คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเรื่องดอกเบี้ย
อุทธรณ์ที่ว่าเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเนื่องจากจำเลยประสบปัญหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตราคาสูงและขาดแคลน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงจำเป็นต้องยุบแผนกที่โจทก์ทั้งหกทำงานอยู่ โดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทุกคน จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโดยกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การเลิกจ้างของจำเลยจึงมีเหตุอันควร ไม่ใช่เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง อุทธรณ์ที่ว่าการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่าจำเลยไม่ได้ยุบแผนกแปรรูปโลหะ 2 อย่างจริงจังและการที่ศาลแรงงานกลางแปลความหมายคำให้การพยานจำเลยผิดไปจากข้อเท็จจริง เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการชั่งน้ำหนักคำพยาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ค่าชดเชยนั้น ต้องจ่ายทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัด ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นแม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง แต่สินจ้างส่วนดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ขณะเลิกจ้างโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าได้ปิดประกาศให้โจทก์ทุกคนไปรับก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นจากความรับผิดที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างมิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นโดยตรง และศาลมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีกและศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจศาลเช่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม และแม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย นั่นเอง มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติ ที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ในทางพิจารณา ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดี ใน กรณี นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้า ศาลแรงงาน เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มี อำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจ ศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็น ประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงาน ใช้อำนาจตาม มาตรา49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจ ไว้ เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้ อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็น กรณี ที่ โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ได้ ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ ศาลแรงงาน พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มี กฎหมาย ห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์ เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลา ที่ ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลย กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ ทำงานให้จำเลยก็ตามพระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับ ให้ นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อ ศาลแรงงาน พิพากษา ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว กรณีจำเลยลดค่าจ้าง และศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็น เกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การงดสืบพยานโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบไม่ใช่ประเด็นหลัก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหาย/ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อมีการกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อันพึงต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 หมายความว่าได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีก ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้น โจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป ทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32 (3) และข้อ 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อศาลสั่งกลับเข้าทำงาน
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์วันละ 70 บาท นับแต่วันเลิกจ้างจนถึง วันรับโจทก์กลับเข้าทำงาน การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว เป็นเรื่องค่าเสียหายทั่วไป หาใช่เป็นการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ อันพึงต้องอยู่บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45หมายความว่า ได้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีสภาพการจ้างอยู่ต่อไปอีกลูกจ้างจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างได้ แต่กรณีศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมนั้นโจทก์กับนายจ้างกลับมีสภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปทั้งนายจ้างก็ยังมีสิทธิกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์หยุดได้ตามข้อ 10 โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 32(3) และข้อ 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท
การเลิกจ้างอาจเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 และอาจเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งไล่โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิดการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เป็นการละเมิดและเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นคดีที่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 หาใช่เป็นเรื่องตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาก่อนก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากเหตุเล่นการพนันในที่ทำงาน และประเด็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน
ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างระบุว่า การเล่นการพนันทุกประเภทในสถานที่ทำการที่บริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงานและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ถึงจำคุก ถือว่ากระทำผิดวินัย ซึ่งเท่ากับเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างและประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเองเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเล่นการพนันในสถานที่หรือบริเวณที่ทำการของจำเลยนอกเวลาปฏิบัติงาน จนถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับ จำเลยย่อมลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานได้ กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นการเคร่งครัดตายตัวว่า หากคู่ความฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการยื่นและการรับฟังพยานหลักฐานแล้วศาลต้องปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นเสมอไป หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเป็นพยานสำคัญในคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ในการสืบพยานจำเลย จำเลยอ้างส่งเอกสารโดยมิได้นำส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้จำเลยส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ภายในสามวันคำสั่งศาลแรงงานกลางชอบแล้วและศาลรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้
of 7