คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฆษณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาเพื่อตอบโต้การทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ถือเป็นการป้องกันตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการละเมิด
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นผู้ประกอบกิจการค้าภาพยนตร์ด้วยกันก่อนโจทก์ได้ลิขสิทธิ์การฉายภาพยนตร์พิพาท จำเลยที่ 1ได้โฆษณาแนะนำภาพยนตร์พิพาทมาก่อน ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท โจทก์โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันทำนองว่าโจทก์ทุ่มเงินซื้อภาพยนตร์พิพาททำให้จำเลยที่ 1 ช้ำใจ เสียหน้า เสียน้ำตาเมื่อโจทก์เริ่มทำการฉายภาพยนตร์พิพาทแล้วก็ยังมีการโฆษณาเป็นทำนองทำลายชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 อยู่เรื่อย ๆ ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์มีเจตนาทำลายชื่อเสียงจำเลยที่ 1 ทำให้ได้รับความเสื่อมเสียการที่จำเลยที่ 1 ออกโฆษณาโต้ตอบเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะพึงเกิดขึ้นโดยตรง และเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อป้องกันตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์: การให้เช่า/โฆษณางานละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องพิสูจน์ว่ามีการทำซ้ำหรือดัดแปลง
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 27 จะต้องได้ความว่างานที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ให้เช่าเสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณานั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำ หรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์แต่ม้วนเทปของกลางมิได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลงดังนั้น แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่าเสนอให้เช่า หรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาประกาศยึดทรัพย์ที่เป็นเท็จ โดยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ประกาศยึดทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำไปลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์นั้นมีข้อความให้ยึดทรัพย์เฉพาะโจทก์ร่วมที่ 1 ในฐานะจำเลยในคดีแพ่งเท่านั้น แม้จะมีข้อความต่อท้ายชื่อโจทก์ร่วมที่ 1 ว่าโดยโจทก์ร่วมที่ 2 กรรมการบริษัทก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำการยึดทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ 2 ด้วย เพราะโจทก์ร่วมที่ 2 ในฐานะกรรมการของโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์ร่วมที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ฎีการ่วมกับโจทก์ร่วมที่ 1 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีการยึดทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ 1 เพราะมีการชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีแล้วประกาศยึดทรัพย์ก็ถูกยกเลิกไปทันที การนำภาพถ่ายประกาศยึดทรัพย์ ไปลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อีกเพื่อแสดงว่าได้มีการยึดทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ 1แล้ว ข้อความดังกล่าวจึงเป็นความเท็จ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ไม่ได้ตรวจข้อความดังกล่าวก่อนเพราะเห็นว่าเป็นเอกสารราชการ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเจตนากระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการโฆษณา: การใส่ความให้เสียชื่อเสียงทางการเงินและความน่าเชื่อถือ
เมื่ออ่านข้อความที่ลงพิมพ์โฆษณาโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีฐานะทางการเงินไม่น่าไว้วางใจปราศจากความน่าเชื่อถือ โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการเป็นประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป มิใช่เป็นการเขียนข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจด้วยความเป็นธรรม จึงเป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสองโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ในความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 328 แล้วไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: ข้อความสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ ถือเป็นความผิด แม้ผู้กระทำจะอ้างการแสดงความคิดเห็น
ข้อความที่ลงพิมพ์โฆษณามีหัวข้อข่าวว่า "โรงแรมพ่นพิษใส่บีโอไอถ่วงวางเงินค้ำประกัน"และมีเนื้อข่าวว่า"กลุ่มแอมเทลของนายชวลิตทั่งสัมพันธ์ (คือโจทก์ที่ 2) ใช้วิธีหน่วงจ่ายโรงแรมที่อนุมัติรุ่นเดียวกับโรงแรมเอราวัณมีอีก 3 แห่ง แต่เป็นเจ้าของเดียวกันคือ นายชวลิตทั่งสัมพันธ์ เจ้าของเครือโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซึ่งครบกำหนดวางเงินค้ำประกันเช่นกันแต่ไม่มีการวางเงิน เพราะก่อนหน้านี้ บีโอไอ แจ้งมติส่งเสริมการลงทุนพร้อมเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ไปให้กำหนดให้ตอบรับหรือไม่รับมติใน1 เดือน แต่ช่วงนั้นนายชวลิตทำเรื่องมายังบีโอไอ ขอเพิ่มสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้ตามช่องของกฎระเบียบ บีโอไอ ที่เปิดไว้กรณีผู้รับส่งเสริมไม่พอใจสิทธิประโยชน์ สามารถเสนอขอแก้ไขส่วนจะได้หรือไม่อยู่ที่ บีโอไอตัดสินดังนั้นบีโอไอจึงเตรียมออกหนังสือแจ้งให้นายชวลิตทราบมติ ถ้ารับได้ต้องวางเงินประกันใน 60 วัน คราวนี้ไม่มาอีกจะตัดสิทธิทันที "ข้อความดังกล่าวเมื่ออ่านโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีฐานะทางการเงินไม่น่าไว้วางใจ ปราศจากความน่าเชื่อถือ โจทก์ที่ 2เป็นผู้ที่ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ในขณะที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรายอื่นได้ปฏิบัติแล้ว เป็นประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จากประชาชนโดยทั่วไป ทั้งมิใช่เป็นการเขียนข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจด้วยความเป็นธรรม เมื่อจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสัญญาจ้างโฆษณา: จำเลยต้องชำระค่าจ้าง แม้โจทก์ไม่มีสิทธิจัดพิมพ์สมุด
หลังจากที่โจทก์ประกวดราคาเพื่อสิทธิในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ไม่เป็นผลสำเร็จ และในระหว่างที่องค์การโทรศัพท์กำลังเตรียมทำสัญญากับบริษัทผู้ชนะการประกวดราคานั้น โจทก์ได้โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ ว่า จะทำการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เช่าทุกรายต่อไปในฐานะที่เป็นสมุดธุรกิจอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แสดงว่าโจทก์มีความบริสุทธิ์ใจในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าต้องการโฆษณาในสมุด เยลโล่เพจเจ็ส คงมาโต้แย้งเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินค่าโฆษณา โจทก์ไม่เคยติดต่อกับจำเลยทั้งสองมาก่อน และจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายติดต่อขอลงโฆษณาในหนังสือของโจทก์โดยที่โจทก์ก็เคยโฆษณาไว้แล้วว่าจะจัดทำเป็นสมุดธุรกิจอิสระ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาจ้าง โจทก์จะมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะไม่ต้องชำระค่าจ้างโฆษณา เพราะเป็นคนละเรื่องกับสัญญาจ้างโฆษณาที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างโฆษณา: การสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาไม่เกิดขึ้น แม้โจทก์ไม่มีสิทธิจัดพิมพ์สมุดรายนาม
โจทก์โฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ ว่า จะทำการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เช่าทุกรายในฐานะสมุดธุรกิจอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แสดงว่าโจทก์มีความบริสุทธิ์ใจในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ใบสั่งลงโฆษณาที่จำเลยทั้งสองจ้างโจทก์ให้ลงโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ดังกล่าวก็ระบุความไว้เช่นนั้น ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่า จำเลยทั้งสองต้องการโฆษณาในสมุดเยลโล่เพจเจ็ส แต่ประการใดเป็นเวลาถึง 6 เดือนคงมาโต้แย้งเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินค่าโฆษณา เมื่อโจทก์ไม่เคยติดต่อกับจำเลยทั้งสองมาก่อน และจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายติดต่อกับโจทก์ขอลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือของโจทก์โดยที่โจทก์ก็เคยโฆษณาไว้แล้วว่าจะจัดทำเป็นสมุดธุรกิจอิสระ และโจทก์ทำการโฆษณาให้จำเลยทั้งสองแล้วเช่นนี้ ไม่อาจฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้ลงโฆษณาโดยจำเลยทั้งสองสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาจ้างสัญญาจ้างโฆษณาจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิจัดพิมพ์สมุดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หากโจทก์ไม่มีสิทธิจัดพิมพ์โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะไม่ต้องชำระค่าจ้างโฆษณา เพราะเป็นคนละเรื่องกับสัญญาจ้างโฆษณาที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และที่มาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา"ตามมาตรา 91 นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาต่อกลุ่มบุคคลที่รู้จัก ไม่ถือเป็นการฉ้อโกงต่อสาธารณชน
จำเลยทั้งสองเป็นครู รู้จักหรือเป็นที่รู้จักของบุคคลในหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันเป็นอย่างดี นับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกันปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี หาใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใดไม่ การโฆษณาของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ต่างประเทศ: การโฆษณาครั้งแรกในประเทศภาคีอนุสัญญาเบอร์นไม่เพียงพอต่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ต้องมีการจำหน่ายสำเนา
ปรากฏตามเอกสารที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทำขึ้นพร้อมคำแปลและอ้างเป็นพยานว่า พ. รองประธานกรรมการอาวุโสของโจทก์ยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ยืนยันว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท ด. ที่ปรึกษาสมาคมลงชื่อรับรองลายมือชื่อของพ.ว่าเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจให้มาลงนามของโจทก์ร.โนตารีปับลิกมลรัฐนิวยอร์ก รับรองว่า พ.และด. ทำการปฏิญาณต่อหน้าตนน. เสมียนเคาน์ตี้และจ่าศาลของศาลซูพรีมคอร์ต แห่งมลรัฐนิวยอร์กประจำเคาน์ตี้ออฟนิวยอร์กรับรองว่าร.เป็นโนตารีปับลิกประจำมลรัฐนิวยอร์กและเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ย.กงศุล ใหญ่ ไทย ณ มลรัฐนิวยอร์กรับรองลายมือชื่อของน. ดังนี้ จะเห็นได้ว่าเอกสารดังกล่าวมีการรับรองกันมาตามลำดับเนื้อความแห่งเอกสารนั้นย่อมมีอยู่จริง จึงนำมาฟังประกอบคำเบิกความของ ล. กรรมการบริษัท ซ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ว่า ภาพยนตร์พิพาทเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งบริษัท ซ. ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้นำภาพยนตร์ของโจทก์มาทำวีดีโอเทปซ้ำเพื่อออกจำหน่ายแก่สมาชิกในประเทศไทยติดต่อกันมาได้ 3 ปีแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้บริษัทซ. ปกป้องลิขสิทธิ์และฟ้องร้องตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์พิพาทขึ้นเอง ภาพยนตร์พิพาทจึงเป็นงานสร้างสรรค์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของโจทก์ได้ ขณะเกิดเหตุประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวฉบับที่ทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1908และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคล เพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914 แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ก็มิได้มีบทบัญญัติกีดกันงานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศที่มิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเบอร์น เพื่อไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองแก่งานดังกล่าวไว้ในมาตรา 4 ว่า"งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1)... ในกรณีที่ได้โฆษณาแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา..." ด้วยเหตุนี้งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศนอกภาคีอนุสัญญาเบอร์น อย่างเช่นงานของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ หากได้กระทำการโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์น เมื่อปรากฏว่าประเทศแคนาดาเป็นประเทศภาคีประเทศหนึ่งในอนุสัญญาดังกล่าว งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้มีการโฆษณางานนั้นตามความหมายของเงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ฉะนั้น การทำให้ปรากฏซึ่งภาพยนตร์โดยการนำออกฉายเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาแม้จะถือเป็นการโฆษณา แต่ก็มิใช่การโฆษณางานในความหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯและมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว หากแต่เป็นเพียงการโฆษณาในความหมายของคำว่า "โฆษณา" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งใช้เฉพาะในกรณีที่ต้องการทราบความหมายของการนำออกโฆษณาอันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวประการหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฆษณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันเท่านั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่า โจทก์นำภาพยนตร์พิพาททั้งสองเรื่องไปฉายโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาเท่านั้น หาได้ปรากฏว่าโจทก์ได้นำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอันเป็นสำเนาจำลองออกจำหน่ายโดยให้ก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์นั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรแต่อย่างใดไม่ งานภาพยนตร์ของโจทก์จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้.
of 11