คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับข้อเท็จจริงดอกเบี้ยค้างชำระตามคำฟ้อง ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องเอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 541,563.65 บาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าว ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จำนวน 541,563.65 บาท โดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยไม่ชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลไม่ถือเป็นเอกสารตามกฎหมายอาญา
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการเท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข อันเป็น หลักฐานแห่งความหมายนั้น จึงไม่เป็นเอกสารตามมาตรา 1 (7) แห่ง ป.อ. แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไปตามฟ้องก็หาเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพิมพ์เช็คยังไม่กรอก ไม่ถือเป็นเอกสารทางอาญา มาตรา 188 จึงไม่ผิดฐานเอาเอกสารไป
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการเท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจึงไม่เป็นเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไป ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การไม่เก็บรักษาเอกสารและนำภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องมาหักลดหย่อน ทำให้ต้องเสียเบี้ยปรับ
การที่โจทก์ไม่เก็บรักษาเอกสารใบกำกับภาษีซื้อไว้เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ต้องเสียเบี้ยปรับร้อยละสองของจำนวนภาษีที่นำมาเครดิตตามมาตรา 89(9) และการที่โจทก์ไม่สามารถนำหลักฐานใบกำกับภาษีซื้อหรือใบแทนใบกำกับภาษีซื้อมาแสดงให้เห็นว่ามีการชำระภาษีซื้อ ซึ่งต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/5(1) แต่โจทก์นำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไปตามมาตรา 89(4) ด้วย เพราะเป็นความผิดที่แยกจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารผู้อื่นไป การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตรเอ.ที.เอ็ม.เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตาม ป.อ. มาตรา 188ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารของผู้อื่นไป การแยกความผิดหลายกรรม และเจตนาในการกระทำผิด
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: การยื่นเอกสารหลังวันนัดสืบพยาน และการรับฟังเอกสารที่อยู่ในครอบครองบุคคลภายนอก
บทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีมโนสาเร่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้ โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหา และนัดสืบพยานในวันเดียวกันจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานและสืบพยานจำเลยพร้อมทั้งอ้างส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 ในวันดังกล่าวได้จำเลยไม่อาจส่งสำเนาเอกสารตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาพยานหลักฐาน การรับฟังเอกสารที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยนอกประเด็น
ปัญหาเกี่ยวกับการพิจารณาพยานหลักฐานของศาลว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246
ตามบัญชีระบุพยานโจทก์ระบุว่า ต้นฉบับเอกสารหมาย จ.9 อยู่ที่ธนาคาร ก. การที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับ มาได้โดยประการอื่น ทั้งจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นจึงรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลแสดงความเป็นมาของที่ดินเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อในโฉนดที่พิพาทแทนโจทก์เท่านั้น และการนำสืบเช่นนี้ยังเป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวแทนอีกส่วนหนึ่งด้วยซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการส่งเอกสารตรวจลายมือชื่อ: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมของพยานหลักฐาน
การที่ศาลชั้นต้นจะส่งหนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้หรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยที่นำสืบมาเพียงพอที่จะ วินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องส่งหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้อีก คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว มิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
of 57