คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้รับการยอมรับ
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรง โจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แก่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์จึงนำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่พ้นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวของอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันพ้นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรงโจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แต่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์นำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวเหตุอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้
หมายเหตุ ในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้แก่คู่ความได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534(ประชุมใหญ่) ระหว่าง นายสนิท วัฒนากรในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจรูญวัฒนากร โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาไว้ล่วงหน้าวันก่อนครบกำหนดอุทธรณ์และเพิ่งมาทราบผลคำพิพากษาโดยย่อหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 1 เดือน ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่อ้างเพื่อขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้เท่านั้น แต่มิใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่สามารถมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แม้ฎีกาของจำเลยจะเป็นสาระแก่คดีแต่ก็ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง และเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่ ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย
การที่บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของ จำเลยที่ 2 ที่ไม่รับประกันความเสียหายของสินค้าที่ส่งข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่งไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีบริษัทมหาชนดำเนินการตามมติที่ประชุม และเกิดเหตุสุดวิสัยในการค้นหาสำนวน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 20 วัน เนื่องจากที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่กระชั้นชิดไม่สามารถทำอุทธรณ์ได้ทัน นับว่ามีเหตุอันสมควรและเป็นพฤติการณ์พิเศษเพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) การดำเนินการใด ๆในเรื่องสำคัญย่อมต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งอาจไม่คล่องตัวหรือต้องล่าช้าไปบ้าง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับแรกก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2 วัน และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่สองโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนหาสำนวนไม่พบ โจทก์จึงยังไม่ทราบคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและยังมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์เอาใจใส่และติดตามคดีของตนตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลเพราะหาสำนวนไม่พบ โจทก์ก็ดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่งทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความเจ็บป่วยของทนายความมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจำเลยสามารถดำเนินการได้เอง
คำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายถึง เหตุซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ แม้ทนายจำเลยที่ 1 เจ็บป่วยกะทันหัน แต่ยังมีจำเลยที่ 1 ที่สามารถยื่นคำร้อง ขอขยายระยะเวลาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขยายเวลายื่นอุทธรณ์: อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ไม่ใช่เหตุจำเป็นที่คาดไม่ถึง
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะต้องยื่น ก่อนสิ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัย การที่รถจักรยานยนต์ที่จำเลยนั่งมาประสบอุบัติเหตุ จนไม่สามารถไปพบทนายความคนใหม่ได้และไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นเวลาราชการในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายหลังที่สิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยกับการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การจัดการระมัดระวังและการพิสูจน์เหตุจำเป็น
จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2544 จำเลยจึงมีเวลาถึง 16 วัน ที่จะติดต่อกับทนายความเพื่อทำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลก่อนครบกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยติดตามหาทนายความของจำเลยไม่พบ จำเลยก็ควรติดต่อทนายความคนใหม่เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อทนายความคนใหม่จะได้มีเวลายื่นอุทธรณ์ได้ทันภายในกำหนด การที่จำเลยเพิ่งจะไปติดต่อทนายความคนใหม่เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544 อันเป็นวันสุดท้ายของกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้จัดการระมัดระวังตามสมควรเช่นบุคคลซึ่งอยู่ในฐานะและสภาวะเช่นนั้นพึงกระทำเพื่อป้องกันมิให้จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนด การที่รถจักรยานยนต์ที่จำเลยนั่งมาประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถไปพบกับทนายความคนใหม่ และไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นเวลาราชการในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ได้ จึงไม่ถือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยอันเป็นเหตุให้จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายหลังที่สิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปแล้วได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยไม่ยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 , 119 มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัย และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190-2193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างงานตามสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา และเหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่เข้าหลักเกณฑ์
การจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง นอกจากเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วยังต้องเป็นงานโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างและนายจ้างต้องเลิกจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย จำเลยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นปกติ จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานก่อสร้างอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยและจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ตามระยะเวลาการจ้างที่กำหนด กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสุดท้าย ที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118และมาตรา 119 ไม่มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ก็มิได้มีข้อยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีเลิกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเรื่องการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 52