พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุก: ผลของคำพิพากษาที่สั่งให้นับโทษต่อจากโทษอื่น และผลของการแก้โทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งวันมีคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ต่อมาภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะแก้โทษจำคุกก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มโทษจำคุกแต่อย่างใด คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้ว โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต และนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การเริ่มนับโทษจำคุกจำเลยจึงต้องเริ่มนับเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอาญาอื่นครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้โทษของจำเลยเหลือเพียง 36 ปี 8 เดือน แต่ก็ยังคงให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลฎีกาแก้โทษลดโทษจำเลย
การที่ ส. พูดว่าจะเอาอาวุธปืนมายิงจำเลยแล้วจำเลยพูดกับ ส. ว่า พูดไม่เข้าหู แล้ว ส., ม. และ น. ออกจากบ้านจำเลยไป เหตุโกรธเคืองยุติและขาดตอนไปแล้ว ระหว่างนั้นจำเลยย่อมมีโอกาสคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแต่พฤติการณ์ที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ ต. ขับติดตาม ส., ม. และ น. ไปโดยจำเลยเตรียมนำอาวุธปืนไปด้วยแสดงว่า จำเลยคิดไตร่ตรองแล้วว่าจะใช้อาวุธปืนที่เตรียมไปยิงผู้เสียหายที่ 1 เพื่อแก้แค้นทั้ง ต. ยังขับรถแซงรถของ ส. ไปดักรอ ส., ม. และ น. อยู่ข้างหน้า เมื่อรถของ ส. มาถึง จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ส. การกระทำของจำเลยต่อ ส. จึงเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4), 80 รวม 1 กระทง แต่ไม่ปรากฎว่าจำเลยกับ ม. และ น. มีเหตุโกรธเคืองกันจนจำเลยต้องคิดฆ่าบุคคลทั้งสอง การที่จำเลยยิง ม. และ น. ก็เพราะบุคคลทั้งสองนั่งรถจักรยานยนต์มากับ ส. จึงเป็นการคิดฆ่าอีกกระทงหนึ่งในทันที มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288, 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุก ศาลฎีกาแก้เป็นรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลย 4 เดือน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงน่าเชื่อตามพยานหลักฐานจำเลยว่า โจทก์ร่วมได้ลงมือประทุษร้ายร่างกายจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันและหากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็มีเหตุสมควรรอการลงโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานและการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าว มิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องคงเพียงขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นคนหนึ่งไม่ใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อตามคำร้องมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพังจึงไม่มีผลเป็นการอนุญาตให้ฎีกาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นคนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน, ปลอมเอกสาร, และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย; ศาลฎีกาแก้โทษและวินิจฉัยอำนาจฟ้อง
ในคดีความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ซึ่งผู้เสียหายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว ผู้บุพการีไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือเข้าร่วมกับพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องแทนผู้เสียหาย เพราะไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) ประกอบมาตรา 5 (2) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกร่วมกันนำเอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายและแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้เสียหายลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วนำไปกรอกข้อความว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้จำเลยยื่นขอจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้เสียหายให้แก่จำเลยโดยเสน่หา เป็นการกระทำความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 และเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 แต่การกระทำความผิดดังกล่าวก็เพื่อโอนที่ดินเป็นของจำเลยซึ่งเป็นเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
จำเลยกับพวกร่วมกันนำเอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายและแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้เสียหายลงไว้ในช่องผู้มอบอำนาจไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วนำไปกรอกข้อความว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้จำเลยยื่นขอจดทะเบียนโอนที่ดินของผู้เสียหายให้แก่จำเลยโดยเสน่หา เป็นการกระทำความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 และเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 แต่การกระทำความผิดดังกล่าวก็เพื่อโอนที่ดินเป็นของจำเลยซึ่งเป็นเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาแก้ข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้โทษฐานพยายามฆ่าเป็นยกฟ้อง คดีจำคุกเกินห้าปี
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย และพยายามฆ่าโจทก์ร่วมที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 288 และ ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมที่ 1 ให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ แต่ยังคงลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้ตายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า และแก้ไขบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียว โดยไม่ได้แก้ไขโทษด้วยอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาหลายจำเลย ศาลฎีกาแก้โทษจำเลยฎีกาและขยายผลถึงจำเลยไม่ฎีกา คดีถึงที่สุดเมื่ออ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ในการพิจารณาคดีของศาลฎีกา หากจำเลยผู้หนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกัน หากคดีนั้นศาลฎีกาใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 พิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ฎีกาและพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาจึงยังไม่ถือว่าเป็นที่สุดเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยที่ 1 ฟังเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2546 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีและพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 แล้ว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้จำเลยที่ 1 ฟัง
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยที่ 1 ฟังเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2546 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีและพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 แล้ว คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้จำเลยที่ 1 ฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงยุติแล้ว & ฎีกาแก้โทษที่ศาลล่างใช้ดุลยพินิจแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาเท่านั้น โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลาง ที่จำเลยฎีกาว่าการตรวจพิสูจน์ผิดพลาด จึงเป็นการโต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วและเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา อันเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องปลอมและใช้เอกสารปลอมร่วมกับเจ้าพนักงาน มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ไม่ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ และไม่มีบุคคลใดลงลายมือชื่อเป็นพยาน ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจจำนองที่ดินตลอดจนให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 ลงลายมือชื่อเป็นพยานและรับรองว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ต่อมาจำเลยทั้งหกร่วมกันใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินแทน เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อ จึงจดข้อความอันเป็นเท็จตามคำบอกกล่าวของจำเลยทั้งหกลงในสัญญาจำนองอันเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นปลอมหนังสือมอบอำนาจและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว กับแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นและหรือกระทำการใด ๆ ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยวิธีใด อย่างใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก แม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมกับความผิดได้ โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นจนโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อีก เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 กลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาแต่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก แม้ฎีกาของจำเลยที่ 2 จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ให้เหมาะสมกับความผิดได้ โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นจนโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อีก เห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 กลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกา ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาแต่การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุมิได้ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 จำคุก 4 ปี และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 กับผู้ร้องที่ 2 และที่ 4 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีส่วนอาญาจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า เหตุคดีนี้เกิดจากความประมาทของ ภ. ผู้เสียหายและ ก. ผู้ตายที่ขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทไม่เว้นระยะห่างให้มากพอที่จะหยุดรถได้ทัน ทำให้รถจักรยานยนต์ทั้งสองคันชนท้ายรถบรรทุกพ่วงที่จำเลยขับจนเป็นเหตุให้ ฐ. และ ก. ถึงแก่ความตาย ภ. ได้รับอันตรายสาหัส ย. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน เมื่อจำเลยมิได้ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของจำเลยในคดีส่วนอาญาจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำหรับฎีกาของจำเลยในคดีส่วนแพ่งที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 กับผู้ร้องที่ 2 และที่ 4 นั้น เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาในคดีส่วนแพ่ง จึงต้องห้ามฎีกาในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15แม้คดีจะต้องห้ามฎีกาดังกล่าวมาข้างต้น เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว และศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดไว้โดยการรอการลงโทษจำคุกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9126/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์แก้โทษจำเลยที่ 2 คดีร่วมกันฆ่าผู้อื่น ศาลฎีกายกคำขอฎีกาโจทก์เนื่องจากเกินกรอบที่กฎหมายอนุญาต
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 371 ประกอบมาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น จำคุกคนละ 9 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธมีดไปในเมืองฯ ปรับ คนละ 50 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรม คนละ 6 ปี และ 7 ปี ตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่า 5 ปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ในส่วนจำเลยที่ 2 ว่ามีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก จำคุก 1 ปี 6 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรม 2 ปี จึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการฎีกาดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว และเมื่อโจทก์มิได้ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มา จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้