พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ vs. รับของโจร: การพิพากษาที่เปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงและการแก้ฟ้อง
คดีลักทรัพย์ การที่โจทก์ขอแก้ชื่อเจ้าทรัพย์ซึ่งเป็นการขอแก้รายละเอียดหากจำเลยไม่หลงต่อสู้แล้ว โจทก์ย่อมแก้ฟ้องได้
กระบือหายจากที่เลี้ยงไปอยู่กลางทุ่งใกล้กระท่อมนาผู้อื่น ซึ่งห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร และพวกเจ้าทรัพย์กำลังติดตามอยู่ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหายเพราะความยึดถือของเจ้าทรัพย์ยัง ไม่ขาดตอนไป ซึ่งจำเลยควรจะรู้ว่าหากจำเลยไม่พาเอาไปเสียเจ้าของก็ยังติดตามเอาคืนได้ง่ายเมื่อจำเลยเอากระบือนั้นไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่ยักยอกเก็บของตกไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่า กระบือขาดหลุดไปในลักษณะของตกหายจำเลยพาไปไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ พิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับซื้อกระบือไปโดยไม่สุจริตเป็นผิดฐาน รับของโจร ดังนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงไม่ต้องห้าม โจทก์ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
กระบือหายจากที่เลี้ยงไปอยู่กลางทุ่งใกล้กระท่อมนาผู้อื่น ซึ่งห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร และพวกเจ้าทรัพย์กำลังติดตามอยู่ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหายเพราะความยึดถือของเจ้าทรัพย์ยัง ไม่ขาดตอนไป ซึ่งจำเลยควรจะรู้ว่าหากจำเลยไม่พาเอาไปเสียเจ้าของก็ยังติดตามเอาคืนได้ง่ายเมื่อจำเลยเอากระบือนั้นไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่ยักยอกเก็บของตกไม่
ศาลชั้นต้นฟังว่า กระบือขาดหลุดไปในลักษณะของตกหายจำเลยพาไปไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ พิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับซื้อกระบือไปโดยไม่สุจริตเป็นผิดฐาน รับของโจร ดังนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงไม่ต้องห้าม โจทก์ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องและขอบเขตการนำสืบพยาน: การนำสืบพยานโต้แย้งวันเกิดเหตุหลังแก้ฟ้องไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม
เดิม โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2507 จำเลยที่ 2 ใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปในกิจธุระของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่ขับชนรถจักรยานยนต์โจทก์เสียหาย จำเลยต่อสู้ว่า ตามวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 มิได้ใช้จำเลยที่ 1 เกี่ยวกับกิจธุระและมิได้ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอารถไปใช้ ต่อมาโจทก์ขอแก้วันที่เป็นวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การขอแก้วันที่ให้ตรงตามที่โจทก์ขอแก้ฟ้อง ดังนี้ เมื่อเหตุการณ์ที่รถจำเลยชนรถโจทก์มีครั้งเดียว คือ วันที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเท่านั้น จำเลยจึงนำสืบตามข้อต่อสู้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 เอารถไปชนรถของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องและการนำสืบพยานนอกเหนือคำให้การเดิม หากเหตุการณ์มีเพียงครั้งเดียวและไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม
เดิมโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2507 จำเลยที่ 2 ใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปในกิจธุระของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่ขับชนรถจักรยานยนต์โจทก์เสียหาย จำเลยต่อสู้ว่า ตามวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 มิได้ใช้จำเลยที่ 1 เกี่ยวกับกิจธุระและมิได้ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอารถไปใช้ ต่อมาโจทก์ขอแก้วันที่เป็นวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การขอแก้วันที่ให้ตรงตามที่โจทก์ขอแก้ฟ้อง ดังนี้ เมื่อเหตุการณ์ที่รถจำเลยชนรถโจทก์มีครั้งเดียวคือ วันที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเท่านั้น จำเลยจึงนำสืบตามข้อต่อสู้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 เอารถไปชนรถของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, นิติบุคคล, ใบมอบอำนาจ, การดำเนินคดีแทน
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้องโดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจ ดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่ เข้าดำเนินกระบวพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไป มิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้องโดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจ ดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่ เข้าดำเนินกระบวพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไป มิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, และการรับรองนิติบุคคล: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาและการเปลี่ยนแปลงผู้รับมอบอำนาจ
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้อง โดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่เข้าดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไปมิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้อง โดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่เข้าดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไปมิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องเรียกจำเลยใหม่เข้ามาในคดี และขอบเขตการบังคับตามคำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1-2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไปต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1-2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1-2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบกับคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดทางอาญา การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด และการแก้ฟ้อง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำนั้น หาต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายไม่ จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดก็ใช้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิด ถึงพ.ศ. 2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา โจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ เป็นเรื่องโจกท์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่ เพราะมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิด ถึงพ.ศ. 2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา โจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ เป็นเรื่องโจกท์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่ เพราะมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดอาญา การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำผิด และการแก้ฟ้อง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำนั้น หาต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายไม่จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ.2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิดถึงพ.ศ.2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญาโจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้เป็นเรื่องโจทก์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่เพราะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ.2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิดถึงพ.ศ.2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญาโจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้เป็นเรื่องโจทก์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่เพราะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องอาญา: รายละเอียดทรัพย์สินไม่กระทบสิทธิจำเลย
ฟ้องของโจทก์ ข้อ 1 กล่าวว่าจำเลยลักกระบือแต่ในฟ้อง ข้อ 2 กล่าวว่า มีผู้พบเห็นจำเลยพาโคของผู้เสียหายไป หรือทำการลักโคของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยให้การแล้วโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้รายการทรัพย์จากกระบือเป็นโค โดยอ้างว่าพิมพ์ผิด ดังนี้ เห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเพราะเป็นการขอแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องและโจทก์ได้ขอแก้ฟ้องก่อนศาลทำการสืบพยานโจทก์ จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่