คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุเลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานและไม่เชื่อฟังคำสั่ง แม้จำเลยมิได้ระบุวันเดือนปีที่ชัดเจน ศาลพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงจำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเดิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์นั้นได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างข้อ 2 ว่า ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา จำเลยให้การไว้ในข้อ 3 ว่า จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง กล่าวคือ โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกัน เป็นเวลาหลายครั้ง ศ.ผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้งแล้ว แต่โจทก์ไม่นำพาและให้การไว้ในข้อ 4 ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2536 เป็นเพราะโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา โจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลานั้น เหตุที่จำเลยให้การว่าโจทก์ขาดงานก่อนวันที่ 1ถึงวันที่ 4 กันยายน 2536 นั้นเป็นการให้การถึงที่มาว่าโจทก์เคยขาดงานมาแล้ว และผู้บังคับบัญชาได้เรียกโจทก์มาตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์ไม่นำพา ดังนี้ คำให้การจำเลยอ้างเหตุโจทก์ขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่แจ้งลารวมอยู่ด้วยแล้วและไม่ขัดต่อเหตุเลิกจ้างจึงก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่า โจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่10 กันยายน 2536 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา ฯลฯ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมตามคำให้การจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แม้จำเลยจะมิได้ระบุวันเดียวปีที่อ้างว่าโจทก์ขาดงานเกิน 3 วันโดยไม่แจ้งลา แต่ก็เป็นการให้การแก้คดีที่สืบเนื่องมาจากคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์หยุดงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่4 กันยายน 2536 กับที่ศาลแรงงานหยิบยกประเด็นเรื่องใบลาเป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่เป็นข้อวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่ชัดเจน, เลิกจ้างโดยชอบธรรมตามสัญญา, เหตุเลิกจ้างต้องระบุในหนังสือเลิกจ้าง
ฟ้องแย้งของจำเลยบรรยายเพียงว่า ผู้ที่สั่งจองห้องพักของจำเลยไว้ ได้ยกเลิกการจองห้องพักในภายหลังเพราะไม่พอใจการกระทำของโจทก์ ค่าห้องพักที่ถูกยกเลิกการสั่งจองคิดเป็นเงินจำนวน 10,936,655.50 บาทโดยไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้เข้าใจได้ว่า ผู้จองห้องพักและได้ยกเลิกการสั่งจองในภายหลังนั้น ได้จองห้องพักเมื่อใด จองห้องพักจำนวนมากน้อยและมีกำหนดระยะเวลาที่จองนานเท่าใด กับได้ยกเลิกการสั่งจองห้องพักเมื่อใด เป็นฟ้องแย้งที่ไม่แจ้งชัดซี่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น เป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุม
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่าจำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา3 ปี โดยจำเลยหรือโจทก์ต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา3 ปีดังกล่าวได้ การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
จำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือเงินจำนวนใด ๆ ให้โจทก์ดังคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองเพียงใดหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ ซึ่งตามหนังสือเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยไม่ได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างว่าเพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือหนังสือเลิกจ้างซึ่งจำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การทะเลาะวิวาทนอกเวลางาน ไม่ถึงเหตุเลิกจ้าง
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทะเลาะวิวาทตบตีกับพนักงานด้วยกันตรงประตูทางเข้าออกโรงงานนอกบริเวณโรงงานเมื่อเวลา 17.02 นาฬิกาซึ่งเป็นเวลานอกเหนือจากเวลาทำงานตามปกติ ดังนี้ แม้การกระทำของผู้คัดค้านจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตาม แต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประกาศดูหมิ่นนายจ้าง – การกระทำที่เป็นเหตุให้เลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับ
การที่ผู้คัดค้านได้ร่วมกันเขียนประกาศที่มีข้อความดูหมิ่นเสียดสีและเหยียดหยามผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างและผู้บังคับบัญชาไปปิดไว้ที่บอร์ดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ย่อมทำให้พนักงานของผู้ร้องขาดความยำเกรง เป็นการส่งเสริมและยังยุให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้ร้องทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้ร้องกับพนักงาน อันจะส่งผลเสียหายต่อผู้ร้องและพนักงาน เมื่อผู้ร้องสั่งให้เอาออก ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และไม่เกรงกลัวความผิดที่ตนได้กระทำจงใจให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่ามีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาจากค่าจ้างสุดท้าย และการยกเหตุเลิกจ้างนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทำไม่ได้
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นั้น ให้ถือค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็ต้องถือตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับในระยะเวลาที่นายจ้างเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุที่โจทก์ยักยอกเงินของจำเลยขึ้นอ้างในคำสั่งเลิกจ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไป จึงเป็นเหตุหรือข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุถูกแจ้งความลักทรัพย์ ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและเงินสมทบ
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากบริษัทลูกค้าจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ชั้นจับกุมโจทก์ทั้งสามให้การรับสารภาพย่อมทำให้จำเลยระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสามจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่าร่วมกันลักทรัพย์พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งเงินสมทบเงินสะสม เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลยอ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาในคำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้างโจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง หากไม่ตรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เหตุที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างโจทก์ปรากฏ ตามคำสั่งของโจทก์เรื่องเลิกจ้างพนักงานแล้ว การที่จำเลย อ้างเหตุต่าง ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างนั้นมาใน คำให้การ จึงมิใช่เหตุที่จำเลยจะนำมาใช้อ้างในการเลิกจ้าง โจทก์ได้ ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็น สาระแก่คดี ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อเหตุที่ จำเลยอ้างในคำสั่งเลิกจ้างนั้น มิใช่เหตุที่จำเลยจะ เลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องใช้เหตุเลิกจ้างตามที่ระบุในคำสั่งเท่านั้น และค่าน้ำมันรถถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นเงินจำนวนแน่นอนมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ชอบที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.
of 9