คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกบริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
นายทะเบียนบริษัทขีดชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเสียจากทะเบียน และออกแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่โฆษณาแจ้งความดังกล่าว ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1246 (5) ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมาย ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานถึงเหตุที่จะให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1246(6) บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกลับคืนขึ้นทะเบียนได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลประกอบการค้า, การถือหุ้น, และผลขาดทุน
การที่บริษัทจำกัดทำผิดวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ใช่เหตุที่จะปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ที่จะให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้ และแม้บริษัทจะเริ่มประกอบการค้าเกิน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทก็ตามแต่มาตรา 1237 มิได้เป็นบทบังคับให้ศาลสั่งเลิกบริษัท เพียงแต่บัญยัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าสมควรสั่งให้เลิกบริษัทหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นชำระให้บริษัทจำเลยด้วยเงินสดและเช็คส่วนใหญ่ โจทก์ที่ 8ซึ่งเป็นกรรมการรักษาเงินเป็นคนเก็บรักษาและไม่ยอมมอบให้บริษัทจำเลยดังนั้น ที่บริษัทจำเลยไม่เริ่มทำการค้าภายใน 1 ปี อาจเป็นเพราะบริษัทจำเลยไม่มีทุนดำเนินการค้า จึงยังไม่สมควรที่จะสั่งเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลต่างหากจากผู้ก่อตั้ง สัญญาประนีประนอมผูกพันเฉพาะคู่สัญญา
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2 กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่ง เพื่อประกอบกิจการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2 ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้หลังชำระบัญชีเลิกบริษัท และอำนาจทนายความในการดำเนินคดี
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินดคีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วัน บริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้าม ไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวง ราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้น การตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือ ลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, อำนาจทนาย, และการตีราคาไม้ของกลาง
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้
กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วันบริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้ามไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวงราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้นการตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ทนายความยังคงมีอำนาจดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนอำนาจ
ป.พ.พ. มาตรา 1249 มีความหมายว่าแม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นทนายของบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ยังมีสิทธิดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 มีความหมายว่า แม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ในระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี. ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แล้วต่อมาจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามยอมโดยหาได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่ามีเหตุที่จะเลิกบริษัทดังฟ้องไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194, 1236 (4) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 อยู่ด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีปลดเปลื้องความเสียหายโดยขอให้ศาลแสดงว่าคำพิพากษาตามยอมในคดีนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ในอันที่จะให้บริษัทจำเลยที่ 1 คงมีอยู่ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องปลดเปลื้องความเสียหาย
จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แล้วต่อมาจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามยอมโดยหาได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่ามีเหตุที่จะเลิกบริษัทดังฟ้องไม่ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194,1236(4) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 อยู่ด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีปลดเปลื้องความเสียหาย โดยขอให้ศาลแสดงว่าคำพิพากษาตามยอมในคดีนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1ในอันที่จะให้บริษัทจำเลยที่ 1 คงมีอยู่ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฎีกาของกรรมการบริษัทหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีเท่านั้นที่มีอำนาจ และต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลา
เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งผู้อื่นเป็นผู้ขำระบัญชีแล้ว อำนาจของกรรมการบริษัทย่อมหมดไป กรรมการของบริษัท 2 นายซึ่งมิใช่ผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจลงชื่อในฟ้องฎีกาแทนบริษัทจำเลยที่ได้เลิกไปก่อนวันยื่นฎีกานั้นได้และผู้ชำระบัญชีจะให้สัตยาบันแก่ฎีกานั้นภายหลังที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วไม่ได้ ตามนัยแห่งฎีกาที่ 425/2503
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26-27/2504
of 6