คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสมควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ.อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่นแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดี หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้าย ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ. อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่น แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยส่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้ายข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามออกนอกราชอาณาจักรผู้ต้องหายักยอกทรัพย์-ส่งผู้ร้ายข้ามแดน: อำนาจตามกฎหมายและเหตุสมควร
ผู้ต้องหาถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. เฉพาะที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 2 คดี มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,000ล้านบาท และมีการขยายผลเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาอีกหลายคดี รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นเหตุให้ธนาคาร ก.ต้องปิดกิจการลงในที่สุดกรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของสถาบันการเงินอื่นและระบบเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดเหตุแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาเพื่อนำมาชดเชยความเสียหาย ปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่ติดตามอายัดได้เป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจทดแทนความเสียหายที่ผู้ต้องหากับพวกก่อให้เกิดขึ้นได้ผู้ต้องหาเป็นน้องภริยาของ ร.ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.และ ร.ได้หลบหนีคดีไปอยู่ที่ประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรอาจเป็นช่องทางให้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีเช่นเดียวกับ ร.ญาติของผู้ต้องหาได้ผู้ต้องหาอ้างเหตุในคำร้องที่ขออนุญาตออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปเป็นพยานให้ ร.ต่อศาลสูงแห่งมลรัฐบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ในคดีที่ ร.ถูกฟ้องในข้อหาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งทางการไทยได้ขอตัว ร.มาดำเนินคดีในประเทศไทย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรตามคำร้องของผู้ต้องหาได้
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ต้องพิจารณาเหตุสมควรที่คู่ความมาศาลไม่ได้ และการขาดนัดจงใจไม่อนุญาต
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209วรรคหนึ่ง ต้องพิจารณาเป็นลำดับขั้นตอน คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207 และ 208 หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ศาลต้องพิจารณาเหตุจงใจขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การพิจารณาคำขอดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเป็นลำดับ คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207และ 208 หรือไม่ แล้วพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ ตามมาตรา 209 วรรคหนึ่ง การที่คู่ความจงใจขาดนัดก็เป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเองเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้และยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญาหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ป.วิ.อ.มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญา แม้พ้นกำหนด หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอกส.และพันตำรวจตรีป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียง ผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป. เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่ กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถาม ค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้ อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวและเหตุสมควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินยังเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกว่า โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนภายหลังจากจำเลยทั้งสองผิดนัดหรือไม่เพียงใดดังนั้นในชั้นนี้หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินจึงยังไม่เป็นหนี้ที่สามารถกำหนด จำนวนที่แน่นอนได้ โจทก์จะนำมารวมเป็นหนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 รับราชการเป็นอาจารย์ระดับ 7 มีเงินเดือน ๆ ละ 14,070 บาทและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินราคาประมาณ 1,300,000 บาท แม้จะติดจำนองสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 800,000 บาท แต่ราคาที่ดินก็ยังสูงกว่าหนี้จำนองที่มีอยู่ ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อโจทก์เพียง 200,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ในคดีเดิมที่โจทก์จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เพียง 337,500 บาท และดอกเบี้ยตามกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 692 ราคาทั้งแปลง 12,000,000 บาทและโจทก์รับโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะเบิกความว่าจำเลยที่ 1จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่โจทก์เป็นเงินอีก 700,000 บาท แต่มูลค่าของราคาที่ดินที่โจทก์ได้รับเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยในจำนวนที่สูงกว่าหนี้เดิมมากอันเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว นับได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้ตามมาตรา 88 วรรคสี่ หากมีเหตุสมควร
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว. เป็นกรรมการคนที่ 4 และพ. เป็นกรรมการคนที่ 5 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือบ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มีพ.และว. กรรมการของโจทก์ 2 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าพ.และว.มอบอำนาจให้แก่อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่าพ.และว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ ให้อ. ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และว. ไม่ใช่โจทก์และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537ในวันที่ 14 กันยายน 2537 โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนาย ไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งใช้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อน ศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชี ระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน 2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้า จากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนดและพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญ แห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบและศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
of 25