คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคำนวณค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารซึ่งเป็นรถมีขนาดใหญ่ถอยหลังคนที่อยู่ด้านหลังรถดังกล่าวมีโอกาสที่จะถูกรถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนได้ง่าย จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารถอยหลังชนและทับผู้ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบริเวณข้างหลังให้ปลอดภัยเสียก่อนดังนี้เหตุรถโดยสารชนและทับผู้ตายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 ทำศพผู้ตายทั้งประเพณีไทยและจีนเนื่องจากผู้ตายเป็นคนเชื้อชาติจีน สิ้นค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 76,692 บาท เนื่องจากผู้ตายมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดบัญชีค่าโดยสาร ได้รับเงินเดือน 8,317.75 บาท ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพจำนวนดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของผู้ตายแล้ว ที่ศาลล่าง-ทั้งสองกำหนดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเป็นเงินจำนวน 68,185 บาท จึงเป็นการสมควร
ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง นั้น โจทก์ที่ 1 มีอายุ 47 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 50 ปี ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่โจทก์ที่ 1 เรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นระยะเวลาที่สมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรมีอายุเกิน 20 ปีเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะแล้ว และค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายหาได้มีความหมายรวมไปถึงการขาดไร้อุปการะตามหน้าที่ศีลธรรมไม่ อีกทั้งในข้อที่บิดาจำต้องให้อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมายนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 และที่ 4 มิใช่ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ โจทก์ที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 แม้ว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็จะได้รับค่าอุปการะเท่าที่อยู่ในข่ายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม บัญญัติไว้กล่าวคือเท่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเว้นแต่จะเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 เป็นผู้ทุพพลภาพ โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8แต่ละคนจึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายนับแต่วันเกิดเหตุไปจนกระทั่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันเป็นบุคคลที่พ้นจากภาวะผู้เยาว์และเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ หาใช่แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะไปจนถึง 10 ปี นับจากวันเกิดเหตุไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งแปดนั้นศาลได้กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เป็นหนี้เงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระทันที จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของบุคคลผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถา ซึ่งค่าฤชา-ธรรมเนียมที่ผู้ฟ้องหรือต่อสู้ความอย่างคนอนาถานั้นได้ยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ซึ่งจะต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะส่วนที่โจทก์ทั้งแปดชนะคดีได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
หนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาและศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีขาดไร้อุปการะที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี ศาลมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดก
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิต: ศาลจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการเสียชีวิตจากการทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา 23 นาฬิกา โดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบิน และกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตาย ผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัว การที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา6 นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไป เนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้น ย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษา ซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลม ผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้าง ซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้น เห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย"ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากงานพิเศษ: ความรับผิดของนายจ้างต่อการเสียชีวิตจากการทำงานนอกเวลางานปกติ
ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งผู้ตายต้องทำงานทั้งวันตลอดระยะเวลาการเดินทางเฉพาะอย่างยิ่งในวันเดินทางที่เครื่องบินออกเดินทางเวลา 23 นาฬิกา โดยก่อนหน้านั้นผู้ตายต้องช่วยดูแลลูกค้าของนายจ้างเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบินและกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวหากผู้ตายไม่ต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสย่อมเป็นเวลานอกเวลาทำงานและเป็นเวลาพักผ่อนของผู้ตาย ผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ดีและไม่มีโรคประจำตัว การที่ผู้ตายเข้าห้องน้ำเมื่อเวลา 6 นาฬิกาของวันเดินทางถัดมาและเป็นลมหมดสติไป เนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้ตายเหนื่อยจากการที่ต้องทำงานและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งเมื่อผู้ตายเป็นลมหมดสติไปในขณะที่เครื่องบินยังบินอยู่นั้น ย่อมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะส่งตัวผู้ตายไปถึงโรงพยาบาลและแพทย์ได้ตรวจรักษา ซึ่งถ้าได้ส่งตัวผู้ตายให้แพทย์ตรวจรักษาในทันทีหรือระยะเวลาอันสั้นหลังจากผู้ตายเป็นลม ผู้ตายก็ไม่น่าถึงแก่ความตายพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ใช่การทำงานตามเวลาปกติของลูกจ้างเพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ผู้ตายต้องเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งถ้าผู้ตายทำงานตามปกติอยู่ในประเทศไทยเหตุการณ์ดังกล่าวคงไม่เกิดขึ้น เห็นได้โดยชัดเจนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างจึงเป็นการประสบอันตรายในความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264, 265, 268 วรรคสอง, 341 เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จำคุก 6 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219
จำเลยที่ 2 และผู้เสียหายทราบแล้วว่า ย.ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 2 ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของ ย.ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ ส. กรอกข้อความ ส.กรอกข้อความว่า ย.มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำโดยพลการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหาย แม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย.ก็ตาม แต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตาย การมอบอำนาจก็สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความ การกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเอกสารมอบอำนาจหลังผู้มอบอำนาจเสียชีวิต และเจตนาในการใช้เอกสารนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264,265,268วรรคสอง,341เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุก2ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคสองประกอบมาตรา83จำคุก6เดือนคดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219 จำเลยที่2และผู้เสียหายทราบแล้วว่าย. ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่2ยังนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังมิได้กรอกข้อความคงมีแต่ลายพิมพ์นิ้วมือของย. ในช่องผู้มอบอำนาจเรียบร้อยแล้วมาบอกให้ส. กรอกข้อความส. กรอกข้อความว่าย. มอบอำนาจให้จำเลยที่1ขายที่ดินแทนการกระทำของจำเลยที่2เป็นการกระทำโดยพลการเพื่อให้จำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ในการทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้เสียหายแม้เป็นการกระทำที่ตรงกับความประสงค์ของย. ก็ตามแต่การมอบอำนาจยังไม่สมบูรณ์เมื่อผู้มอบอำนาจถึงแก่ความตายการมอบอำนาจก็สิ้นผลแต่จำเลยที่2กลับทำให้การมอบอำนาจซึ่งยังมิได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ดูเสมือนเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ด้วยการกรอกข้อความการกระทำดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะไม่เสียหายแต่ก็อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนดังนี้การกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังคู่สัญญาเสียชีวิต และสิทธิของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทและตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ.กับจำเลยระบุว่าคู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่19สิงหาคม2535เมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตามแต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ. กับจำเลยกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่19สิงหาคม2535พ. ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจากพ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยแต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับพ. ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ยักยอกให้กองมรดก แม้เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว จำเลยต้องโอนทรัพย์หรือชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า "ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ" นั้น หมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดก หากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคา หาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องโอนที่ดินยักยอกคืนกองมรดก หากไม่สามารถโอนได้จึงต้องใช้ราคา แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า"ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน4,974,987.50บาทแก่เจ้าของ"นั้นหมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคาหาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้วและจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นกรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
of 28