พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ดินยังไม่แบ่งแยก โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องรุกป่าน
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์ 4 ไร่ เมื่อแบ่งแยกจำเลยจะลงชื่อโจทก์ในโฉนด โดยจะวัดจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ ให้ได้จำนวนเนื้อที่ 4ไร่ ศาลได้พิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว หากจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินให้ โจทก์ก็มีแต่เพียงสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยให้แบ่งให้โจทก์เท่านั้น แม้จะรู้ว่าส่วนที่จะแบ่งให้โจทก์นั้นอยู่ทางทิศไหน เมื่อยังไม่ได้มีการรังวัดแบ่งแยกให้เป็นส่วนสัด ที่ดินส่วนนั้นก็ยังไม่ตกเป็นของโจทก์ ทั้งโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดิน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ที่ดินร่วมกันเป็นถนน การจำกัดสิทธิเรียกร้องแบ่งแยกที่ดิน
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดแบ่งแยกที่ดินเป็นหลายแปลงเพื่อขายได้ตกลงกันให้ที่ดินตามเลขโฉนดเดิมที่เหลืออยู่เป็นถนนสำหรับผู้มาซื้อที่ดินออกสู่ถนนใหญ่ และได้ทำเป็นถนนคอนกรีตขึ้นในที่ดินส่วนนี้โดยตกลงกันสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากผู้ใช้ถนนนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน ใช้บังคับกันได้โดยมิต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนและเป็นการตกลงกันที่แสดงให้เห็นว่ามีวัตถุที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่กลายเป็นถนนคอนกรีตไปแล้วนี้ร่วมกัน มีลักษณะเป็นการถาวร เจ้าของรวมผู้มีชื่อในโฉนดคนหนึ่งคนใดไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: ต้องระบุส่วนได้เสียของทายาททั้งหมดก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่ามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งนาพิพาทบางส่วนร่วมกับโจทก์ ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จำเลยต่างทำนาพิพาทด้วยกัน ต่างเป็นเจ้าของรวมกันดังนี้ คดียังอาจมีทายาทอื่นครอบครองนาพิพาทร่วมอีกซึ่งมิได้เข้ามาในคดี จะกำหนดแบ่งส่วนเกี่ยวกับนาพิพาทให้แก่คู่ความยังไม่ได้ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงต้องยกฟ้องคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการยกให้และครอบครอง เจ้าของรวมสิทธิเรียกร้องแบ่งแยกได้
ผู้ร้องทั้งสามและ ส. ได้ที่ดินตามส่วนของตนมาด้วยการยกให้จาก น. ซึ่งเป็นบิดาโดยทำหนังสือจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและได้ลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ในโฉนดเดียวกันมาตั้งแต่วันที่เปลี่ยนแก้ชื่อในโฉนดเป็นของผู้ร้องทั้งสามกับ ส. นั้นแล้ว ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตลอดมา หาได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในลักษณะครอบครองปรปักษ์อย่างใดไม่ ระหว่างที่ที่ดินยังมิได้แบ่งแยกโฉนด ผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกัน ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดด้วยกัน การที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่ดินที่ผู้ร้องได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด ก็เป็นที่ดินส่วนของผู้ร้องที่ได้รับมาจากการยกให้และครอบครองมาตามกรรมสิทธิ์อยู่แล้วนั้นเองเพราะไม่ได้ความว่ารุกล้ำเข้าไปในที่ของผู้อื่นซึ่งพอจะอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงการได้มาซึ่งการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองได้ แต่ผู้ร้องและผู้มีชื่อในโฉนดย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินตามส่วนของตนที่ได้รับการยกให้และต่างครอบครองมาได้ในระหว่างกันเองอยู่แล้ว หากเกิดพิพาทไม่ตกลงกันในการแบ่งต่างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาทกับเจ้าของรวมนั้นโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ดินร่วม: ศาลต้องพิสูจน์การแบ่งแยกการครอบครองก่อนขายทอดตลาดเฉพาะส่วน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลย โดยยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนของจำเลยเป็นดังผู้ร้องอ้างหรือเป็นดังโจทก์และจำเลยอ้าง จึงยังไม่ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขายที่ดินทั้งแปลงโดยไม่วินิจฉัยว่าที่ดินแปลงนี้เจ้าของรวมได้แบ่งทรัพย์สินกันแล้วหรือยัง จึงไม่ถูกต้องเพราะถ้าได้แบ่งที่ดินส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องเด็ดขาดไปแล้ว จะขายที่ดินรวมถึงส่วนของผู้ร้องไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ขายที่ดินทั้งแปลงโดยไม่วินิจฉัยว่าที่ดินแปลงนี้เจ้าของรวมได้แบ่งทรัพย์สินกันแล้วหรือยัง จึงไม่ถูกต้องเพราะถ้าได้แบ่งที่ดินส่วนใดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องเด็ดขาดไปแล้ว จะขายที่ดินรวมถึงส่วนของผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม การฟ้องซ้ำ และการประมูลราคาเมื่อแบ่งไม่ได้
คดีก่อนกับคดีนี้ โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันส่วนมาก ที่พิพาทก็แปลงเดียวกัน ข้อเท็จจริงในคำฟ้องก็บรรยายในทำนองเดียวกัน แต่คำขอต่างกันโดยฟ้องคดีก่อน โจทก์ขอแบ่งที่พิพาทด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่คำขอคดีนี้ขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งเฉย ๆ ไม่ระบุด้าน ถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ก็ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินแก่โจทก์จำเลยตามส่วน ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน เว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรค 2 นั้น เมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน.
(อ้างฎีกาที่ 1993/2500)
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน เว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรค 2 นั้น เมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน.
(อ้างฎีกาที่ 1993/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินรวม: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทั้งแปลง หากเจ้าของร่วมไม่ตกลงแบ่งแยกก่อน
การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง และศาลย่อมจะให้ขายได้ทั้งแปลง เว้นแต่จะตกลงยินยอมกันให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะแม้แต่ในระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเอง เมื่อไม่ตกลงแบ่งกันเองได้ ก็ต้องขายทั้งแปลงเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364) ฉะนั้น เจ้าของรวมจะยื่นคำร้องขอให้งดการขายเพื่อไปแบ่งแยกกันเองเสียก่อน หรือขอให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ไม่ได้ ในเมื่อโจทก์ยืนยันขอให้ขายทั้งแปลง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: ศาลมีสิทธิขายทั้งแปลงหากไม่ตกลงแบ่ง
การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวม โดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดได้ทั้งแปลงและศาลย่อมจะขายได้ทั้งแปลง เว้นแต่จะตกลงยินยอมกันให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะแม้แต่ในระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเองเมื่อไม่ตกลงแบ่งกันเองได้ ก็ต้องขายทั้งแปลงเช่นเดียวกัน (ป.พ.พ. มาตรา 1364)
ฉะนั้นเจ้าของรวมจะยื่นคำร้องขอให้งดการขาย เพื่อไปแบ่งแยกกันเองเสียก่อน หรือขอให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ไม่ได้ ในเมื่อโจทก์ยืนยันขอให้ขายทั้งแปลง
ฉะนั้นเจ้าของรวมจะยื่นคำร้องขอให้งดการขาย เพื่อไปแบ่งแยกกันเองเสียก่อน หรือขอให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ไม่ได้ ในเมื่อโจทก์ยืนยันขอให้ขายทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิขอแบ่งสินบริคณห์เพื่อชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินที่งอก แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม หากมีการแบ่งแยกและใช้สิทธิร่วมกัน
แม้ที่พิพาทจะเป็นที่งอกของที่ดิน ที่มีโฉนดอันจำต้องตกเป็นสิทธิของจำเลยตามกฎหมายในเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีโฉนดนั้นให้แก่จำเลยก็จริง แต่ถ้าที่พิพาทที่เป็นที่งอกนั้น ได้แบ่งแยกออกเป็นส่วนสัดจนได้รังวัดเพื่อออกโฉนดและได้รับเลขที่ดินต่างหากแล้วก่อนมีการโอนที่มีโฉนดเดิมให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว และทั้งโจทก์จำเลยก็เคยครอบครองร่วมกันมาก่อนและยังใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันต่อมาภายหลัง โอนที่มีโฉนดเช่นนี้ ต้องถือว่า โจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่พิพาท