พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่แจ้งเขตที่ดินตามกฎหมาย ทำให้ต้องใช้หลักเกณฑ์ค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2530 ซึ่งหลังจากที่ พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวพ้นกำหนดอายุใช้บังคับแล้วได้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2535 เท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม จึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: คำวินิจฉัยเมื่อรัฐมนตรีไม่พิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรี เมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ 2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วันนับแต่วนที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งจะครบ 1 ปี ในวันที่ 7 กันยายน2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 เกินกว่า1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วแม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟ้องขึ้นก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาแก้ไขค่าทดแทนได้ และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนพ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วยดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา 27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรมและยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำเลยเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณีดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยแล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วันดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรม และดอกเบี้ยเงินค่าทดแทน
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบ-ศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 หมดอายุวันที่ 16 มิถุนายน 2535 ส่วน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ...พ.ศ. 2535 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2535 มีระยะห่างกันเพียง 2 เดือน และกำหนดเขตที่จะทำการสำรวจเพื่อเวนคืนและท้องที่ที่จะเวนคืนเป็นเขตและท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2530 สิ้นอายุแล้วที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีสภาพเปลี่ยนแปลงอย่างไร และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 เคยสำรวจที่ดินโจทก์และทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนแน่นอนแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการสำรวจหรือกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินโจทก์ดังกล่าวขึ้นใหม่
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขาย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืน จึงต้องบังคับตามว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในย่านที่เจริญแล้ว แม้การเวนคืนที่ดินจะมีเหตุและวัตถุประสงค์เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคของรัฐก็ตามแต่รัฐก็เก็บเงินค่าตอบแทนจากการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย เมื่อศาลฎีกาคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นว่าที่จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้
เมื่อฝ่ายจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าทดแทนที่ดินให้หมดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ดังนั้น วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตาม มาตรา26 วรรคสาม คือ วันที่ 15 เมษายน 2536
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขาย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืน จึงต้องบังคับตามว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในย่านที่เจริญแล้ว แม้การเวนคืนที่ดินจะมีเหตุและวัตถุประสงค์เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคของรัฐก็ตามแต่รัฐก็เก็บเงินค่าตอบแทนจากการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย เมื่อศาลฎีกาคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นว่าที่จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้
เมื่อฝ่ายจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าทดแทนที่ดินให้หมดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ดังนั้น วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตาม มาตรา26 วรรคสาม คือ วันที่ 15 เมษายน 2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับหลังซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากฉบับก่อนสิ้นผลบังคับ 2 เดือน โดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ตามที่เคยสำรวจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับก่อนที่หมดอายุแล้วโดยไม่ได้ทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฉบับใหม่แต่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับและกำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพที่ดินของโจทก์เปลี่ยนแปลงอย่างไร จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่มีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) สภาพและที่ตั้งของที่ดินโจทก์อยู่ติดถนนซอยเทียมร่วมมิตรห่างจากที่ดินที่โจทก์นำสืบเปรียบเทียบซึ่งอยู่ติดถนนซอยยอดสุวรรณประมาณ 100 เมตรไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่ามีความเจริญต่างกันอย่างไรและที่ดินที่โจทก์นำมาเปรียบเทียบขายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบราคากันได้ ที่ดินโจทก์สามารถเข้าออกถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9และถนนรัชดาภิเษกได้แสดงว่าอยู่ในย่านที่เจริญแล้วแม้กิจการที่จะเวนคืนมาสร้างเป็นกิจการเพื่อสาธารณูปการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจร แต่ก็เก็บค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยสมควรกำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้เพิ่มอีก จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ย เงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาซื้อขายเมื่อมีการต่ออายุ พ.ร.ฎ. และการกำหนดราคาค่าทดแทน
เมื่อมีประกาศใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขาพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน2530 เป็นต้นไปมีกำหนด 5 ปี กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.อยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองได้ทำการสำรวจที่ดินโฉนดเลขที่ 1948 ของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืนและได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้น คณะกรรมการฯ ได้วางหลักเกณฑ์การคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนโดยมีมติให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2535 ในการคิดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้ทำการสำรวจที่ดินของโจทก์แล้ว ซึ่งเป็นการสำรวจก่อนที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 จะสิ้นอายุในวันที่ 16 มิถุนายน 2535 ต่อมาเมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางซื่อ ฯลฯพ.ศ.2535 กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ดังกล่าวภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.อยู่ในเขตที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ.ฉบับก่อน ซึ่งเหตุผลในการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 ก็เนื่องจากการเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 ยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535จึงเป็น พ.ร.ฎ.ที่ออกต่อเนื่องในกิจการเดียวกัน ทั้งนี้เมื่อไม่มีการกำหนดแนวเวนคืนเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงแนวเวนคืนเดิม จึงไม่มีเหตุจำเป็นอย่างใดที่จำเลยที่ 2 จะต้องดำเนินการสำรวจที่ดินของโจทก์ใหม่อีก เพราะจำเลยที่ 2ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยตามอำนาจหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้นแล้ว นอกจากนั้นในการคิดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ซึ่งคณะกรรมการได้ถือเอาราคาตามบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ.2535 มาเป็นราคาเบื้องต้นที่กำหนดสำหรับที่ดินของโจทก์ และจำเลยทั้งสองกำหนดให้ใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2535 อันเป็นราคาประเมินที่สูงกว่า และจำเลยทั้งสองเห็นว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์แล้ว สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในเขตที่จะเวนคืน จึงชอบด้วยกฎหมายเพราะหลังจากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนมาดังกล่าวแล้วสัญญาซื้อขายนั้นก็ได้กระทำในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 ใช้บังคับโดยจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน มีอำนาจทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวกับโจทก์ได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ซึ่งถ้าโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรม ก็ยังมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดวิธีแก้ไขให้โจทก์ขอความเป็นธรรมต่อไปได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และถ้ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยในกำหนดเวลา โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และ 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี 2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้วคงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319 ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ.2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออก พ.ร.ฎ.ประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ก็หมายถึงวันที่ออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ.2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออก พ.ร.ฎ.ประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ก็หมายถึงวันที่ออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่กำหนดค่าทดแทน: โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ที่ดินพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นของโจทก์ทั้งสองเมื่อกรมทางหลวงจำเลยเวนคืนเอาที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปขยายเป็นเขตทางหลวงและมิได้กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสเรียกค่าทดแทนตามขั้นตอนของกฎหมายได้โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากที่ดินพิพาทถูกเวนคืนจากจำเลยได้ การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้ จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด พ.ศ. 2530 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยทั้งสามต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตาม พรบ.เวนคืน และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่2โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ส่วนจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่2ดังนั้นจำเลยที่2จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การดำเนินการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216เรื่องปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมข้อ19ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216อีกหลายฉบับต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่2ไว้ในมาตรา19จำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฎิบัติงานของทางการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายรวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืนอันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่2เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530มีราคาตารางวาเท่าใดศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็นโดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง5ประการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21 ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามมาตรา10วรรคสองและมาตรา11วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่30ตุลาคม2532นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่1จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่27กุมภาพันธ์2533อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้นต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำของโจทก์