม ป.อ.มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากคำให้การรับสารภาพและการปรับแก้การเพิ่มโทษตามกฎหมายยาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและศาลได้นำคำให้การรับสารภาพดังกล่าวมาใช้ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54