คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แต่งตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกับการข่มขืนใจผู้อื่นเพื่อเอาทรัพย์: การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านยังคงมีผลแม้มีคณะกรรมการอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ทั้งได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา แม้ต่อมาทางราชการจะได้ตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยขึ้นมาอีกคณะหนึ่งก็ไม่เป็นการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามคำสั่งของนายอำเภอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานและการเลิกจ้างที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่เมื่อใดแต่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 47บัญญัติให้กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีแต่อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แสดงว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง แม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งก็ตามจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 52 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมอำนาจการแต่งตั้งทนายความเพื่อทำคำให้การได้
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.ฟ้องโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและผู้จัดการมรดกของ ข. กับ ล. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุคคลทั้งสองและให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดทั้งแต่งตั้งทนายความเข้าดำเนินคดี ดังนี้ ตามข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมมีความหมายรวมถึงให้ตั้งทนายความแก้ต่างคดีและทำคำให้การแก้คดีได้ด้วย จ.จึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งให้ทนายความทำคำให้การต่อสู้คดีในคดีที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลย อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ล. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน: การจดทะเบียนเป็นเพียงหลักฐานแสดงเจตนา การลงมติที่ประชุมใหญ่มีผลผูกพัน
การจดทะเบียนคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเป็นเพียงวิธีการทางกฎหมายเพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการ สหภาพฯดังกล่าวแล้วว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานบ้าง จึงถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้วจึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้ จำเลยไม่อาจลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยไม่ได้รับ-อนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด สหภาพแรงงานมีสิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในแต่ละจังหวัดได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45,46 และประกาศของกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า"ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้" ดังนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 21 คน สำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว ทางสหภาพฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 13 คน สำหรับโรงงานจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีกโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งตั้งในครั้งหลังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบต่อการกระทำของทนายความที่แต่งตั้งในชั้นบังคับคดี
จำเลยได้แต่งตั้ง ล. เป็นทนายความดำเนินการในชั้นบังคับคดีจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าใบแต่งทนายไม่ถูกต้อง การที่จำเลยแต่งตั้งทนายความให้ว่าต่างและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน จำเลยก็จะต้องรับผิดชอบในการกระทำของทนายความที่ตนแต่งตั้ง จำเลยจะอ้างว่าทนายของตนดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงโดยจำเลยไม่ทราบเรื่องหาได้ไม่หากทนายจำเลยดำเนินคดีผิดพลาดประการใด ย่อมต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดของจำเลยด้วย จำเลยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำคู่ความและกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่ ล. กระทำไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์ ต้องเป็นการแต่งตั้งโดยชัดเจนตามกฎหมาย มิฉะนั้นคำร้องไม่สมบูรณ์
การที่ ฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความ2 ฉบับ ซึ่งไม่มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องทั้งสองได้แต่งตั้งให้ฉ.เป็นทนายความแต่ระบุชื่อน.เป็นทนายความเช่นนี้ฉ.จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำร้องขัดทรัพย์มีลักษณะเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) จึงต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตามมาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องแต่งตั้งตามมาตรา 62 มิฉะนั้นคำร้องดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 67(5) ศาลต้องสั่งคืนคำร้องนั้นไปให้ผู้ร้องทั้งสองแก้ไขภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรจะกำหนดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่คำร้องขัดทรัพย์ที่ลงลายมือชื่อโดยทนายความผู้ไม่มีอำนาจ มิใช่กรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องอันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกที่จงใจละเลยหน้าที่ และการแต่งตั้งบุตรผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกแทน
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีพฤติการณ์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทอื่น ดังนี้เป็นเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อยังมีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการต่อไปภายหลังที่เพิกถอนผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายทั้งไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องทั้งสองจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกร่วมกัน ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ผู้ร้องถึงแก่มรณะ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะ ผู้ร้องผลจึงเท่ากับมรดกของเจ้ามรดกคงมีแต่เพียงผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 6 การที่ผู้ร้องอ้างพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.5 ก็เพื่อขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้มีผู้ร้องเป็นคู่ความพิพาทกับผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6โดยอ้างพินัยกรรมดังกล่าวต่อไปแล้วคดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึงพินัยกรรมฉบับนั้นอีก หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกประการใดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ขัดคุณสมบัติ
ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เมื่อมีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (3) โดยมิได้บัญญัติว่าผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกแต่บังคับว่าผู้ที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ดังนั้น ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งบุคคลภายนอกเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ หากบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718.
of 11