พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ ย่อมผูกพันคู่กรณีได้ หากไม่ขัดกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหายจากศาล
ข้อสัญญาใด ๆ ที่คู่กรณีได้ทำขึ้น คู่กรณีสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขและตกลงทำข้อสัญญาใหม่ได้ ในเมื่อข้อสัญญาที่ทำขึ้นใหม่ นั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิได้บรรยาย ไว้ในคำฟ้องแย้งว่ารถยนต์คันพิพาทมีราคาเท่าไร ทั้ง คำขอท้ายคำฟ้องแย้งก็มิได้ระบุว่าหากโจทก์คืนรถยนต์ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ก็ขอให้โจทก์ใช้ราคารถยนต์นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อปัญหา ดังกล่าวนั้นขึ้นมาว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะ ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว การพิสูจน์ความเสียหายนั้น ในเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่สามารถ พิสูจน์ได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงนั้นมีจำนวนเท่าใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายเท่านั้น ไม่มี พยานหลักฐานมาสนับสนุนให้เห็นค่าเสียหายที่แท้จริง ศาลจึง กำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาส่วนตัวและการมอบอำนาจ: การลดค่าเช่าซื้อที่ผูกพันคู่สัญญา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามหนังสือมอบอำนาจ ธ. มีอำนาจเต็มในการขายรถยนต์ให้เช่าซื้อรถยนต์ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจในการลดราคาขายหรือราคาเช่าซื้อหรือลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วย ดังนั้น การที่ ธ. ลดค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำตามที่ได้รับมอบอำนาจมาจากโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนที่ลดลงให้โจทก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โจทก์หามีสิทธิยึดรถยนต์คันพิพาทและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ธ. ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่ค้างชำระแล้ว เท่ากับคู่กรณีได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อให้แก่กันโดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาเดิมที่ให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วใช้ข้อสัญญาใหม่ดังกล่าวมานั่นเอง ข้อสัญญาใหม่นี้มีผลผูกพันคู่กรณีเพราะเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยความยินยอม และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ธ. มีอำนาจเต็มในการขายรถยนต์ให้เช่าซื้อรถยนต์ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจในการลดราคาขายหรือราคาเช่าซื้อหรือลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วย การที่ ธ. ลดค่าเช่าซื้อที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำตามที่ได้รับมอบอำนาจมาจากโจทก์ แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็ตาม แต่ข้อสัญญาใดที่คู่กรณีได้ทำขึ้น คู่กรณีสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขและตกลงทำข้อสัญญาใหม่ได้ เมื่อข้อสัญญาที่ทำขึ้นใหม่นั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่ ธ. ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่ค้างชำระแล้วเท่ากับคู่กรณีได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อให้แก่กันโดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาเดิมที่ให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วใช้ข้อสัญญาใหม่ดังกล่าวข้อสัญญาใหม่นี้มีผลผูกพันคู่กรณีเพราะเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร ค่าเช่าซื้อรถยนต์แต่ละงวดเป็นเงินค่ารถยนต์ที่ซื้อและค่าเช่ารวมอยู่ด้วย เงินค่าเช่าถือเป็นค่าเสียหายที่ฝ่ายใช้รถยนต์จะต้องชำระให้แก่เจ้าของรถยนต์เมื่อไม่ปรากฏแน่ชัดว่า เงินค่าเช่ามีจำนวนเท่าไรศาลย่อมกำหนดค่าเช่าหรือค่าเสียหายนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาเข้าหุ้นส่วนและการถอนหุ้น ไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้เมื่อไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามกับ จ. ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าหุ้นส่วนเดิม โดยให้จำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ และถอนเงินลงหุ้นออกไป โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ให้จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีหนี้สินและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเลยที่ 1 กับ จ.จึงถอนหุ้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่มีการถอนเงินลงหุ้นไปจริง เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีเงินเหลืออยู่เลยดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ถอนหุ้นจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหุ้นส่วนไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงชำระหนี้
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามกับ จ. ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเข้าหุ้นส่วนเดิมโดยให้จำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ และถอนเงินลงหุ้นออกไปโดยให้จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ให้จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. มีหนี้สินและไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 1ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเลยที่ 1 กับ จ. กับ จ. จึงถอนหุ้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่มีการถอนเงินลงหุ้นไปจริงเพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ไม่มีเงินเหลืออยู่เลย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ถอนหุ้นจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสละสิทธิในสัญญา, สัญญาต่างตอบแทน, การแก้ไขสัญญา, การชำระหนี้, สิทธิในการโอนที่ดิน
แม้ตามสัญญาจะมีข้อสัญญาว่า หากจำเลยไม่สามารถชำระเงินงวดที่สองแก่โจทก์ภายในกำหนด ยอมให้ริบเงินที่ได้ชำระไปแล้วทั้งหมดได้และสัญญาเป็นอันยกเลิกแต่ต่อมาจำเลยได้นำเงินงวดที่สองไปชำระแก่โจทก์จนครบถ้วน ทั้งยังให้โจทก์จดทะเบียนทางภารจำยอมให้จำเลยพร้อมกับ บันทึกกันไว้ด้านหลังสัญญาว่า ให้เลื่อนการโอนที่ดินของจำเลยไปก่อนและตราบใดที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ให้โจทก์มีสิทธิปิดทางภารจำยอมได้ หาได้มีการกำหนดให้มีการเลิกสัญญากันได้ให้เหมือนกับที่เคยทำกันไว้ไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้นำเอาข้อสัญญาเดิม มาใช้บังคับกันอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนไขในการเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวที่จำเลยได้สละไปแล้วเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาเป็นการชำระหนี้ตอบแทนให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง: ผลผูกพันตามสัญญาและการพิสูจน์เจตนาในการลงนาม
จำเลยทำสัญญา ประกันตัว ผู้ต้องหาต่อ โจทก์ แม้สัญญาประกัน จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจากข้อความเดิม ซึ่ง กล่าวหาว่าออกเช็ค โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้ เงินตาม เช็ค โดย พิมพ์ข้อความเพิ่มเติมว่า ออกเช็ค ในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค นั้น และมีการแก้ไขจำนวนเงิน เดิม 150,000 บาท โดย ขีดฆ่าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรออกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า 86,600 บาท เนื่องจากตาม ระเบียบกำหนดให้ผู้ประกันรับผิดไม่เกินจำนวนเงินในเช็ค ที่ถูก กล่าวหา ดังนี้ ทั้งข้อความเดิม และข้อความที่เพิ่มเติมนั้นก็เป็นข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั่นเอง มิได้ เพิ่มเติมข้อหาความผิดอื่นแต่ อย่างใด และจำนวนเงินประกันที่แก้ จาก เดิม ก็เป็นผลดี แก่จำเลยด้วย ทั้งฟังได้ว่ามีการขีดฆ่าจำนวนเงินที่ ประกันและลงจำนวน เงินที่ประกันใหม่ต่อหน้าจำเลยแล้วก่อนที่ จำเลยจะลงชื่อในสัญญาประกันดังกล่าว สัญญาประกันจึงเป็นเอกสาร ที่ถูกต้อง สมบูรณ์มีผลใช้ บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือ ไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุว่า จำเลยได้ ขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา 40,000 บาท ชำระเงินแล้ว 10,000 บาท แต่ เอกสารดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระเงินที่เหลืออีก 30,000 บาทภายในกำหนดเวลาเท่าใด การที่โจทก์นำพยานบุคคลสืบถึง กำหนดเวลาที่ต้อง ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นการนำสืบถึง ข้อตกลงต่างหาก จากสัญญาจะซื้อขายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้ ไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเอกสาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างเหมา: ค่าเค, การปรับราคา, และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การตีความเจตนาการปรับราคาค่างาน และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.