พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืดเวลายื่นคำให้การ จำเลยไม่ทราบคำสั่ง และสิทธิในการยื่นคำให้การตามมาตรา 204
กรณีที่จำเลยบางคนได้ยื่นแต่บางคนมิได้ยื่นคำให้การภายกำหนด ศาลจะต้องสั่งยืดเวลายื่นคำให้การไปแล้ว แจ้งให้จำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน การที่ศาลออกหมายนัดพิจารณาคิดีเสีทีเดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบคำสั่งยืดเวลาคำให้การตามมาตรา 204
จำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ แต่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ก็ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 204 เช่นเดียวกัน
จำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ แต่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ก็ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 204 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งยืดเวลายื่นคำให้การ และสิทธิจำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศ
กรณีที่จำเลยบางคนได้ยื่นแต่บางคนมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ศาลจะต้องสั่งยืดเวลายื่นคำให้การไปแล้วแจ้งให้จำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน การที่ศาลออกหมายนัดพิจารณาคดีเสียทีเดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบคำสั่งยืดเวลายื่นคำให้การตามมาตรา 204
จำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ แต่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ก็ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 204 เช่นเดียวกัน
จำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ แต่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ก็ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 204 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์ & ผลของการไม่ส่งหมายนัดสำเนา - ศาลต้องแจ้งคำสั่งโดยตรง
การที่จำเลยทั้งสองนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยทั้งสอง แสดงว่าจำเลยทั้งสองประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยทั้งสองแต่เพียงว่า รับไว้ นำฝาก โดยไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่า ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในอุทธรณ์แล้ว แม้จะมีตราประทับที่ด้านล่างอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว และทนายจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อทราบคำสั่งก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นเคยสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองคนละวันกับที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ว่า รอไว้สั่งเมื่อผู้อุทธรณ์ชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วนแล้ว จึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยตราประทับที่ด้านล่างอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมาครั้งหนึ่งแล้ว หากจะให้ตราประทับที่ด้านล่างอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมีผลบังคับตลอดไปว่าศาลชั้นต้นสั่งอะไรในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแล้ว จำเลยทั้งสองจะมาทราบติดตามเพื่อรับทราบคำสั่งศาลชั้นต้นทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วอีก ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ จึงถือว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วไม่ได้ และเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยตรง การที่ศาลชั้นต้นไม่แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรในกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14923/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานใหญ่ของนายจ้าง ถือเป็นการแจ้งที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ส่งคำสั่งหรือหนังสือของพนักงานตรวจแรงงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือพนักงานตรวจแรงงานจะนำไปส่งเองหรือให้เจ้าหน้าที่นำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของนายจ้างในเวลาทำการของนายจ้าง ถ้าไม่พบนายจ้างหรือพบแต่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมรับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของนายจ้างนั้นก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่านายจ้างได้รับคำสั่งหรือหนังสือนั้นแล้ว จำเลยส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้แก่โจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ สำนักงานแห่งใหญ่อันเป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้แจ้งจดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรอง และมีพนักงานของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ถือว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตฎีกา และหน้าที่ทนายจำเลยในการดำเนินการขอรับรองฎีกาต่ออัยการสูงสุด
คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกามีตรายางประทับข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งทุก 7 วัน ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว โดยทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว ทั้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นคำสั่งของผู้พิพากษา ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบอีก และข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นเรื่องขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ขยายให้ฎีกาแต่อย่างใดไม่ การที่ทนายจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาฎีกา ย่อมเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยจากการไม่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกวันที่ 24 มีนาคม 2552 โดยผ่านทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552 โดยไม่ได้มีคำสั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ต่อมาผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาล มีหนังสือลงวันที่ 8 เมษายน 2552 ถึงผู้อำนวยการสำนักทัณฑสถานหญิงกลาง ให้แจ้งคำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่ามีหนังสือของผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลางแจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลทราบว่าได้แจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ทราบตั้งแต่เมื่อใด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ได้ กรณีดังกล่าวถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้ชัดเจน ผู้ร้องยังไม่ได้ทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท มาชำระตามคำสั่งศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาที่ศาลขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าผู้ร้องมีคความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีต่อไปในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งในคำแถลงขอวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมของผู้ร้องหลังยื่นคำแถลง 6 วัน แต่เพียงว่า เสนอวันนี้ นำฝากโดยไม่ระบุไว้ด้วยว่า ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้ด้วยในอุทธรณ์แล้วแม้จะมีตราประทับที่ด้านล่างของคำแถลงว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตาม ก็ย่อมฟังได้แต่เพียงว่าเสมียนทนายผู้ร้องทราบคำสั่งศาลที่สั่งรับเงินค่าขึ้นศาลไว้เท่านั้น แม้ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่อาจจะถือได้ว่าเสมียนทนายผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวด้วย เพราะเป็นการสั่งในเอกสารอีกฉบับหนึ่ง และเป็นการสั่งในภายหลังโดยไม่ได้แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบถึงแม้ว่าที่ด้านล่างของอุทธรณ์จะมีตราประทับว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วก็ตามเพราะศาลชั้นต้นได้เคยส่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์มาครั้งหนึ่งแล้วและถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งดังกล่าวโดยอาศัยตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว หากจะให้ตราประทับที่ด้านล่างของอุทธรณ์มีผลบังคับตลอดไปว่าศาลชั้นต้นจะสั่งอะไรในอุทธรณ์ให้ถือว่าผู้ร้องได้ทราบทุกคำสั่งในทุก ๆ 7 วัน ก็ย่อมที่จะไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง ดังนั้น จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งรับในอุทธรณ์แล้วไม่ได้ เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องทราบโดยตรง เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสองตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่า ผู้ร้องจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องแจ้งไปยังภูมิลำเนาเจ้าหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/24 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วกฎหมายได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในการแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบก็เพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ได้มีโอกาสทราบถึงคำสั่งและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งการที่จะตัดสิทธิของเจ้าหนี้เพราะเหตุที่เจ้าหนี้มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้นั้นก็ต้องปรากฎด้วยว่าได้มีการประกาศและแจ้งคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบตามที่กฎหมายได้บัญญัติรับรองไว้แล้ว คดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงอ้างเฉพาะในคำแถลงคัดค้านว่าได้ดำเนินการส่งสำเนาประกาศแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้แล้วตามที่อยู่ที่ปรากฏในบัญชีเจ้าหนี้เท่านั้น แต่มิได้ปรากฏหลักฐานใดเลยที่แสดงว่าได้มีการนำหนังสือไปส่งยังภูมิลำเนาของเจ้าหนี้แล้วแต่อย่างใด เช่นนี้ กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งคดีฟื้นฟูกิจการก็ยังมิได้เสร็จสิ้นลง กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8494/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิสูจน์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า "เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง" เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง แต่พยานโจทก์คงมี ภ. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าพยานเป็นผู้ตรวจอาคารที่เกิดเหตุ พบว่ามีการก่อสร้างผิดแบบ โดยพยานไม่ได้เบิกความว่าพบเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างด้วยตนเอง และมี ก. เจ้าของอาคารที่ติดอยู่กับบ้านเกิดเหตุเบิกความแต่เพียงว่าเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 69 มิได้