คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แปลงหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทไม่ถือเป็นการแปลงหนี้เดิม โจทก์มีอำนาจฟ้องได้แม้มีการควบบริษัท
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้น แต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน มิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1240ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบบริษัทไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ เจ้าหนี้ใหม่มีอำนาจฟ้องได้ตามเดิม
จำเลยเป็นหนี้บริษัทธ.ต่อมาบริษัทธ.ควบรวมกับบริษัทอื่นเป็นบริษัทโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันมิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โจทก์จึงหาจำต้องทำหนังสือหรือสัญญาใด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และมาตรา 306 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ทั้งการควบบริษัทเข้าด้วยกันตามมาตรา 1240 บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ของบริษัททราบและให้โอกาสคัดค้านไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้นิติสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์และจำเลยยังหาระงับลงไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คชำระหนี้หลังแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับ จ. มิได้มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือจ. เพียงแต่ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน4 ฉบับ มอบให้โจทก์ไว้ และการออกเช็คของ จ. อาจจะมิใช่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ก็ตาม แต่เมื่อเช็ค ดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่ จ. สั่งจ่ายย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างโจทก์กับ จ. ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 วรรคหนึ่งซึ่งต่อมาเมื่อ จ. ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จึงให้จำเลยที่ 2 เข้ามาชำระหนี้แก่โจทก์แทน โดยจำเลยที่ 2ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ไว้อันเป็นการแปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อประทับตราจำเลยที่ 1ออกเช็คสั่งจ่ายเงินรวม 8 ฉบับ ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์รวมทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วย จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความใน พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตาม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวและต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาท ทั้งสองฉบับชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทชำระหนี้แทน จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ โดยจำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ และออกเช็คพิพาทชำระหนี้นั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏใน การพิจารณาหาได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วย L/C ไม่เป็นการแปลงหนี้เดิม และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยตกลงกับธนาคารให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์แทนการชำระหนี้ด้วยเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยโจทก์สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ ไม่ต่างกับการเปลี่ยนการชำระหนี้โดยใช้ตั๋วเงินชนิดอื่นทั้งเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร โดยโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมิได้เข้าทำสัญญากับธนาคารด้วย และมิได้เป็นการแปลงหนี้ด้วยวิธีเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 เพราะธนาคารซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นลูกหนี้ใหม่ไม่ได้เข้ามาให้ความยินยอมทำสัญญาแปลงหนี้ด้วย กรณีจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้ระงับสิ้นไป เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยจึงยังคงต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้อ้างเป็นพยาน และขอให้ศาลหมายเรียกมาถึง 4 ครั้ง แต่จำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติตามจึงถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 123 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาชำระหนี้และสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ ซึ่งระบุไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับค่าดอกเบี้ยจากการชำระหนี้ล่าช้าที่อัตราดอกเบี้ย 12 % ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ทนายโจทก์แก้ฎีกาเกินกำหนด แต่ศาลรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ถือว่าทนายได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อหนังสือสัญญากู้เงินที่แปลงหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็น โมฆะด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินผิดกฎหมาย และสัญญาแปลงหนี้ที่ดินเป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือ สัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลง ยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมล่วงหน้าในสัญญาค้ำประกัน สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์ว่า หากมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ หรือขยายเวลาอนุญาตให้ไปศึกษาต่อแก่ จำเลยที่ 1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ตกลง ให้ความยินยอมในการผ่อนชำระหนี้หรือขยายระยะเวลานั้น ด้วยทุกครั้งและยังรับเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าว ตลอดไป เป็นข้อตกลงของจำเลยที่ 3 ที่ให้ความยินยอมล่วงหน้า ดังนั้น สัญญารับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์ขยายเวลาชำระหนี้ ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการทำขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ ได้ตกลงเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำ ให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 จึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: สิทธิของโจทก์ในการฟ้องบังคับจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ.กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ.ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ. แม้ว่า พ.จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 306 วรรคแรกได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญาระหว่าง พ.กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยหากไม่ทำสัญญาใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ. ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะ ได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ.แม้ว่า พ. จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะ เจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก ได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์ มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญา ระหว่าง พ. กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้เดิมระงับ การไม่ต้องแสดงหลักฐานการกู้ยืม
โจทก์จำเลยตกลงให้นำหนี้เงินกู้จำนวน 80,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทมารวมเป็นหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 200,000 บาท ตามสัญญาจำนอง และต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนกับจดทะเบียนไถ่จำนองตามกฎหมายแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349 ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป เมื่อหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวระงับไปโดยผลของการแปลงหนี้ใหม่ มิใช่ระงับไปเพราะการใช้เงิน จำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบถึงหลักฐานการใช้เงินกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามมาตรา 653 วรรคสอง
of 28