คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน แม้ยังตกลงเขตแดนไม่ได้ และการฟ้องแบ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกราย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ 7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยศาลเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งทรัพย์สินมรดก, การครอบครองเป็นส่วนสัด, นิติกรรมซื้อขายคืน (ไม่มีผลผูกพัน)
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาจำเลยทั้งสี่ในที่ดินมีโฉนด โจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ได้แยกกันครอบครองที่ดินตามส่วนของตนเป็นส่วนสัด เมื่อบิดาจำเลยทั้งสี่ตาย จำเลยทั้งสี่ได้รับมรดกที่ดินส่วนของบิดา โจทก์ทั้งสองต้องการจะขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม จำเลยทั้งสี่ให้การยอมรับว่าโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยจริง แต่เป็นเรื่องบิดาจำเลยทั้งสี่กู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสองไปจำนวน 40,000 บาทแล้วมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ได้ยอมให้ครอบครองเป็นส่วนสัด กับฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืนเป็นเงิน50,000 บาท จำเลยทั้งสี่จะขอซื้อที่ดินคืนโจทก์ทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์ทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีข้อตกลงกับบิดาจำเลยทั้งสี่ดังที่จำเลยทั้งสี่อ้าง ดังนี้ ตามฟ้องโจทก์และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินที่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วม จำเลยทั้งสี่มิได้ให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นของจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อจำเลยทั้งสี่แพ้คดีในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งโดยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ ให้บิดาจำเลยทั้งสี่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคา 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่ามีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสองในราคา 50,000 บาท หรือไม่ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์และต้องถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาในข้อตกลงที่ให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืน เมื่อได้ประเมินราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน1,000,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจำนวน 1,000,000 บาท แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าที่ดินส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองไม่ตรงกับส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แต่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ได้แสดงโดยชัดแจ้งพอเข้าใจแล้วว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่โดยเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองคนละ 4,000 ส่วน ในจำนวนทั้งหมด 14,300 ส่วน และโจทก์อ้างว่าได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดในที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองแล้ว หากเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งรับมรดกของบิดาแบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามสิทธิของโจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 ส่วนโจทก์ทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่ได้ครอบครองหรือแบ่งตามส่วนในกรรมสิทธิ์ก็แล้วแต่ทางพิจารณาจะได้ความ ซึ่งมาตรา 1364ได้กำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมไว้โดยชัดแจ้งแล้ว อีกทั้งตามคำให้การจำเลยทั้งสี่ก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ให้การว่าบิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยตกลงให้โจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่เข้าใจข้อหาตามฟ้องของโจทก์ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่คนละประมาณ 10 ไร่ ส่วนของโจทก์ที่ 1อยู่ทางทิศตะวันตก ส่วนของโจทก์ที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเอกสารหมาย จ.1 บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่มีเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแบ่งแยก จึงจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเอกสารหมาย ล.2 โดยไม่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่ คงบรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวก็ตาม แต่การนำสืบของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสองในที่ดินของบิดาจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นข้อนำสืบเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รวมตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่ข้อนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมีข้อความว่า ก.ตกลงยินยอมให้โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมคนละ 4,000 ส่วนใน 14,300 ส่วน โดยโจทก์ทั้งสองตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ ก.เป็นเงิน 40,000 บาท ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ลงชื่อแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ก. ตามส่วนที่ตกลงกันไว้ในสารบัญแก้ทะเบียนหลังโฉนดที่ดิน จึงต้องถือว่านิติกรรมการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนดของ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่โดยบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ตาม มาตรา 1363 การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมายนั้น ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเองอาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามที่ได้ตกลงต่อกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องเกิดจากความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้น ขณะที่ ก. เจ้าของรวมคนหนึ่งยังไม่ตายก. กับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยกันได้ตกลงแบ่งที่ดินกันเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364โดยให้โจทก์ทั้งสองครอบครองเนื้อที่ประมาณคนละ 10 ไร่และให้ส่วนของโจทก์ทั้งสองอยู่ด้านใต้ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของก. ให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเนื้อที่ประมาณคนละ10 ไร่ ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องดังกล่าว จ.1 ตามที่บิดาจำเลยทั้งสี่และโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกันตกลงกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินก่อนสมรส: สิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส จึงเท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อนสมรสอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1471 (1)ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา 1473และมาตรา 1336 แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ หรืออีกนัยหนึ่ง การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดร่วมกันของสามีภริยาที่มีอยู่ก่อนสมรส แม้จะยังไม่แบ่งปันกันเป็นสัดส่วนภายหลังสมรสก็หาทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปไม่เหตุนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับจำเลยอยู่ก่อนการสมรส เนื่องจากโจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1487ก็ไม่ใช่บทบัญญัติห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรสดังกรณีของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลย จำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363 ได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วนและการพิพากษาคืนทุน/แบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท.ด้วยราคาเพียง 850,000 บาทแต่ห่างกันเพียง 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์กลับตั้งราคาสูงถึง 4,500,000 บาท โดยมีข้อสัญญาข้อ 2.1 ที่ระบุว่า จ่ายวันที่ 10 ธันวาคม2526 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ข้อ 2.2 ว่า เมื่อโครงการผ่านไปได้ 70เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 เดือน จ่าย 1,500,000 บาท ข้อ 3 ว่า เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะแบ่งผลกำไรให้อีกเป็นเงิน 2,000,000 บาท สำหรับข้อสามนี้ส่วนแบ่งอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลลัพธ์ของงานได้ผลดี และหรืออาจจะลดลงตามส่วนเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดี ลักษณะข้อความเรื่องการแบ่งปันกำไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ขอรับโฉนดคืนจากโจทก์โดยเสนอให้ที่ดินแก่โจทก์ 9 ล็อกเช่นนี้แสดงว่าโจทก์ สามีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงเข้ากันเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินเช่นนี้จึงต้องฟังว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนทำบ้านจัดสรรขายด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนทำกิจการค้าจึงต้องเลิกกันและแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: สิทธิในการแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยาหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะขอให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364 ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญ เพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้นดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม: การฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันหลังหย่า
โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันหาที่ดินและบ้านพิพาทมาด้วยกันจึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อโจทก์ขอแบ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่งให้โดยปราศจากเหตุผลโดยชอบ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอแบ่งได้ ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายความว่า โจทก์กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยากัน และระหว่างอยู่กินกันนั้นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันทำมาหาได้ซึ่งที่ดินและบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้หย่ากัน โจทก์จึงขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่ง แต่จำเลยไม่ยอมแบ่ง โจทก์จึงฟ้องต่อศาล เช่นนี้สาระสำคัญของฟ้องโจทก์ประสงค์โดยตรงและชัดแจ้งที่จะชอบให้ศาลแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยฝ่ายละกึ่งหนึ่งส่วนวิธีการแบ่งนั้นแล้วแต่ศาลจะกำหนดวิธีการแบ่งให้ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็กำหนดวิธีการแบ่งให้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364ส่วนที่โจทก์กำหนดราคาที่ดินและบ้านและขอส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งนั้น โจทก์เพียงแต่ประมาณราคามาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณส่วนได้และการเสียค่าขึ้นศาล แสดงว่าราคาที่ดินแบ่งกันจำนวนเท่าใดยังไม่ทราบ แม้หากปรากฏในชั้นบังคับคดีว่าราคาไม่ถึงจำนวนที่ประมาณไว้ก็ไม่เป็นสาระสำคัญเพียงแต่โจทก์มีสิทธิจะได้รับกึ่งหนึ่งของราคาที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลล่างพิพากษาให้แบ่งและกำหนดวิธีการแบ่งชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความ ศาลตัดสินให้แบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง
ทั้ง 3 รายการ เฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องชำระบัญชี
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่1และที่2กับฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมโจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์ที่3ถึงที่5มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่3ถึงที่5ไม่ได้และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฎในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061
of 25