พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ฟ้องร้องเกิน 5,000 บาท คดีมรดกและการแบ่งทรัพย์
โจทก์ 4 คน ร่วมกันฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์โดยตั้งทุนทรัพย์รวมกันเป็นเงิน 6,514 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 9 ส่วนให้โจทก์ได้คนละ 1 ส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้ง 4 ฟ้องรวมกันเป็นเงินเกินกว่า 5,000 บาทแล้ว จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2515)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้ง ส.ค.1 ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานกรรมสิทธิ์ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาต้องมีการนำสืบ
การแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่นั้น (แจ้ง ส.ค.1)หาใช่เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าผู้แจ้งการครอบครองเป็นผู้มีสิทธิในที่นั้นเสมอไปไม่
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
มาตรา 1373 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิครอบครองเฉพาะในที่ดินซึ่งได้มีการจดทะเบียนออกโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว ฉะนั้น ที่ผู้ร้องไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 จึงไม่อาจปรับเข้าข้อสันนิษฐานตามความในมาตรา 1373 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเว้นการต่อสู้คัดค้านอายุความรับมรดกจากการยอมรับการแบ่งทรัพย์มรดกหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก. เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า20 ปีแล้วนั้น. ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว. จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 1607/2505).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาที่ไม่นำไปสู่การหย่า ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ในคดีฟ้องขอหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างกัน แต่คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลเฉพาะในเรื่องแบ่งทรัพย์ ดังนี้ คำพิพากษาตามสัญญายอมเฉพาะในข้อตกลงแบ่งทรัพย์โดยไม่มีการหย่าขาดระหว่างกันนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด การแบ่งทรัพย์นี้เป็นสัญญาระหว่างสามีภริยาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย แม้มิได้หย่าขาด
ในคดีฟ้องขอหย่าและแบ่งทรัพย์ระหว่างกัน แต่คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลเฉพาะในเรื่องแบ่งทรัพย์ ดังนี้ คำพิพากษาตามสัญญายอมเฉพาะในข้อตกลงแบ่งทรัพย์โดยไม่มีการหย่าขาดระหว่างกันนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด การแบ่งทรัพย์นี้เป็นสัญญาระหว่างสามีภริยาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: การแบ่งสินเดิมและสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า. และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน. ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่. ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้. เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของร่วม แม้สถานะสมรสไม่ชัดเจน และขอบเขตการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อพิพากษาคดีครั้งแรก ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้พิพากษาใหม่ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คณะเดิมย่อมทำคำพิพากษาใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้เปลี่ยนผู้พิพากษา
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยคดีเดียวกันนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า แม้โจทก์จำเลยจะมีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์ที่โจทก์จำเลยหาได้ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์ได้ การที่ศาลจะวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันในฐานะเจ้าของร่วม หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในเรื่องนี้ย่อมเป็นอันยุติ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แล้วให้พิพากษาใหม่ โจทก์จะฎีกาได้เฉพาะข้อที่ศาลฎีกาให้พิพากษาใหม่เท่านั้น จะรื้อฟื้นข้อที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้หรือข้ออื่นที่มิได้พิพากษาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยคดีเดียวกันนี้ไว้ครั้งหนึ่งว่า แม้โจทก์จำเลยจะมีฐานะเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์ที่โจทก์จำเลยหาได้ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์ได้ การที่ศาลจะวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันในฐานะเจ้าของร่วม หาเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในเรื่องนี้ย่อมเป็นอันยุติ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องทรัพย์ที่โจทก์ขอแบ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แล้วให้พิพากษาใหม่ โจทก์จะฎีกาได้เฉพาะข้อที่ศาลฎีกาให้พิพากษาใหม่เท่านั้น จะรื้อฟื้นข้อที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้หรือข้ออื่นที่มิได้พิพากษาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้มีการแบ่งทรัพย์ การโอนทรัพย์กลับมายังทำให้พินัยกรรมมีผลบังคับใช้
สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้ภริยา ต่อมาสามีภริยานั้นได้ทำหนังสือแบ่งทรัพย์กันโดยสามีได้ทรัพย์ไปบางส่วนหนังสือแบ่งทรัพย์นั้นย่อมไม่เพิกถอนพินัยกรรม เพราะพินัยกรรมจะเพิกถอนไปได้ ก็ต้องกระทำด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง หรือทำลาย หรือขีดฆ่าพินัยกรรมนั้นด้วยความตั้งใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694,1695 ถ้าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอย่างใดได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะอย่างตามมาตรา 1696 แต่พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ เมื่อทรัพย์ที่แบ่งกลับมาเป็นของสามีตามสัญญาแบ่งทรัพย์ ก็ย่อมตกได้แก่ภริยาตามพินัยกรรมที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหากินร่วมกันระหว่างเจ้าของรวมกับทายาท
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ทำมาหาได้ด้วยกัน จึงเป็นฟ้องให้แบ่งทรัพย์ที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. คดีโจทก์ไม่มีอายุความ
กรณีที่เจ้าของรวมฟ้องให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง จะนำอายุความเรื่องละเมิดหรือฝากทรัพย์มาบังคับไม่ได้
กรณีที่เจ้าของรวมฟ้องให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง จะนำอายุความเรื่องละเมิดหรือฝากทรัพย์มาบังคับไม่ได้