คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาไม่สิ้นสุดและไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4153-4154/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเดิมและการไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ ศาลฎีกามีคำพิพากษาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังที่ยื่นคำให้การแล้วเกือบ 3 ปี และเป็นเวลาภายหลัง ที่สืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว โดยอ้างเพียงว่าเพิ่งค้นพบสำเนาตารางกรมธรรม์ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเรียกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไปยังจำเลยตามคำขอของโจทก์ แต่จำเลยก็มิได้ส่งต่อศาล เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การจึงชอบแล้ว ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยตามที่ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043-3044/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การนำมาตรา 180 ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาและให้การด้วยวาจาศาลแรงงานตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ นัดสืบพยานจำเลย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยาน ดังกล่าว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ก่อนวันนัดสืบพยานจำเลยไม่น้อยกว่า 7 วัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่น คำร้องขอแก้ไขคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้ว ตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานและคำสั่งไม่อนุญาตเรียกกรมที่ดินเป็นโจทก์ร่วม ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้วตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติคดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะใน ป.วิ.พ.ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179 (3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การนอกกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในคดีแพ่ง
แม้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลยยื่น คำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติ กฎหมายกำหนดเรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำให้การไว้ โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1 ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ก็ต้องนำบทบัญญัติ ในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 ซึ่งมาตรา 179(3),180 บัญญัติถึงกรณีที่ไม่มี การชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันเว้นแต่มีเหตุตามที่ระบุไว้ เมื่อคำร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไม่อนุญาตและยกคำร้องของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คดีสามัญ แม้ศาลยังไม่ได้เปลี่ยนกระบวนพิจารณา
แม้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลย ยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มี บทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1 ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำให้การเป็นอย่างใด หรือเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในกรณีนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์คดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้องแต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้นเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 13