คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนฯ ที่แก้ไข และการสอบถามจำเลยเรื่องทนายเมื่อมีโทษจำคุกสูง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี จึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องพยาน การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าสงวนที่แก้ไข และสิทธิจำเลยในการมีทนาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ขอให้ลงโทษตามมาตรา31แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา31 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 แม้โจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมศาลปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
การกระทำของจำเลยตามฟ้องมีโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีจึงเป็นกรณีที่จะต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 เมื่อยังไม่มีการสอบถามจำเลยเรื่องทนาย การพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ สมควรจัดการให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากการเป็นชู้: ใช้กฎหมายเดิมแม้มีการแก้ไขกฎหมาย
คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าเป็นชู้กับจำเลยที่ 1 ภรรยาโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505(เดิม) ซึ่งกำหนดอายุความตามมาตรา 1509 ว่าสามเดือนนับแต่วันที่โจทก์รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง. ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นชู้กับจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 12-14 เมษายน 2519 ครบสามเดือนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 ก่อนวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่ง เป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับ จึงยกอายุความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 1529 ซึ่งมีกำหนด1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 มาตรา 9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นโทษอาวุธปืนฉบับแก้ไข: การมอบอาวุธปืนตามกฎหมาย ไม่ทำให้ความผิดเดิมสิ้นสุด
พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 5 บัญญัติยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืนฯ สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามและได้นำอาวุธปืนฯ ไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ หาได้บัญญัติว่าการมีเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่เป็นความผิดไม่ เช่นนี้จำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่ามีคำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงครามจะอ้างว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลยไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายจราจรและการขับรถแซงซ้าย การพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะจำเลยกระทำความผิด พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสีย และได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่น ทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้าย และต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายจราจรและการยกฟ้องข้อหาแซงซ้ายเมื่อมีเหตุยกเว้นตามกฎหมายใหม่
ขณะจำเลยกระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้ายและเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวาผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสียและได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่นทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายและต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสัญชาติไทยหลังเคยขอเป็นคนต่างด้าว และผลกระทบของกฎหมายสัญชาติที่แก้ไข
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย ต่อมาได้ไปประเทศจีนแล้วเดินทางกลับมากองตรวจคนเข้าเมืองให้อยู่ในประเทศไทยได้ภายในเวลาจำกัดโจทก์ร้องขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยต่อกองตรวจคนเข้าเมืองอธิบดีกรมตำรวจสั่งระงับการพิสูจน์สัญชาติโจทก์จึงขอให้พิพากษาแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นไทย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยและไม่ได้เกิดในประเทศไทย แต่เกิดในประเทศจีน มีสัญชาติจีนโจทก์ร้องขออยู่ในประเทศไทยชั่วคราวโดยไม่มีที่สิ้นสุดจำเลยจึงสั่งไม่ให้โจทก์อยู่ต่อไป ดังนี้ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยหรือไม่
การที่โจทก์จะได้มาซึ่งสัญชาติไทยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์เกิดในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอใบสำคัญเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงขาดจากสัญชาติไทยไประยะหนึ่งในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 ใช้บังคับอยู่แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ.2499 ประกาศใช้ โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยกลับคืนมาโดยมาตรา 3 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับที่ 3โจทก์ไม่จำต้องไปร้องขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20(2) ทั้งกรณีเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องตามมาตรานี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษอาญาหลังการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก: ศาลยังคงลงโทษได้ตามบทที่แก้ไข แม้ฟ้องอ้างบทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 4,29,66. แต่ปรากฏว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ.2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องอาญาเมื่อข้อเท็จจริงวันเวลาในฟ้องต่างจากพยานหลักฐานในการพิจารณา แม้มีการแก้ไขกฎหมายระหว่างพิจารณา
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันหรือเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่ปรากฏในการพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้องตาม ม.192 วรรค 2 ป.วิ.อาญา (ฉบับที่ใช้อยู่ในขณะฟ้องคดีนี้) จำเลยจะผิดหลงหรือเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือไม่ ๆ สำคัญ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2499 ให้ยกเลิก ม.192 และใช้ข้อความใหม่แทนก็ดี ก็จะนำมาใช้แก่คดีที่ฟ้องไว้ก่อนแล้วหาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ที่ 5/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายอาญาและการลงโทษตามมาตราเดิม แม้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
การที่ฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ม.104 และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตราที่ฟ้อง แต่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อ้าง พ.ร.บ.ที่แก้ไขมาตราที่กล่าวมานั้นต่างกันเช่นนี้หาใช่เป็นการตัดสินนอกฟ้องไม่ เพราะบทบัญญัติของการแก้ไขแต่ละคราวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตราเดิมนั่นเอง
of 6