พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารหลักฐานในคำฟ้องและการมีอำนาจฟ้องของนิติบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แม้โจทก์จะแนบเอกสารท้ายฟ้องอันแสดงถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบสำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลอื่นอันเป็นเรื่องที่โจทก์แนบมาผิดพลาดการแนบเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเพื่อให้ชัดเจนถึงฐานะของโจทก์ ไม่ใช่หลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ทั้งจำเลยก็เคยเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์มาก่อนและยังให้การยอมรับเช่นนั้น ย่อมเป็นการยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ฉบับที่ถูกต้องภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาแต่ต้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายและโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหักลดหย่อน และการเครดิตภาษี: การพิจารณาเอกสารหลักฐาน และรอบระยะเวลาบัญชี
ในการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินไม่ยอมรับพิจารณาเอกสารบางฉบับที่โจทก์ส่งเนื่องจากไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบภาษีของโจทก์ และใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพิจารณาประกอบการประเมินภาษีของโจทก์ ย่อมมีสิทธิทำได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร บัญชีกระแสรายวันที่เสียดอกเบี้ยซึ่งเบิกเกินบัญชีใช้ชื่อเจ้าของบัญชีว่า พ. หาได้ใช้ชื่อห้างโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีไม่ทั้งโจทก์มิได้แสดงรายการเสียดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ในงบกำไรขาดทุนของโจทก์ จึงถือได้ว่า การเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวเป็นการกระทำของ พ. ในฐานะส่วนตัว ดอกเบี้ยที่เสียไปดังกล่าวไม่อาจนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้เพราะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 ที่โจทก์อ้างว่าชำระเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ไม่อาจนำมาเครดิตภาษีกับภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ที่ถูกประเมินในคดีนี้ เพราะเป็นการเครดิตภาษีต่างรอบระยะเวลาบัญชีกัน เป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 69 ทวิ และโจทก์ไม่อาจขอหักกลบลบหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์สำหรับการประเมินภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2526 แต่ประการใดทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบภาษีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวหรือไม่ผลเป็นประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัย กรณีเอกสารหลักฐานอยู่ที่บุคคลอื่น
โจทก์ให้การในชั้นตรวจสอบไต่สวนต่อเจ้าพนักงานประเมินรับรองว่าจะนำหลักฐานการขายรถยนต์ของตัวแทนโจทก์มามอบให้เจ้าพนักงานประเมินจนครบถ้วนแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำรับรองดังนี้ คำรับรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และจะนำประมวลรัษฎากรมาตรา 21 มาใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินได้
บัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการจากโจทก์นั้น ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเป็นบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้จัดทำและเก็บรักษา และเอกสารดังกล่าวไม่มีที่โจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารดังกล่าวตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน
คำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทโจทก์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ แต่เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมรับโดยมิได้ท้วงติงและรับวินิจฉัยให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นโดยมิได้โต้แย้งจึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน คำอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เสียไป จำเลยจะอ้างว่าคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไม่ชอบและถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดว่าในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ใบทะเบียนจะต้องมีข้อความตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มิใช่เป็นแบบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกระทำในนามนิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำในนามบริษัทโจทก์ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินไม่ครบถ้วนก็หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115ไม่ เมื่อบริษัทโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว คำอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เสียไป
บัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการจากโจทก์นั้น ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเป็นบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้จัดทำและเก็บรักษา และเอกสารดังกล่าวไม่มีที่โจทก์ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารดังกล่าวตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์การประเมิน
คำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ลงชื่อกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทโจทก์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ แต่เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมรับโดยมิได้ท้วงติงและรับวินิจฉัยให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาคำอุทธรณ์นั้นโดยมิได้โต้แย้งจึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน คำอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เสียไป จำเลยจะอ้างว่าคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ไม่ชอบและถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1111 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดว่าในการจดทะเบียนบริษัทนั้น ใบทะเบียนจะต้องมีข้อความตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มิใช่เป็นแบบที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับผู้มีอำนาจกระทำในนามนิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำในนามบริษัทโจทก์ลงชื่อในคำอุทธรณ์การประเมินไม่ครบถ้วนก็หาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115ไม่ เมื่อบริษัทโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว คำอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานการกู้ยืมที่ไม่ใช่สัญญากู้ยืม ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ศาลแก้ค่าขึ้นศาลตามทุนที่ชนะ
เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานมิใช่สัญญากู้ยืม หากเป็นหลักฐานการกู้ยืมเท่านั้น จึงไม่เข้าข่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็หาต้องด้วยข้อห้ามในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในต้นเงินกู้ยืมและดอกเบี้ย 52,663 บาท แต่ฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 18,000 บาท และไม่ค้างชำระดอกเบี้ย มีเหตุสมควรให้จำเลยรับผิดเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่าที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในต้นเงินกู้ยืมและดอกเบี้ย 52,663 บาท แต่ฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 18,000 บาท และไม่ค้างชำระดอกเบี้ย มีเหตุสมควรให้จำเลยรับผิดเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่าที่โจทก์ชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์หลังทำสัญญา ไม่กระทบการใช้เอกสารเป็นหลักฐานได้
ป.รัษฎากร มาตรา 118 มิได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญา ดังนั้น แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในขณะฟ้องคดีนี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้เสียภาษีไม่นำเอกสารหลักฐานเพียงพอต่อการตรวจสอบ
มาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มิได้หมายความถึงกับว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมิได้นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใด ๆ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเลย เจ้าพนักงานประเมินจึงจะใช้อำนาจประเมินตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วหากผู้ยื่นรายการนำเอกสารหลักฐานแต่เพียงบางส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ความถูกต้องแท้จริงของแบบรายการที่ยื่นมาแสดง เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีโอกาสที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) ได้
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเพื่อตรวจสอบ โจทก์นำส่งแต่แฟ้มใบสำคัญคู่จ่ายเพียง 30 แฟ้ม ส่วนสมุดบัญชี สำเนาใบเสร็จรับเงิน และสัญญาต่าง ๆ โจทก์ไม่ยอมส่งมอบอ้างว่าสูญหายโดยไม่อาจรับฟังได้ ลำพังใบสำคัญจ่ายไม่เพียงพอที่จะตรวจหากำไรสุทธิ และคำนวณภาษีที่โจทก์จะต้องเสียได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายจากโจทก์จึงชอบแล้ว.
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเพื่อตรวจสอบ โจทก์นำส่งแต่แฟ้มใบสำคัญคู่จ่ายเพียง 30 แฟ้ม ส่วนสมุดบัญชี สำเนาใบเสร็จรับเงิน และสัญญาต่าง ๆ โจทก์ไม่ยอมส่งมอบอ้างว่าสูญหายโดยไม่อาจรับฟังได้ ลำพังใบสำคัญจ่ายไม่เพียงพอที่จะตรวจหากำไรสุทธิ และคำนวณภาษีที่โจทก์จะต้องเสียได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายจากโจทก์จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารประกอบพยานหลักฐาน การนำสืบ และการคัดค้านพยาน
จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ขณะจำเลยเบิกความโจทก์มิได้นำเอกสารซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้ทำขึ้นเองมาถามค้านจำเลยไว้เลย เมื่อตัวโจทก์เบิกความถึงและอ้างส่งเอกสารจำเลยก็คัดค้านว่าศาลไม่ควรรับฟังเอกสารฉบับนี้ เพราะโจทก์ไม่ได้ซักค้านในขณะที่จำเลยเข้าเบิกความ จำเลยไม่มีโอกาสอธิบาย ดังนี้ศาลไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด, การสูญหายของเอกสารหลักฐาน
กรณีที่จำเลยจะประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นต้องเป็นกรณีที่โจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนหากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่1ส่งเอกสารและบัญชีให้จำเลยตรวจสอบไม่ครบถ้วนจำเลยย่อมไม่มีอำนาจประเมินภาษีแก่โจทก์ที่1ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1) เจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายโดยคำนวณให้โจทก์ที่1เสียภาษีในอัตราร้อยละ3ของจำนวนเงินเดือนที่โจทก์ที่1ได้จ่ายไปตามที่ปรากฏในบัญชีกำไรขาดทุนมิได้ทำการประเมินตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรการประเมินภาษีของจำเลยจึงไม่ชอบแม้โจทก์ที่1จะมิได้หักภาษีเงินได้ส่วนนี้ไว้และมิได้นำส่งจำเลยจำเลยก็หาอาจเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ที่1โดยวิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ โจทก์ที่1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหลังจากที่ส.หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ที่1เสียชีวิตแม้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นภรรยาส.และเป็นผู้จัดการมรดกส.จะได้เข้าไปดำเนินกิจการของโจทก์ที่1ก็หามีผลให้โจทก์ที่2ต้องกลายเป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดในหนี้ของโจทก์ที่1ไม่ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์ที่1สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนอันจะมีผลให้โจทก์ที่2ต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างและสวัสดิการ: การพิจารณาองค์ประกอบของค่าจ้างที่ไม่ใช่เงินเดือน และการยอมรับเอกสารหลักฐาน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า เงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษ เงินสะสมค่าเครื่องแบบ ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าภาษีเงินได้ ค่ารถประจำตำแหน่ง และโบนัสพิเศษ เป็นค่าจ้างต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย จำเลยให้การว่า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์มีความผิด โดยมิได้ต่อสู้ว่าเงินทั้ง 8 รายการดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ เช่นนี้ เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ศาลย่อมต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยคำนวณจากอายุงานและค่าจ้างเป็นหลัก เมื่อรายการใดถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายอันจะพึงนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าเงินและสิ่งของที่โจทก์ได้รับรวม 8 รายการมิใช่ค่าจ้างจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเด็น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือเป็นเรื่องที่ถือว่าจำเลยยอมรับแล้ว
เงินรางวัลเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จากผลกำไรซึ่งแล้วแต่ผู้บริหารจะกำหนดเองและไม่แน่นอน มิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง ส่วนค่าครองชีพพิเศษก็มิได้แยกจำนวนไว้ต่างหากโดยกำหนดรวมไว้เป็นเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษผลจึงเป็นว่าการจ่ายเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารของจำเลยที่จะกำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอน เงินประเภทนี้จึงมิใช่ค่าจ้าง
จำเลยได้จ่ายเงินสะสมสมทบโดยมิได้หักเงินเดือนของลูกจ้างและได้จ่ายสมทบนับแต่พนักงานของจำเลยได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำส่วนสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมก็ต่อเมื่อออกจากงาน หากออกจากงานก่อนครบ 5 ปี หรือออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประมาทเลินเล่อ หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาก็ไม่มีสิทธิได้รับนอกจากจำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเงินประเภทนี้จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานอันพึงถือว่าเป็นค่าจ้าง
ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ปีละ 1,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานบางระดับที่ไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่ง แต่สำหรับโจทก์ซึ่งมีรถยนต์ประจำตำแหน่งได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วย ซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง
จำเลยเติมน้ำมันให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่การใช้งานแต่ไม่เกินเดือนละ300 ลิตร หากใช้น้อยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนที่ใช้ยังไม่ครบ จึงเป็นจำนวนไม่แน่นอนและมิใช่การเหมาจ่าย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยอนุเคราะห์โจทก์เกี่ยวกับการใช้พาหนะ มิใช่เงินหรือสิ่งของที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง
ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ เป็นการที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างเต็มตามสัญญาจ้าง เพื่อความมั่นคงในการดำรงชีพและดำรงฐานะให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ดียิ่งขึ้น เป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดหาให้แก่ลูกจ้าง มิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้าง
จำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้ใช้ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์ใช้เป็นพาหนะเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนแม้บางเวลาโจทก์อาจนำไปใช้เป็นส่วนตัวได้บ้างก็เป็นเรื่องการอนุเคราะห์ในด้านความสะดวกสบายบางประการเท่านั้น กรณีไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพของการอำนวยประโยชน์ของความสะดวกสบายเช่นนี้มาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้ จึงมิใช่ค่าจ้าง
เงินโบนัสไม่ใช่เงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างใดก็ได้ตามแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนด และการจ่ายเงินโบนัสพิเศษก็เป็นไปตามดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยเป็นผู้กำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่ค่าจ้าง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกพยานเอกสารจากจำเลยหลายฉบับหลายครั้ง คำร้องทุกฉบับโจทก์ได้ชี้แจงแสดงเหตุที่จะต้องขอให้เรียกเอกสารจากจำเลย และศาลแรงงานกลางได้สอบถามรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์บ้าง แล้วมีความเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีและไม่มีความจำเป็นต้องนำสืบ ดังนี้เป็นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์ได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเอกสารเหล่านั้นโดยไม่จำต้องอาศัยพยานเอกสาร การเรียกเอกสารดังกล่าวจึงไม่จำเป็นแก่คดี ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้
พยานเอกสารที่จำเลยนำมาสืบแม้เป็นเพียงภาพถ่ายมิใช่ต้นฉบับเอกสาร แต่เมื่อจำเลยส่งอ้างเป็นพยานต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้น พยานโจทก์และพยานจำเลยหลายปากก็ได้เบิกความรับรองและอ้างถึงเอกสารดังกล่าว ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเอกสารนั้นมีอยู่จริงและมีข้อความตรงกับต้นฉบับ ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
เงินรางวัลเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จากผลกำไรซึ่งแล้วแต่ผู้บริหารจะกำหนดเองและไม่แน่นอน มิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง ส่วนค่าครองชีพพิเศษก็มิได้แยกจำนวนไว้ต่างหากโดยกำหนดรวมไว้เป็นเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษผลจึงเป็นว่าการจ่ายเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารของจำเลยที่จะกำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอน เงินประเภทนี้จึงมิใช่ค่าจ้าง
จำเลยได้จ่ายเงินสะสมสมทบโดยมิได้หักเงินเดือนของลูกจ้างและได้จ่ายสมทบนับแต่พนักงานของจำเลยได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำส่วนสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมก็ต่อเมื่อออกจากงาน หากออกจากงานก่อนครบ 5 ปี หรือออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประมาทเลินเล่อ หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาก็ไม่มีสิทธิได้รับนอกจากจำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเงินประเภทนี้จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานอันพึงถือว่าเป็นค่าจ้าง
ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ปีละ 1,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานบางระดับที่ไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่ง แต่สำหรับโจทก์ซึ่งมีรถยนต์ประจำตำแหน่งได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วย ซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง
จำเลยเติมน้ำมันให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่การใช้งานแต่ไม่เกินเดือนละ300 ลิตร หากใช้น้อยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนที่ใช้ยังไม่ครบ จึงเป็นจำนวนไม่แน่นอนและมิใช่การเหมาจ่าย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยอนุเคราะห์โจทก์เกี่ยวกับการใช้พาหนะ มิใช่เงินหรือสิ่งของที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง
ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ เป็นการที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างเต็มตามสัญญาจ้าง เพื่อความมั่นคงในการดำรงชีพและดำรงฐานะให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ดียิ่งขึ้น เป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดหาให้แก่ลูกจ้าง มิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้าง
จำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้ใช้ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์ใช้เป็นพาหนะเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนแม้บางเวลาโจทก์อาจนำไปใช้เป็นส่วนตัวได้บ้างก็เป็นเรื่องการอนุเคราะห์ในด้านความสะดวกสบายบางประการเท่านั้น กรณีไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพของการอำนวยประโยชน์ของความสะดวกสบายเช่นนี้มาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้ จึงมิใช่ค่าจ้าง
เงินโบนัสไม่ใช่เงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างใดก็ได้ตามแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนด และการจ่ายเงินโบนัสพิเศษก็เป็นไปตามดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยเป็นผู้กำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่ค่าจ้าง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกพยานเอกสารจากจำเลยหลายฉบับหลายครั้ง คำร้องทุกฉบับโจทก์ได้ชี้แจงแสดงเหตุที่จะต้องขอให้เรียกเอกสารจากจำเลย และศาลแรงงานกลางได้สอบถามรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเอกสารต่าง ๆ จากโจทก์บ้าง แล้วมีความเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีและไม่มีความจำเป็นต้องนำสืบ ดังนี้เป็นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์ได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเอกสารเหล่านั้นโดยไม่จำต้องอาศัยพยานเอกสาร การเรียกเอกสารดังกล่าวจึงไม่จำเป็นแก่คดี ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้
พยานเอกสารที่จำเลยนำมาสืบแม้เป็นเพียงภาพถ่ายมิใช่ต้นฉบับเอกสาร แต่เมื่อจำเลยส่งอ้างเป็นพยานต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้น พยานโจทก์และพยานจำเลยหลายปากก็ได้เบิกความรับรองและอ้างถึงเอกสารดังกล่าว ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเอกสารนั้นมีอยู่จริงและมีข้อความตรงกับต้นฉบับ ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงจากเอกสารหลักฐาน และผลผูกพันตามคำท้าทายในคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินที่ยกให้จำเลยและต่อมาจำเลยนำไปขายฝากแก่ผู้อื่นโดยอ้างว่าจำเลยประพฤติเนรคุณจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ประพฤติเนรคุณทั้งโจทก์ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยให้จำเลยชำระหนี้บุคคลภายนอกแทนโจทก์ชั้นพิจารณาคู่ความท้ากันว่า หากฝ่ายโจทก์สามารถนำหลักฐานการขายฝากมาแสดงต่อศาลจำเลยยอมแพ้ หากหามาไม่ได้โจทก์ยอมแพ้ โดยไม่ต้องมีการสืบพยานดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเอกสารต่อศาลตามคำท้า และข้อความในเอกสารได้ระบุไว้ชัดแจ้งถึงเจตนาในการทำนิติกรรมการขายฝากที่พิพาทระหว่างจำเลยผู้ขายฝากกับ พ. ผู้รับซื้อฝาก ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบุคคลทั้งสองมีนิติสัมพันธ์ต่อกันถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามคำท้าแล้วโจทก์จึงเป็นฝ่ายชนะคดีส่วนปัญหาที่ว่าการขายฝากจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า